DSpace Repository

เปรียบเทียบประสิทธิผลของยาทรามาดอลกับมอร์ฟีนในการลดความเจ็บปวดหลักการผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author กิตติ กรุงไกรเพชร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/455
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาประสิทธิผลของยาทรามาดอลเปรียบเทียบกับยามอร์ฟีนในการลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอดบุตร 2. ผลข้างเคียงของยาทรามาดอลเปรียบเทียบกับยามอร์ฟีนในผู้รับการผ่าตัดคลอดบุตร วิธีดําเนินการวิจัย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้มารับการผ่าตัดคลอดบุตรที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาและสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา กําหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยหลักการของโคเฮน (Munro,1997) ได้จํานวนทั้งสิ้น 102 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 51 ราย กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการเตรียม ผ่าตัด การดูแลขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดด้วยมาตรฐานเดียวกัน การผ่าตัดทําโดยผู้วิจัยคนเดียวโดยใช้เทคนิค เดียวกันเว้นแต่ชนิดของแผลผ่าตัด การใช้ยาระงับความรู้สึกระหว่างผ่าตัดใช้วิธีฉีดยาชาไฮเบอร์บาริค 0.5 % บูพิวาเคน (bupivacaine) เข้าไขสันหลัง (spinal anesthesia) ทุกราย เก็บข้อมูลทั่วไปและอาการข้างเคียงจากการใช้ยาของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม ส่วนระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดใช้วิธี VAS (Visual Analogue Scale) เป็นเครื่องมือวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ไคสแควร์ (Chi-square) และ Repeated Measurement Analysis of Variance ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 2. ประสิทธิผลของยาทรามาดอลเปรียบเทียบกับยามอร์ฟีนในการลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอดบุตร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. อาการข้างเคียงจากการใช้ยาทรามาดอลเปรียบเทียบกับมอร์ฟีนพบว่าอาการคลื่นไส้/อาเจียน ปวดศีรษะ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แต่อาการ มึนงง/เวียนศีรษะ แน่นหน้าอก/หายใจไม่สะดวก และอาการผื่น/คัน ท้องอืด/จุกเสียด/แน่นท้อง แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับน้อยกว่าหรือเท่ากับ.05 โดยกลุ่มตัวอย่างทรามาดอลมีอาการข้างเคียงน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยามอร์ฟีน กล่าวโดยสรุปคือยาทรามาดอลมีประสิทธิผลในการระงับปวดหลังการผ่าตัดคลอดบุตรไม่ต่างจากการให้ยา แบบดั้งเดิม โดยมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยกว่า ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอื่นกับการลดความเจ็บปวดร่วมด้วยเช่น ปัจจัยทางสังคม ระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วย สภาพแวดล้อม อาการข้างเคียงจากการใช้ยา 2. ควรประเมินความเจ็บปวดโดยวิธีการอื่น เช่นการประเมินจากพฤติกรรม การแสดงออกทางอารมณ์ของ ผู้ป่วยร่วมด้วยซึ่งจะทําให้ผลการวิจัยใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด การนําไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการบริหารจัดการในการให้ยาระงับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอดบุตรที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้รับบริการและผู้ให้บริการทางการแพทย์ th_TH
dc.description.sponsorship รายงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2548 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การผ่าท้องทำคลอด - - วิจัย th_TH
dc.subject ทรามาดอล - - วิจัย th_TH
dc.subject มอร์ฟีน - - วิจัย th_TH
dc.subject ยาแก้ปวด - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title เปรียบเทียบประสิทธิผลของยาทรามาดอลกับมอร์ฟีนในการลดความเจ็บปวดหลักการผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2549


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account