DSpace Repository

ประสิทธิภาพของการให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสองรูปแบบในเด็กทารกไทยที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

Show simple item record

dc.contributor.author นลินี ภัทรากรกุล
dc.contributor.author รมร แย้มประทุม
dc.contributor.author ปริชญา งามเชิดตระกูล
dc.contributor.author วราวุฒิ เกรียงบูรพา
dc.contributor.author ศิริพร ตั้งจาตุรนต์รัศมี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-19T10:41:06Z
dc.date.available 2022-05-19T10:41:06Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4346
dc.description ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยายาลัยบูรพา จากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.description.abstract บทนำ การคัดกรองภาวะโลหิตจางและให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในเด็กทารกอายุ 6-12 เดือน ถือเป็นคำแนะนำสากลในการดูแลสุขภาพเด็กเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยสามารถให้ในรูปแบบวันละครั้งหรือสัปดาห์ละครั้ง แต่ยังมีข้อมูลเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการให้ธาตุเหล็กทั้งสองรูปแบบน้อย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแบบสัปดาห์ละครั้งเปรียบเทียบกับแบบวันละครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน ในการเพิ่มระดับธาตุเหล็กสะสมในเด็กทารกไทยอายุ 6 เดือนที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เด็กทารกไทยอายุ 6 เดือนที่มารับบริการที่คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยทำการสุ่มผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กวันละครั้ง (10 มิลลิกรัม/วัน) และสัปดาห์ละครั้ง (30 มิลลิกรัม/สัปดาห์) ร่วมกับให้คำแนะนำอาหารตามวัยที่มีธาตุเหล็กสูง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของซีรั่มเฟอร์ริตินและค่าทางโลหิตวิทยาที่อายุหกและสิบสองเดือนระหว่างเด็กทั้งสองกลุ่ม ผลการศึกษา เด็กที่เข้าร่วม 69 ราย ถอนตัว 14 รายและคัดออก 10 ราย เหลือเด็กที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ในกลุ่มวันละครั้ง 24 ราย และสัปดาห์ละครั้ง 21 ราย พบว่าที่อายุสิบสองเดือนระดับซีรั่มเฟอร์ริตินของเด็กกลุ่มวันละครั้งเพิ่มขึ้น 8.78 ± 37.21 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร แต่กลุ่มสัปดาห์ละครั้งลดลง -13.05 ± 17.53 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร (95%CI: 4.54, 39.12; p=0.015) ระดับฮีโมโกลบินของกลุ่มวันละครั้งเพิ่มขึ้น 0.58 ± 0.82 กรัมต่อเดซิลิตร กลุ่มสัปดาห์ละครั้งเพิ่มขึ้น 0.08 ± 0.59 กรัมต่อเดซิลิตร (95%CI: 0.06, 0.93; p=0.026) นอกจากนี้ พบว่าเด็กที่อยู่ในกลุ่มวันละครั้งเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กตามมาในภายหลังน้อยกว่ากลุ่มสัปดาห์ละครั้งอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.029) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว (p=0.032) สรุป การให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในเด็กทารกแบบ 10 มิลลิกรัมวันละครั้งมีประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็กและเพิ่มความเข้มข้นเลือดได้ดีกว่าการให้ยาครั้งละ 30 มิลลิกรัมสัปดาห์ละครั้ง th_TH
dc.description.sponsorship คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ภาวะขาดธาตุเหล็ก th_TH
dc.subject เลือดจาง th_TH
dc.subject ทารก - - โรค th_TH
dc.title ประสิทธิภาพของการให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสองรูปแบบในเด็กทารกไทยที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม th_TH
dc.title.alternative Efficacy of two regimens of Iron Supplementation in Thai Infants Without Anemia; A Randomized Controlled Trial en
dc.type Research th_TH
dc.author.email nalineep@go.buu.ac.th th_TH
dc.author.email ramorn@buu.ac.th th_TH
dc.author.email bngamcherd@gmail.com th_TH
dc.author.email warakria@gmail.com th_TH
dc.author.email siri_tang@hotmail.com th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative Background: Iron deficiency anemia screening and iron supplementation in infants aged 6-12 months are the recommendations in the child health supervision guideline. The authors aimed to compare the effectiveness between daily and weekly iron supplementation to improve the iron status in the infants. Methods: A single-blind randomized controlled trial was conducted in infants aged 6 months visiting the well child clinic between May 2019 and November 2020 at Burapha University Hospital, Chonburi, Thailand. The intervention consisted of either daily or weekly iron supplementation combined with iron-rich complementary food promotion for six months. The outcomes were the differences between iron status and hematological variables before and after being iron supplemented. Results: Sixty-nine six-month-old healthy infants were randomized to receive either 10 mg Fe/day (daily group) or 30 mg Fe/week (weekly group). Forty-five infants (daily group; n = 24 and weekly group; n = 21) completed the intervention. After six-month period of iron supplementation, the mean difference of serum ferritin in the daily and the weekly group were 8.78±37.21 and -13.05 ±17.53 ng/mL, respectively (95%CI: 4.54, 39.12; P=0.015). The mean difference of hemoglobin in the daily and the weekly group were 0.58±0.82 and 0.08±0.59 g/dL, respectively (95%CI: 0.06, 0.93; P=0.026). Daily supplementation could prevent iron deficiency more than weekly supplementation significantly (P=0.029), particularly in the exclusive breastfeeding subgroup (P=0.032). Conclusions: Daily iron supplementation is more effective compared to weekly iron supplementation in increasing iron status and hemoglobin in infants, especially in the exclusively breast-feds. en
dc.keyword สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account