DSpace Repository

รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดชลบุรีกลุ่มพนักงานในสถานประกอบการ

Show simple item record

dc.contributor.author ยุวดี รอดจากภัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:49Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:49Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/431
dc.description.abstract บทสรุปสำหรับผู้บริหาร(Executive Summary) ในการดำเนินงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ในสถานประกอบการจังหวัดชลบุรีมีข้อสรุป และข้อเสนอแนะดังนี้ ลักษณะปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย จังหวัดชลบุรีมีผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับ 3 ของภาคตะวันออก เนื่องจากมีแหล่งอุตสาหกรรมมากทำให้มีผุ้อพยพจากภูมิภาคเพื่อมาทำงาน โดยมีสถานประกอบการจำนวน14,637 แห่ง ผุ้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัด 521,985 คน ในปี2551 นอกจากมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมแล้ว จังหวัดชลบุรียังมีการขยายตัวของชุมชนเมือง ซึ่งพนักงานจำนวนมากเป็นเยาวชนและวัยแรงงานซึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การแพร่ระบาดของเชื้อเอช ไอ วี/เอดส์ดังกล่าว มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ได้แก่ การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การเปลี่ยนคู่นอน พนักงานในสถานประกอบการยังขาดความตระหนักในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ขณะที่มีข้อจำกัดในการได้รับความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และอุปกรณ์ในการป้องกัน รวมทั้งขาดข้อมูลแหล่งบริการและการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่ให้บริการการป้องกันและการดูแลรักษา ในกรณีเมื่อพบมีการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ อาจถูกการรังเกียจ กีดกัน และเลิกจ้าง การให้ความคุ้มครองดูแลรักษาผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม ที่ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ประกันตนที่เป็นโรคเอดส์นั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากผู้ประกันตนได้รับการรักษาและรับยาต้านไวรัสเอดส์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้ยาวนานขึ้น และบางรายยังคงทำงานได้ตามปกติ ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการรักษา และในบางส่วนของการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ สำนักงานประกันสังคมจะเหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นทุกปี จำเป็นที่ต้องมีการหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ กลวิธีในการดำเนินงาน ได้ดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 การทบทวนวรรณกรรมและศึกษาแนวทางพัฒนากลวิธีที่มีประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคเอดส์ในพนักงานในสถานประกอบการ ระยะที่2 การพัฒนาเครื่องมือและคู่มือในการนำไปใช้ในสถานประกอบการ และระยะที่3 ผลของโครงการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบการและผลของโปรแกรมการให้ความรู้แบบกระบวนการกลุ่มร่วมกับการใช้สื่อวีดิทัศน์ที่มีต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ของพนักงานในสถานประกอบการ การพัฒนาสมรรถนะของผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในสถานประกอบการมีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ตั้งแต่ผู้บริหาร ฝ่ายบุคคล และพนักงานสถานประกอบการที่จะต้องมีความเข้าใจและความตระหนักในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ การดำเนินการจึงต้องสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การให้ข้อมูลในแต่ระดับมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่ผู้บริหารเป็นการพัฒนาโครงสร้างระดับนโยบาย ฝ่ายบุคคลต้องมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ การประสานงานและระบบส่งต่อสถานบริการ จนถึงผู้ปฏิบัติงานและพนักงานสถานประกอบการในการพัฒนาทักษะด้านการป้องกันปัญหา และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ สัมฤทธิผลของโครงการ การมีส่วนร่วมและการขยายเครือข่ายการดำเนินงานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา เพื่อดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ในสถานประกอบการจังหวัดชลบุรี ข้อจำกัด เนื่องจากการดำเนินงานโครงการมีระยะเวลาในการดำเนินงานสั้นและขาดบุคลากรในการฝึกอบรมพนักงานในสถานประกอบการ การดำเนินงานที่ต่อเนื่อง ขยายโปรแกรมการให้ความรู้แบบกระบวนการกลุ่มร่วมกับการใช้วีดิทัศน์ไปสู่สถานประกอบการอื่นๆ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ในสถานประกอบการในเขตพื้นที่ โดยจัดให้มีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการ และขอความร่วมมือสถานประกอบการทุกแห่งให้ดำเนินการต่อเนื่อง ข้อเสนะแนะ 1. จังหวัดชลบุรีกำหนดนโยบายให้มีการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ในสถานประกอบการจังหวัดชลบุรี โดยบูรณาการร่วมกับการแก้ไขปัญหาสารเสพติด และการสร้างเสริมสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 2. สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดประสานให้มีนโยบายและกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในสถานประกอบการโดย 2.1 พัฒนาฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการ ให้มีความสามารถเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แก่พนักงานในสถานประกอบการ ในสถานประกอบการขนาดใหญ่กำหนดให้มีนักสุขศึกษาอาชีวเวชศาสตร์หรือเจ้าพนักงานด้านความปลอดภัย ปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยให้สามารถบริหารจัดการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการดำเนินการในระบบส่งต่อสถานบริการสุขภาพ 2.2 ให้ฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการมีการจัดฝึกอบรมในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แก่พนักงานในสถานประกอบการ ในทุกแผนก และติดตามประเมินผล 2.3 มีการประสานงานกับโรงพยาบาลหรือสถานบริการสุขภาพที่เป็นหน่วยคู่สัญญาหลักกับสำนักงานประกันสังคมใน เรื่องการให้มีผู้ให้คำปรึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์สำหรับพนักงานในสถานประกอบการ 3. สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้โรงพยาบาลหรือสถานบริการสุขภาพที่เป็นหน่วยคู่สัญญาหลัก พัฒนาระบบงานส่งเสริม/ป้องกันเอดส์ เพศ อนามัยเจริญพันธ์ ให้สถานประกอบการ 4. โรงพยาบาลหรือสถานบริการสุขภาพ พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ที่เป็นระบบส่งต่อสำหรับพนักงานในสถานประกอบการ 5. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณ และมีบทบาทเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ในสถานประกอบการในเขตพื้นที่ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณพัฒนาจังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ. 2552 ภายใต้โครงการพัฒนากลไกบริหารจัดการด้านการควบคุมและป้องกันปัญหาเอดส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้ติดเชื้อเอสไอวี th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject โรคเอดส์ - - ไทย - - ชลบุรี - - วิจัย th_TH
dc.title รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดชลบุรีกลุ่มพนักงานในสถานประกอบการ th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2553


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account