DSpace Repository

ความหลากหลายทางชีวภาพและความผันแปรตามฤดูกาลของประชาคมแบคทีเรียในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)

Show simple item record

dc.contributor.author ชุติวรรณ เดชสกุลวัฒนา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2021-05-16T11:29:00Z
dc.date.available 2021-05-16T11:29:00Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4074
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.description.abstract การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชาคมแบคทีเรียและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปกปัก พันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร อ.สัตหีบ จังหวัดชลบุรี จึงเลือกศึกษาบริเวณ หาดเตย และหาดเทียน เกาะจวง เกาะปลาหมึก แสมสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชาคมของแบคทีเรียทะเลที่อาศัยอยู่ร่วมกับฟองน้ำทะเลและน้ำทะเล ได้ดำเนินการสำรวจและตัวอย่างฟองน้ำ แล้วคัดแยกแบคทีเรียได้ 7๐ ไอโซเลต จากฟองน้ำ 9 ตัวอย่าง และ จากน้ำทะเล 6 ตัวอย่าง สามารถพบแบคทีเรียอาศัยอยู่ในฟองน้ำแต่ละตัวอย่างแตกต่างกันโดยพบมีแบคทีเรียอาศัยอยู่จำนวนมากที่สุดในฟองน้ำท่อน้ำตาล SS -B 04 จำนวน 2.51 x 106 โคโลนีต่อกรัม และน้อยที่สุดใน ฟองน้ำเมือกม่วง SS -A 02 จำนวน 4.04 x 103 โคโลนีต่อกรัม ดังรายละเอียดในตารางที่ 1 ส่วนในน้ำทะเลได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างจาก 4 พื้นที่จากบริเวณชายฝั่ง หาดเตย หาดเทียน เกาะจวงและ เกาะปลาหมึก หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี พบมีแบคทีเรียเจริญได้แตกต่างกันดังนี้ 1.05 x103 , 1.85 x 102 2.65 x 102, และ 8.95 x 102 โคโลนีต่อมิลลิลิตร ตามลำดับดังรายละเอียดใน ตารางที่ 2 จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาเป็นแบคทีเรียแกรมลบและสมบัติทางชีวเคมีสามารถบ่งชี้ ใ น เ บื้ อ ง ต้น ไ ด้ เ ป็ น ส กุล Pseudomonas, Alteromonas, Pseudoalteromonas, Vibrio, Flavobacterium, Acinetobacter, และกลุ่มที่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้ และจากการจำแนกชนิด แบคทีเรียทะเลที่คัดแยกจากน้ำและดินตะกอนในระดับชีวโมเลกุลพบว่าเป็นแบคทีเรียกรัมลบที่มีชนิด แ ต ก ต่า ง กัน ไ ด้แ ก่ Pseudomonas taiwanensis, Pseudomonas pseudoalcaligenes แ ล ะ Pseudoalteromonas sp. เมื่อได้แบคทีเรียบริสุทธิ์แล้ว จะทำการเก็บรักษาเพื่อดำเนินการทำการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ โดย วิธี Disc diffusion Agar Assay ตลอดจนการสร้างสารชีวรงควัตถุ จากแบคทีเรียทะเลที่อาศัยอยู่ร่วมกับ ฟองน้ำทะเลและน้ำทะเล เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่ามีแบคทีเรียจำนวน 9 ไอโซเลตที่แสดงฤทธิ์ทาง ชีวภาพในการยับยั้งแบคทีเรียที่ทดสอบ โดยแบคทีเรียสายพันธุ์ SS -A 2-2 SS -B 2-5 SS -C 2-3 แสดง ฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบ B. subtilis ดีที่สุด th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject พืชทะเล th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ความหลากหลายทางชีวภาพและความผันแปรตามฤดูกาลของประชาคมแบคทีเรียในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) th_TH
dc.title.alternative Diversity and seasonal variation of bacterial community it’s application in the Marine Plant Genetic Conservation Area on the Coastal zone of the east of Thailand for Conservation and Sustainable Utilization en
dc.type Research th_TH
dc.author.email chutiwan@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account