DSpace Repository

ประสิทธิภาพพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว

Show simple item record

dc.contributor.author รัชนี พุทธา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned 2021-04-27T13:14:06Z
dc.date.available 2021-04-27T13:14:06Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4057
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.description.abstract การใช้ประโยชน์พื้นที่หลังนาก่อให้เกิดรายได้แก่เกษตรกร โดยการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ให้ผลผลิตเร็ว 45-60 วัน สามารถนาฝักอ่อน บริโภคสด และผลพลอยได้ ได้แก่ เปลือก ไหม และต้นข้าวโพด มาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทาให้ข้าวโพดฝักอ่อนมีการเจริญเติบโตและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ทำการปลูกได้ และส่งผลต่อการมีผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพที่ดีของข้าวโพดฝักอ่อน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาประสิทธิภาพของพันธุ์ข้าวโพดในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว เพื่อการผลิตฝักอ่อนและผลพลอยได้ ทำการศึกษา 2 งานทดลอง ในพื้นที่นาของคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว และแปลงนาของเกษตรกร วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 4 ซ้า พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนจำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ แปซิฟิค 271 แปซิฟิค 321 ซีพี B468 เป็นหนึ่งและเกษตรศาสตร์ 3 เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต ผลผลิตและคุณภาพของผลผลิต จำนวน 17 ลักษณะ ได้แก่ ความสูงต้น วันเก็บเกี่ยวฝักแรก ช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยว ความสูงฝักแรก จำนวนฝักต่อต้น น้ำหนักฝัก น้ำหนักฝักปอกเปลือก น้ำหนักต้นต่อไร่ ผลผลิตฝักต่อไร่ ผลผลิตฝักปอกเปลือกต่อไร่ ผลผลิตเปลือกต่อไร่ จำนวนฝักต่อไร่ ความยาวฝัก ความกว้างฝัก เปอร์เซ็นต์ฝักขนาดใหญ่ เปอร์เซ็นต์ฝักขนาดกลาง และเปอร์เซ็นต์ฝักขนาดเล็ก และข้อมูลคุณค่าทางโภชนะอาหารสัตว์จากเปลือกฝัก และต้นข้าวโพด ฝักอ่อน จานวน 10 ค่า ได้แก่ วัตถุแห้ง โปรตีนหยาบ ไขมัน เยื่อใยหยาบ เถ้า แคลเซียม ฟอสฟอรัส ผนังเซลล์ลิกโนเซลลูโลส และลิกนิน จากข้อมูล 2 แปลงทดลองพบว่า พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพฝักดีมี คือพันธุ์เป็นหนึ่ง มีผลผลิตฝักต่อไร่ ผลผลิตฝักปลอกเปลือกต่อไร่ และเปอร์เซ็นต์ฝักขนาดใหญ่สูง มีค่า 1,397 กิโลกรัม 350 กิโลกรัม และ 53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้พันธุ์เป็นหนึ่ง ยังเหมาะกับการใช้เปลือกฝักเป็นอาหารสัตว์ และพันธุ์ซีพี B468 เหมาะกับการใช้ต้นข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชณะที่ดี มีโปรตีนสูง 8.96 และ 5.04 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ข้อมูลจากงานวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการแนะนำพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนเพื่อปลูกในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว และการพัฒนาอาหารสัตว์จากผลผลอยได้จากข้าวโพดฝักอ่อน th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ th_TH
dc.subject ข้าวโพดฝักอ่อน - - การปลูก - - สระแก้ว th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ประสิทธิภาพพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว th_TH
dc.title.alternative Efficiency of baby corn varieties grown on paddy field in Sakaeo province en
dc.type Research th_TH
dc.author.email ratchaneep@buu.ac.th th_TH
dc.year 2560 th_TH
dc.description.abstractalternative Utilization of paddy field by planting baby corn can make income to farmers. Baby corn are harvested early 45-60 days. It is consumed as fresh ears and by-products such as silk shell and corn are used as animal feed. Baby corn variety is the one of important factors for growth, adaptation to the growing environment and effect to high yield and good quality of baby corn. The objective of this study was to evaluate efficiency of baby corn varieties grown on paddy field in Sakaeo province for ear production and by- products. The study was conducted in two experiments ( Research field of Faculty of agricultural technology, Burapha University Sakaeo Campus and farmer field, Sakaeo) . The on farm experiments were laid out in randomized complete block design (RCBD) with four replications for both experiments. Five baby corn varieties Pacific 271, Pacific 321, CP B468, Pennueng and Kasetsart 3 were used for evaluation. Data were recorded for 17 characters of growth, yield, yield components and yield quality. The data were plant height, days to first ear harvest, duration of harvesting, first ear height, number of ear/plant, weight with husk/ ear, weight without husk/ ear, weight of plant/ rai, yield with husk/ rai, yield without husk/ rai, yield of hush, number of ears/ rai, ear length, ear width, ear size L, ear size M and ear size S. Data of nutrition were collected for 10 characters of Moisture, Crude Protein (CP), Ether Extract ( EE) , Crude Fiber ( CF) , Ash, Calcium ( Ca) , Phosphorus ( P) , Neutral Detergent Fiber (NDF), Acid Detergent Fiber (ADF) and Acid Detergent Lignin (ADL) of corn husks and corn stalks. The data of two experiments showed that Pennueng varieties gave high yield and good ear quality. Pennueng had the highest yield with husk/ rai, yield without husk/ rai and ear size L of 1,397 kilograms 350 kilograms and 53 percent, respectively. Moreover, Pennueng and CP B468 showed good nutrition and appropriate for animal feed productions. Corn husk of Pennueng and corn stalk of CP B468 had highest protein of 8.96 and 5.04 percentage, respectively. The results of this study would be useful to select the best baby corn varieties for recommendation to farmers in Sakaeo province and development of animal feed productions from by-product from baby corn. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account