DSpace Repository

การศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งเอนไซม์ collagenase ของสารสกัดจากข้าวเหนียวสังข์หยด

Show simple item record

dc.contributor.author ปริญญาพร หนูอุไร
dc.contributor.author วิทูร ขาวสุข
dc.contributor.author ทิษฏยา เสมาเงิน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-04-05T08:25:00Z
dc.date.available 2021-04-05T08:25:00Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4016
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.description.abstract ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์และมีแหล่งเพาะปลูกอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ ในเมล็ดข้าวสีดำและแดงมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการรักษาโรคเรื้อรังและมีฤทธิ์ยับยั้งการรุกรานของเซลล์มะเร็งโดยการไปยับยั้งเอนไซม์คอลลาจิเนส ปัจจุบันจึงมีการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในข้าวที่มีสีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาข้าวเหนียวสังข์หยดหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าข้าวเหนียวแดงซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ที่มีการเพาะปลูกอยู่เฉพาะพื้นที่ในเขตจังหวัดสงขลา โดยทำการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดและทดสอบฤทธิ์การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์คอลลาจิเนส โดยนำข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดมาสกัดด้วย 75% เอทิลแอลกอฮอล์ จากนั้นหาปริมาณแอนโทไซยานินและสารประกอบฟีนอลรวมด้วยวิธี pH differential และ Follin Ciocalteu reagent assay ตามลำดับ ทาการทดสอบความสามารถในการรีดิวซ์เหล็กด้วยวิธีการ Ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay จากนั้นทดสอบความสามารถในการกาจัดอนุมูลอิสระด้วยวิธี Diphenyl-2-picryl-hydrazyl radical (DPPH) assay และ hydrogen peroxide assay และทดสอบฤทธิ์การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ collagenase ด้วยวิธี collagenase assay การทดลองพบว่าสารสกัดจากข้าวกล้องเหนียวสังข์หยดมีปริมาณแอนโทไซยานินและสารประกอบฟีนอลรวมเฉลี่ย 19.566 ไมโครกรัม และ 0.295 มิลิกรัมต่อน้ำหนักแห้งของผงข้าวเหนียวสังข์หยด 1 กรัม มีความสามารถในการรีดิวซ์เหล็กเฉลี่ย 1.761 ± 0.121 มิลิกรัมต่อน้ำหนักแห้งของผงข้าวเหนียวสังข์หยด 1 กรัม และมีความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระชนิดต่าง ๆ ได้แตกต่างกันเมื่อเทียบกับสารละลายมาตรฐาน ascorbic acid จากการศึกษาความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส พบว่าสารสกัดข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดที่ความเข้มข้น 6 mg/mL มีค่าเฉลี่ยของการยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนสสูงสุดคือร้อยละ 49.31 และ 28.08 ในช่วงเวลา 4 และ 8 นาที ตามลำดับ ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้อาจนำไปศึกษาสารออกฤทธิ์ที่สำคัญและพัฒนาผลิตภัณฑ์เช่นอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อมของผิวหนังต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ข้าวเหนียว th_TH
dc.subject สารต้านอนุมูลอิสระ th_TH
dc.subject เอนไซม์ -- การสกัด th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ th_TH
dc.title การศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งเอนไซม์ collagenase ของสารสกัดจากข้าวเหนียวสังข์หยด th_TH
dc.title.alternative Studies of antioxidant and anti-collagenase activities of extracts from Sung Yod Sticky Rice en
dc.type Research th_TH
dc.author.email parinyaporn@buu.ac.th th_TH
dc.author.email witoon@buu.ac.th th_TH
dc.author.email mam030@hotmail.com th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative Rice is a major economic crop of Thailand. There are many varieties of rice which are agriculture in various part of the country. Several studied in pigmented rice such as black and red rice have shown that they contain antioxidant substances which can prevent the chronic disease and inhibit the collagenase for the cancer invasion. Sung-Yod sticky rice (Oryza sativa L.) is a local red colored-sticky rice found in the South of Thailand, particularly, Songkhla province. However, the roles of Sung Yod sticky rice in antioxidant and anti-collagenase remain not clarified. We investigated the antioxidant and anti-collagenase potential of SungYod sticky rice extract. Unpolished Sung-Yod sticky rice was extracted with 75% of ethanol. The Total anthocyanin and phenolic contents were determined by pH differential method and Follin Ciocalteu reagent assay, respectively. The potential of Ferric reduction was analyzed by Ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay. The percentage of antioxidant activities was assessed by DPPH scavenging assay and Hydrogen peroxide scavenging assay. The percentage of collagenase inhibition was determined by colorimetric collagenase assay. The mean total anthocyanin and total phenolic compounds were 19.566 μg/g dry weights and 0.295 mg/g dry weight, respectively. The 1.761 ± 0.121 mg/g rice of Sung-Yod sticky rice extract had been a potential to reduce the ferric. The half maximal inhibitory concentration of the Sung-Yod sticky rice extract was different in each type of the method compared with standard ascorbic acid (p < 0.05). The maximum percentages of collagenase inhibition of Sung-Yod sticky rice extract at the concentration of 6 mg/ml were 49.31 and 28.08 during the 4 and 8 min, respectively. These findings demonstrated that the Sung-Yod sticky rice extract has the antioxidant and anti-collagenase effect which could be beneficial in preventing the skin degenerative disease. en
dc.keyword ข้าวเหนียวสังข์หยด th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account