DSpace Repository

การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพึ่งพาตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนชายทะเลต้นแบบ

Show simple item record

dc.contributor.author ภาณุวัฒน์ ด่านกลาง
dc.contributor.author รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
dc.contributor.author วารี กังใจ
dc.date.accessioned 2021-01-28T05:53:12Z
dc.date.available 2021-01-28T05:53:12Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4007
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและปรับพฤติกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุ และออกแบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะกับผู้สูงอายุในชุมชนชายฝั่งทะเล ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุในเขตชายฝั่งทะเล ตำบลแสนสุข อำเภอ เมือง จังหวัดชลบุรี ของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 300 คน พบว่า ผู้สูงอายุติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อประเภทโทรทัศน์ทุกวัน รองลงมาคือ วิทยุ สำหรับอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่กลุ่มตัวอย่างไม่สนใจ เมื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุข พบว่า ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต และมีระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้งานน้อยกว่า 30 นาที ทั้งนี้ผู้สูงอายุเห็นว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวมีผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประจาจะช่วยให้ท่านทราบถึงประโยชน์ของการใช้งาน แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ จากการศึกษาความต้องการข้อมูลด้านต่าง ๆ พบว่า มีความต้องการสื่อสารกับเพื่อนหรือญาติ และข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการติดต่อขอความช่วยเหลือยามฉุกเฉินมากที่สุด 2. การปรับพฤติกรรมด้านการยอมรับเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ ได้จัด กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “วัยเก๋าเข้าใจไอที” ให้แก่ผู้สูงอายุที่สมัครใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและ Social Media เช่น Line Facebook Youtube เป็นต้น อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต ระยะเวลาที่ใช้ใน การอบรมทั้งหมด 6 ชั่วโมง โดยมีวิทยากรและผู้ช่วยวิทยากรดูแลรวมถึงตอบข้อซักถาม พร้อมสังเกตุทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุตลอดระยะเวลาการอบรม ผลการวัดทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุก่อนเรียน แตกต่างจากคะแนนทักษะของผู้สูงอายุหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้สูงอายุความพึงพอใจต่อภาพรวมในการจัดโครงการอบรม อยู่ในระดับมาก และเห็นว่าโครงการอบรมฯ มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากในทุกด้าน ซึ่งมีเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านวิทยากรและการบรรยาย ด้านบริการและสถานที่ ด้านเอกสารประกอบการอบรม และด้านกิจกรรมการอบรม ตามลำดับ 3. ระบบแจ้งเตือนเพื่อขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจะใส่สร้อยคอเป็น อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือ ซึ่งมีหน้าที่ส่งข้อมูลการแจ้งเตือนของผู้ส่วมใส่ส่งผ่าน Bluetooth ไปยัง Smartphone ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ ( IoT gateway) เพื่อส่งข้อมูลที่ได้ไปยังระบบแจ้งเตือนเมื่อขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลการแจ้งเตือนต่าง ๆ ผ่าน Cloud Service ที่มีผู้ดูแลรับผิดชอบอยู่ ผลการทดสอบการทดลองใช้ระบบฯ พบว่า ผู้สูงอายุเห็นว่าระบบฯ มีประโยชน์เหมาะสม ด้านเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ พบว่า ระบบฯ มีประโยชน์ เหมาะสมครอบคลุมความต้องการ และทำให้สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือได้ง่ายและรวดเร็ว จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อวัน คือประมาณ 3 ชั่วโมง และควรจัดมีการให้ความรู้ซ้ำ ๆ และต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพความพร้อมของร่างกายและความเหนื่อยล้า th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เทคโนโลยีสารสนเทศ th_TH
dc.subject พฤติกรรมการใช้ th_TH
dc.subject คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject ระบบสารสนเทศ th_TH
dc.subject สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิดทศศาสตร์ th_TH
dc.title การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพึ่งพาตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนชายทะเลต้นแบบ th_TH
dc.title.alternative Technology and information systems to enhance the independence and quality of life of the elderly in the coastal community th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email panuwat@eng.buu.ac.th th_TH
dc.author.email ratchana@buu.ac.th th_TH
dc.author.email wareek@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative The purpose of this study aimed to examine behavior on using information technology, manage behavior modification for elders on using information technology, and create suitable information technology for elders in the coastal community. The findings indicate as following: 1. Behavior on using information technology for elders in the coastal community around Saen Suk Sub-district, Mueang District, Chonburi Province around 300 people indicate that mostly elders receive daily information and news from television, followed by radio station, and not interest or never use the internet. In addition, most elders never participate in how to use internet training, but they able to use cell phones. The average of using technology for elders is less than 30 minutes per day. The findings of the study found that using information technology for elders in the coastal community around Saen Suk Subdistrict is usefulness for communication with others, anyway, elders need to take a long time for study and familiar with information technology. And the findings of the study found that the most need to using information and technology for elders was to communicate with their family, consult about their health in emergency cases. 2. Behavior modification for elders on using information technology by creating the workshop training as “Elders life with IT” aimed to gain their more knowledge for basic knowledge of using a computer and searching the internet, how to use social media such as Line, Facebook, Youtube, and also prepare for future technology. The total workshop training time was 6 hours with an instructor and co-instructor to support questions and investigate their information technology skills with the number of interesting in topic participants 60 people. The result of elders’ skill after workshop training found that their skill before training and after training is increasing in statistical significance at 0.1. The overview satisfaction of participants is in the high scores, and also useful for elders. In the view of other evaluation aspects, the result is also in the high scores respectively in every evaluation aspects as instructor scores, service and training place scores, overall workshop training activity scores and workshop training document scores. 3. Surveillance and alert system for the elder in an emergency case by using Bluetooth necklace is to connect elder status with a smartphone as IoT gateway to feedback surveillance and alert for the elder in an emergency case via cloud service under controlled by the system controller. The system is usefulness in elders’ views after testing. The system controller found that the system is suitable and convenient to access the elder when required any helps. The findings suggest that the suitable training hour for using information technology workshop training should be around 3 hours with repeated training course due to physical condition and fatigue of elders. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account