DSpace Repository

การพัฒนาการควบคุมจุลินทรีย์ด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากแบคทีเรีย โพรไบโอติกเพื่อพัฒนามาตรฐานและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.author วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-01-06T08:55:34Z
dc.date.available 2020-01-06T08:55:34Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3730
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง “การพัฒนาการควบคุมจุลินทรีย์ด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากแบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อพัฒนามาตรฐานและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งของประเทศไทย” โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดพริกชี้ฟ้าที่ผสมกับสารสกัดตะไคร้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในรูปแบบสารกึ่งบริสุทธิ์จากแบคทีเรียโพรไบโอติก Bacillus licheniformis และสารผสมของสารทั้ง 2 กลุ่ม ในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค 4 ชนิด ได้แก่ Salmonella Typhimurium, Bacillus cereus, Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ในผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูปที่เก็บรักษาเป็นระยะเวลา 28 วัน จากการศึกษาพบว่าสารสกัดสมุนไพรผสมระหว่างพริกชี้ฟ้ากับตะไคร้ ความเข้มข้น 160 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์สูงในการยับยั้ง B. cereus มีฤทธิ์ปานกลางในการยับยั้งการเจริญของ E. coli และ S. aureus ในผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูป แต่มีประสิทธิภาพต่ำในการยับยั้ง S. Typhimurium สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก B. licheniformis มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของ B. cereus ได้เป็นอย่างดี มีฤทธิ์ยับยั้งปานกลางต่อ E. coli และไม่สามารถยับยั้ง S. aureus ได้ ส่วนการเติมสารสกัดสมุนไพรผสมร่วมกับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก B. licheniformis มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการเติมสารสกัดใดสารสกัดหนึ่งในการยับยั้ง S. Typhimurium และ B. cereus ในผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูป และช่วยเพิ่มฤทธิ์ในการยับยั้ง E. coli และ S. aureus ในผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูปการเติมสารสกัดสมุนไพรร่วมกับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก B. licheniformis ยังมีฤทธิ์การยับยั้ง S. Typhimurium, B. cereus และ S. aureus สูงกว่าไนซิน ซึ่งเป็นสารกันเสียทางการค้าที่นิยมใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้การเติมสารสกัดทุกๆ 2 สัปดาห์ทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดแบคทีเรียก่อโรคทั้ง 4 ชนิด ในผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูปเพิ่มขึ้นมากกว่าการเติมสารสกัดเพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติมสารสกัดสมุนไพรร่วมกับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก B. licheniformis สามารถลดปริมาณ S. Typhimurium, E. coli, B. cereus และ S. aureus จาก >1,100 MPN/g เหลือ  3.0 MPN/g การเติมสารสกัดสมุนไพรผสมร่วมกับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก B. licheniformis มีผลทำให้ค่า ความชื้นและค่า aw เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์หมึก แปรรูปดั้งเดิม รวมทั้งยังทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนั้นการเติมสารสกัดสมุนไพรร่วมกับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก B. licheniformis ใน ผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูปทำให้หมึกแปรรูปมีสีพอใช้ตามธรรมชาติในวันแรกของการทดลอง และแสดง ความผิดปกติไปจากธรรมชาติเมื่อเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 28 วัน และหมึกแปรรูปมีกลิ่นแตกต่างจาก หมึกแปรรูปดั้งเดิมเล็กน้อย คือ มีกลิ่นพอใช้ตามธรรมชาติตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 28 วัน ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสารสกัดสมุนไพรผสม (พริกชี้ฟ้ากับตะไคร้) ร่วมกับการเติมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก B. licheniformis สามารถลดการปนเปื้อนของ S. Typhimurium, B. cereus, E. coli และ S. aureus ในผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูป โดยมีผลเปลี่ยนแปลงลักษณะทางประสาทสัมผัสเล็กน้อยในระดับที่ยอมรับได้ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject อาหารทะเลแห้ง th_TH
dc.subject แบคทีเรีย -- การควบคุมคุณภาพ th_TH
dc.subject การแปรรูปสัตว์น้ำ th_TH
dc.subject โพรไบโอติก th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การพัฒนาการควบคุมจุลินทรีย์ด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากแบคทีเรีย โพรไบโอติกเพื่อพัฒนามาตรฐานและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งของประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative Development of bioactive compounds from probiotic bacteria for controlling microorganisms, and improving standard and quality of dried seafood products from Thailand en
dc.type Research th_TH
dc.author.email subunti@buu.ac.th th_TH
dc.author.email verapong@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative In this study entitled “development of bioactive compounds from probiotic bacteria for controlling microorganisms, and improving standard and quality of dried seafood products from Thailand”, inhibitory effects of combined ethanolic chili and galangal extracts, partial purified substances prepared from Bacillus licheniformis (PBL), and chili and galangal extracts mixed with PBL on four pathogens, Salmonella Typhimurium, Bacillus cereus, Escherichia coli and Staphylococcus aureus were investigated in dried processed squid products during a 28-day storage. Combined chili and galangal extracts (160 mg/mL) had strong activity against B. cereus and moderate activity against E. coli and S. aureus, but low inhibitory effect on S. Typhimurium in dried processed squid products. Partial purified substances from B. licheniformis were able to potently eliminate B. cereus and moderately eliminate E. coli, but unable to eliminate S. aureus. Inhibitory activity of mixed plant extract (chili and galangal) and PBL was as effective as plant extract or PBL alone against S. Typhimurium and B. cereus in dried processed squid products. Strong inhibitory effect on E. coli and S. aureus was observed when this mixture added in the squid product. In addition, the plant extracts mixed with PBL exhibited higher inhibitory activity against S. Typhimurium, B. cereus and S. aureus, compared to nisin, a commercial preservative. Addition of the bioactive agent every 2 weeks resulted in increased inhibitory effect on four tested pathogens. In particular, decreased numbers of S. Typhimurium, E. coli, B. cereus and S. aureus from >1,100 to  3.0 MPN/g were found in dried processed squid products when combined plant extracts mixed with PBL employed. Supplementation of mixed plant extracts and PBL caused significant (P<0.05) increase in moisture content and water activity and significant (P<0.05) decrease in pH in dried squid products. Dried squid products incorporated with plant extracts and PBL showed minor change in natural color at the beginning of experiment and moderate color change after a 28-day storage and also showed slight difference of natural smell (fair smell) during a 28-day storage. In conclusion, chili and galangal extracts mixed with PBL obviously reduced pathogen contamination (S. Typhimurium, B. cereus, E. coli and S. aureus) in dried squid products with minor and acceptable change in sensory characteristic. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account