DSpace Repository

ความหลากหลายทางชีวภาพและความผันแปรตามฤดูกาลของกุ้ง กั้ง ปู บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

Show simple item record

dc.contributor.author นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-07-28T10:07:26Z
dc.date.available 2019-07-28T10:07:26Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3654
dc.description.abstract จากการสำรวจความหลากหลายชนิดของ กุ้ง กั้ง ปู ที่พบในบริเวณแนวชายฝั่งทะเลของจังหวัด ชลบุรี โดยการสำรวจตัวอย่างที่ได้จากเรือประมงบริเวณสะพานปลาต่าง ๆ และบริเวณแนวชายหาดของ พื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน 4 แบบของจังหวัดชลบุรี ในช่วงฤดูแล้ง (เมษายน-พฤษภาคม) และ ช่วงฤดูมรสุม (กันยายน-ตุลาคม) พบว่า พื้นที่ที่เป็นเขตอนุรักษ์และสงวนทรัพยากรธรรมชาติ บริเวณ อ่าวสัตหีบ มีความหลากหลายชนิดสูงที่สุด โดยสามารถพบตัวอย่างทั้งสิ้น 25 วงศ์ 39 สกุล 57 ชนิด รองลงมาคือ พื้นที่ที่เป็นเขตที่มีการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง บริเวณอ่าวชลบุรี โดยพบตัวอย่างทั้งสิ้น 16 วงศ์ 25 สกุล 42 ชนิด และพื้นที่ที่เป็นเขตว่ายน้ำ/ นันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวในแนวหาดบางแสน อ่างศิลา พบตัวอย่างทั้งสิ้น 15 วงศ์ 28 สกุล 43 ชนิด ส่วนบริเวณที่พบว่ามีความหลากลายของชนิดต่ำที่สุดคือ พื้นที่ที่เป็นเขตแหล่งอุตสาหกรรม ได้แก่ หาดบ้านอ่าวอุดม โดยพบตัวอย่างเพียง 15 วงศ์ 20 สกุล 34 ชนิด จากการศึกษาเปรียบเทียบความหลากชนิดของกุ้ง กั้ง ปู ที่ส ารวจพบบริเวณสะพานปลา ในฤดู แล้งและฤดูมรสุม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ในช่วงฤดูแล้ง กุ้ง กั้ง ปู ที่สำรวจพบที่สะพาน ปลาสัตหีบ สะพานปลาอ่าวอุดม สะพานปลาอ่างศิลา และสะพานปลาท่าเรือพลี มีจำนวน 39, 29, 35 และ 35 ชนิด ตามลำดับ ในขณะที่ ในฤดูแล้ง พบจำนวน 18, 17, 28, 23 ชนิด ตามลำดับ จำนวนของ กุ้ง กั้ง ปู ที่พบในช่วงฤดูแล้งมีมากกว่าในช่วงฤดูมรสุม เนื่องจาก ในช่วงฤดูมรสุม ชาวประมงส่วนหนึ่ง ไม่ได้ออกเรือไปทำประมง จึงทำให้ได้ตัวอย่างไม่มากเมื่อเทียบกับช่วงฤดูแล้ง ส่วนชนิดของกุ้ง กั้ง ปู ที่ สำรวจได้จากบริเวณชายหาดของจุดสำรวจทั้ง 4 แห่ง ไม่แตกต่างกันมากนัก ในช่วงฤดูแล้ง พบจ านวน ชนิดของกุ้ง กั้ง ปู ที่บริเวณหาดบ้านช่องแสมสาร หาดบ้านอ่าวอุดม หาดวอนนภา และถนนชายหาด เลียบทะเล เท่ากับ 19, 4, 8 และ 9 ชนิด ตามลำดับ ส่วนในช่วงฤดูมรสุม พบจำนวนชนิดของกุ้ง กั้ง ปู ที่บริเวณหาดบ้านช่องแสมสาร หาดบ้านอ่าวอุดม หาดวอนนภา และถนนชายหาดเลียบทะเล เท่ากับ 17, 3, 5 และ 8 ชนิด ตามลำดับ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กุ้ง - - การขยายพันธุ์ th_TH
dc.subject ความหลากหลายทางชีวภาพ th_TH
dc.subject ปู - - การขยายพันธุ์ th_TH
dc.subject ปู - -การสำรวจ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ความหลากหลายทางชีวภาพและความผันแปรตามฤดูกาลของกุ้ง กั้ง ปู บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน th_TH
dc.title.alternative Biodiversity and Seasonal Variation of Shrimps, Mantis shrimps and Crabs along the East Coast of Thailand for conservation and sustainable uses of community en
dc.type Research en
dc.author.email nongnud@bucc.buu.ac.th
dc.year 2561 en
dc.description.abstractalternative Survey on species diversity of shrimps mantis shrimps and crabs along the Eastern coast of Chonburi province were done. Specimens were collected from fishing ports and along the coast of four different land use area of Chonburi province. The studies were performed during two different season, i.e. dry season (April-May) and moonsoon season (September-October). From the study, the highest species diversity was found in the Conservative area with 25 families 39 genera 57 species. Aquaculture Area and Tourism area had approximately the same species diversity with 16 families 25 genera 42 species and 15 families 28 genera 43 species respectively. The lowest species diversity was found in the industrial area with 15 families 20 genera 34 species. Comparative studies on species diversity of shrimps mantis shrimps and crabs were done between the dry season and the moosoon season. It was found that there were difference in number of species between season in the fishing port area. During the dry season, number of species found in Sattahip fishing port, Ao udom fishing port, Ang sila fishing port and Tha-ruea Phli fishing port were 39, 29, 35 and 35 species respectively. Whereas in the moosoon season, number of species found in Sattahip fishing port, Ao udom fishing port, Ang sila fishing port and Tha-ruea Phli fishing port were 18, 17, 28, and 23 species respectively. More species was found in the dry season due to less trawling boat in the moonsoon season than in the dry season. There was no difference for the number of species found along the beach of four different areas. During the dry season, the number of species was found to be 19, 4, 8 and 9 in the Samaesan beach, Ao udom beach, Won napha beach and Thanon shine Had Leab Talay respectively . Whereas in the monsoon season, the number of species was 17, 3, 5 and 8 in the Samaesan beach, Ao udom beach, Won napha beach and Thanon shine Had Leab Talay respectively en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account