DSpace Repository

ประสิทธิภาพของการร่วมแรงร่วมใจในโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อรองรับการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว

Show simple item record

dc.contributor.author ปรียาวดี ผลเอนก
dc.contributor.author ธนัฎฐ์ตฤณ บุนนาค
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-05-02T10:18:08Z
dc.date.available 2019-05-02T10:18:08Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3538
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อิทธิพลของการร่วมแรงร่วมใจในโซ่อุปทานที่มีต่อประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว (2) ระดับประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว และ (3) อิทธิพลของประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้วที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อรองรับการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหาในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำนวน 36 คน เก็บข้อมูลด้วยการใช้วิธีทอดแบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสกัดปัจจัยแบบ Principal Component Analysis การวิเคราะห์ Multiple Linear Regression การวิเคราะห์ Multinomial Logistics Regression และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) การร่วมแรงร่วมใจในโซ่อุปทาน ประกอบด้วย ความได้เปรียบในการจัดซื้อจัดหา ความยืดหยุ่นของโซ่อุปทาน ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า-ผู้จัดหาปัจจัยการผลิต การแบ่งปันข้อมูลภายในสมาชิกโซ่อุปทาน ความเชื่อมโยงภายในโซ่อุปทาน และความไว้วางใจในสมาชิกโซ่อุปทาน มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (2) ประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพสูง และ (3) ประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว ด้านความน่าเชื่อถือของโซ่อุปทานมีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อรองรับ การเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ด้านนวัตกรรมการผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ด้วยโอกาส ที่จะเกิดเหตุการณ์นี้มีค่าเท่ากับ 5.683 เท่า และประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมนม พร้อมดื่มจังหวะสระแก้วด้านค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนมีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อ รองรับการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ด้านส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.01 ด้วยโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นี้มีค่าเท่ากับ 5.819 เท่า th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผลิตภัณฑ์นม -- อุปทานและอุปสงค์ th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมนมเนย -- ไทย -- สระแก้ว th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม th_TH
dc.subject เขตเศรษฐกิจ -- ไทย -- สระแก้ว th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title ประสิทธิภาพของการร่วมแรงร่วมใจในโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อรองรับการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว th_TH
dc.title.alternative The performance of Sakaeo Province dairy milk product’s supply chain collaboration on competitive advantage for entering the Sakaeo Special Economic Zone en
dc.type Research th_TH
dc.author.email pareeyawadee@buu.ac.th
dc.author.email ratanan@buu.ac.th
dc.year 2560 th_TH
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study (1) the influence of supply chain collaboration on the supply chain performance of Sakaeo’s dairy milk product (2) the level of the supply chain performance of Sakaeo’s dairy milk product; and (3) the influence of supply chain performance of Sakaeo’s dairy milk product on competitive advantage entering to Sakaeo Economic Zone. The sample of this study was Wangnamyen Dairy Co-operative’s the employee who involved the procurement in dairy milk product industrial’s supply chain, there were 36 people by using self-enumeration technique to collect data. The tool used in research was questionnaires and depth interview. In addition, we used the percentage, mean, standard deviation, principle component analysis, multiple linear regression, multinomial logistic regression and content analysis to data analysis. The results of the research found that (1) the supply chain collaboration about procurement advantage, supply chain flexibility, supply chain relation between customer-vendor, information sharing within supply chain member, supply chain linkage, and trust in supply chain member influenced on the supply chain performance of Sakaeo’s dairy milk product with statistical significance at .01 (2) the level of the supply chain performance of Sakaeo’s dairy milk product was in high level; and (3) the supply chain performance of Sakaeo’s dairy milk product about supply chain reliability influenced on competitive advantage entering to Sakaeo Economic Zone about innovation with statistical significance at .01, its the probability of this situation was 5.683 times, and the supply chain performance of Sakaeo’s dairy milk product about expenses of costs influenced on competitive advantage entering to Sakaeo Economic Zone about marketing share with statistical significance at .01, its the probability of this situation was 5.819 times en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account