DSpace Repository

การผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทจากหมึกกะตอยด้วยเอนไซม์ และการประยุกต์ใช้ในซอสชนิดข้น

Show simple item record

dc.contributor.author นิสานารถ กระแสร์ชล
dc.contributor.author วิชมณี ยืนยงพุทธกาล
dc.contributor.author สิริมา ชินสาร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-04-09T03:30:43Z
dc.date.available 2019-04-09T03:30:43Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3495
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทจากหมึกกระตอยด้วยเอนไซม์และการประยุกต์ใช้ในซอสชนิดข้น ขั้นตอนแรกศึกษาอัตราส่วนหมึกต่อน้ำโดยแปรเป็น 1:1 และ 1:2 ระยะเวลาในการย่อยสลายที่ 1 3 และ 5 ชั่วโมง และปริมาณเอนไซม์ร้อยละ 0.5 1.0 และ 1.5 ของน้ำหนักเนื้อหมึกทั้งเอนไซม์อัลคาเลสและปาเปน พบว่าเมื่ออัตราส่วนหมึกต่อน้ำ ระยะเวลาในการย่อยสลายและปริมาณเอนไซม์เพิ่มขึ้นทำาให้ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดของโปรตีนไฮโดรไลเสทจากหมึกเพิ่มขึ้น โดยโปรตีนไฮโดรไลเสทจากหมึกที่ย่อยสลายด้วยเอนไซม์อัลคาเลสมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด สูงสุดเมื่อใช้อัตราส่วนหมึกต่อน้ำ 1:2 ระยะเวลาในการย่อยสลาย 3 ชั่วโมง และปริมาณของเอนไซม์ ร้อยละ 1 ของน้ำหนักเนื้อหมึก ส่วนโปรตีนไฮโดรไลเสทจากหมึกที่ย่อยสลายด้วยเอนไซม์ปาเปนมี ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดสูงสุดเมื่อใช้อัตราส่วนหมึกต่อน้ำ 1:2 ระยะเวลาในการย่อยสลาย 5 ชั่วโมง และปริมาณของเอนไซม์ร้อยละ 1.5 ของน้ำหนักเนื้อหมึก จึงนำโปรตีนไฮโดรไลเสทมาผลิตเป็นซอส หมึกเพื่อศึกษาผลของชนิดเอนไซม์ที่มีต่อคุณภาพซอสหมึก โดยใช้โปรตีนไฮโดรไลเสทจากหมึกที่ย่อยสลายจากเอนไซม์อัลคาเลสและปาเปนปริมาณ 30 กรัม พบว่าซอสหมึกที่ใช้โปรตีนไฮโดรไลเสทจากเอนไซม์ปาเปนมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าสี a* และคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสได้รับคะแนน ความชอบ (ด้านลักษณะปรากฏและกลิ่นหมึก) สูงสุด จากนั้นศึกษาผลของปริมาณโปรตีนไฮโดรไลเสทจากหมึกที่มีต่อคุณภาพซอสหมึกโดยแปรปริมาณโปรตีนไฮโดรไลเสทเป็น 30 40 50 และ 60 กรัม พบว่าปริมาณโปรตีนไฮโดรไลเสทที่เพิ่มขึ้นทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่าง การแยกชั้นและค่าสี L* เพิ่มขึ้น แต่ทำให้ปริมาณของแข็งทั้งหมด ความหนืดและค่าสี a* ลดลง ซึ่งจากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่าซอสหมึกที่ใช้โปรตีนไฮโดรไลเสท 40 กรัมได้รับคะแนนความชอบ โดยรวมสูงสุดโดยคะแนนอยู่ในเกณฑ์ชอบปานกลาง จากนั้นนำซอสหมึกที่ใช้โปรตีนไฮโดรไลเสท 40 กรัม มาศึกษาคุณภาพในระหว่างการเก็บรักษา พบว่าซอสหมึกมีอายุการเก็บรักษาได้ไม่น้อยกว่า 10 เดือน และจากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่าซอสหมึกได้รับคะแนนความชอบ โดยรวมใกล้เคียงกับซอสหอยนางรมทางการค้า สำหรับการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีพบว่าซอสหมึกมีปริมาณโปรตีน ไขมัน เถ้า ความชื้นและคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 3.26 0.34 13.75 68.95 และ13.70 ตามลำดับ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณเงินแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (เพิ่มเติม) th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ซอส -- การผลิต th_TH
dc.subject โปรตีนไฮโดรไลเสท th_TH
dc.subject ปลาหมึกกะตอย th_TH
dc.subject เอนไซม์ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทจากหมึกกะตอยด้วยเอนไซม์ และการประยุกต์ใช้ในซอสชนิดข้น th_TH
dc.title.alternative Production of protein hydrolysate from Beka squid by enzymes and its application in thick sauce en
dc.type Research th_TH
dc.author.email nisanart@buu.ac.th
dc.author.email wich@buu.ac.th
dc.author.email sirima@buu.ac.th
dc.year 2559 th_TH
dc.description.abstractalternative Production of protein hydrolysate from Beka squid by enzymes and its application in thick sauce was studied. Protein hydrolysate which added the ratio of squid to water was varying from 1:1 and 1:2 and time of hydrolyze was varying from 1, 3 and 5 hours and amount of enzymes was varying from 0.5, 1 and 1.5% w/w of squid by enzymes Alcalase and Papain. It was found that the amount of the ratio of squid to water and time of hydrolyze increased, total nitrogen in protein hydrolysate were increased. Protein hydrolysate with the ratio of squid to water 1:2 and time of hydrolyze 3 hours and amount of enzymes 1% w/w of squid by enzyme Alcalase obtained highest total nitrogen and protein hydrolysate with the ratio of squid to water 1:2 and time of hydrolyze 5 hours and amount of enzymes 1.5% w/w of squid by enzyme Papain obtained highest total nitrogen. Then, the effect of type enzyme were added protein hydrolysate 30 g from Alcalase and Papain in squid sauce. It was found that squid sauce from enzyme Papain obtained highest pH, a* appearance and order. After that, the effect of amount of protein hydrolysate was varying 30, 40, 50 and 60 g. It was found the amount of protein hydrolysate increased, pH, SL and L* increased. By the way total solid, viscosity and a* decreased. The squid sauce with 40 g protein hydrolysate was obtained highest overall liking score at moderately. Finally, the effect of storage time on quality of squid sauce was studied. It was found that, the squid sauce had storage time not lower than 10 months. The chemical position of squid sauce was protein 3.26%, fat 0.34%, ash 13.75%, moisture 68.95% and carbohydrate 13.70% en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account