DSpace Repository

การทดสอบสมรรถภาพทางกายของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author วัลลภา พ่วงขำ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:24Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:24Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/301
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเมินผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวนทั้งสิ้น 178 คน ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างบุคลากร ชายและหญิง และเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชนไทย ข้อมูลนำมาวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ จำแนกตามเพศ อายุ ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของการตรวจสุขภาพและการทดสอบสมรรถภาพทางกายของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา มีผู้เข้าร่วมจำนวน 178 คน เป็นเพศชาย 37 คน คิดเป้นร้อยละ 20.79 เป็นเพศหญิง 141 คน คิดเป็นร้อยละ 79.21 บุคลากรทั้งเพศชายและเพศหญิงส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 40-49 ปี ข้อมูลทางด้านความถี่ของการออกกำลังกาย พบว่า บุคลากรหญิงมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอกว่าบุคลากรชาย ส่วนใหญ่เพศชายไม่ออกกำลังกายเลยร้อยละ 70.3 เพศหญิงที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีเพียง ร้อยละ 12.9 ออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 27.9 สำหรับกลุ่มอายุที่ออกกำลังกายเป็นประจำทั้งเพศชายและเพศหญิงมีอายุระหว่าง 20-29 ปี คิดเป็น ร้อยละ 51.4 และร้อยละ 45 ตามลำดับ ผลการตรวจสมรรถภาพทางกยของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ เปรียบเทียบระหว่างบุคลากรชายและหญิงพบว่า สมรรถภาพทุกด้านของบุคลากรชายสูงกว่าบุคลากรหญิงยกเว้นความอ่อนตัว แต่เมื่อนำค่าต่าง ๆ ไปเปรียบเทียบการทดสอบสมรรถภาพทางกายของประชาชนชาวไทย พบว่า สมรรถภาพทางกายส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำมาก โดยแยกเป็นบุคลากรชายมีระดับสมรรถภาพความแข็งแรงของแขน ร้อยละ 37.8 ความแข็งแรงของการเหยียดขา ร้อยละ 40.5 และปริมาณไขมันในร่างกาย ร้อยละ 61.1 ต่ำมาก ความจุปอดต่อน้ำหนักตัว พบว่าเพศชายมีความจุปอดต่อน้ำหนักตัวร้อยละ 51.4 อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนบุคลากรหญิงมีระดับสมรรถภาพความแข้งแรงของการเหยียดขา ร้อยละ 31.2 ต่ำมาก ความอ่อนตัว ร้อยละ 21.2 ต่ำมากและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจน ร้อยละ 61 ต่ำมาก จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า สมรรถภาพทางการของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชนไทยสมรรถภาพทางกายแต่ละด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำมาก ระดับต่ำ ถึงระดับปานกลางตามลำดับ หน่วยงานควรสนับสนุนควรส่งเสริมให้บุคลากรออกกำลังกาย จัดหาสถานที่และอุปกรณ์ โดยเลือกกิจกรรมที่เป็นลักษณะการออำกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ควรมีการตรวจสอบสมรรถภาพทางกายบุคลากรอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทุกคนทราบและตระหนักถึงภาวะสุขภาพทางกายของตนเอง และหลังการตรวจสมรรถภาพทางกายควรแจ้งผลการทดสอบทันทีพร้อมกับอธิบาย แนะนำ กิจกรรมการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย อายุ สภาพแวดล้อมที่พึงมีให้ทุกคน th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2549 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา. ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ - - ข้าราชการและพนักงาน th_TH
dc.subject สมรรถภาพทางกาย - - การทดสอบ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การทดสอบสมรรถภาพทางกายของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Physical fitness test of health science center, Burapha University en
dc.type Research
dc.year 2549


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account