DSpace Repository

การศึกษาความพร้อมองค์อาคารข้อต่อคาน-เสาเหล็กในประเทศไทยเพื่อรับแรงแผ่นดินไหว

Show simple item record

dc.contributor.author อานนท์ วงษ์แก้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:24Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:24Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/294
dc.description.abstract ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว Northridge ในปี 1994 วิศวกรโครงสร้างในประเทศสหรัฐอเมริกาเชื่อว่า โครงข้อแข็งเหล็กจะแสดงพฤติกรรมที่โดดเด่นในเรื่องความเหนียวและจะสามารถต้านทานการสั่นไหวที่รุ่นแรงได้ โดยไม่สูญเสียความแข็งแรงขององค์อาคารโดยรวม หรือสูญเสียน้อยมาก อย่างไรก็ตาม หลังการเกิดแผ่นดินไหว Northridge พบว่าโครงข้อแข็งจำนวนมากเกิดรอยแตกร้าวบริเวณรอยต่อระหว่างคาน-เสา และต่อมาพบอีกว่ารอยแตกเหล่านี้เป็นรอยแตกแบบเปราะ ทำให้วิศวกรส่วนใหญ่มีความกังวลถึงองค์ความรู้และมาตรฐานในการออกแบบโครงข้อเหล็กที่ใช้อยู่ในขณะนั้น (ก่อนปี 1994) อาจมีข้อบกพร่องจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมการศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมข้อต่อคาน-เสาเหล็ก ที่มีรายละเอียดตามการก่อสร้างในประเทศไทย เมื่อรับแรงแผ่นดินไหวด้วยวิธีไฟไนอิลิเมนต์ โดยเริ่มจากการสร้างแบบจำลองไฟไนอิลิเมนต์ของข้อต่อคาน-เสาชนิด Welded Unreinforced Flanges-Bolted Web (ExBShlC) ทำการวิเคราะห์แบบจำลอง ExTShlC นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ เปรียบเทียบกับผลที่ได้จากผลงานจริง จากนั้นจะทำการปรับรายละเอียดแบบจำลอง ExBShlC ให้มีรายละเอียดแบบจำลอง ตามรายละเอียดการก่อสร้างในประเทศไทแบบเชื่อมรอบหน้าตัดคาน (ExTShlC) ผลการวิเคราะห์แบบจำลอง ExBShlC แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองไฟไนอิลิเมนต์ที่พัฒนาขึ้นมามีความแม่นยำ ถูกต้องสูง แรงตอบสนองสูงสุดของแบบจำลองมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากการทดสอบชิ้นงานและแบบจำลองสามารถแสดงตำแหน่งการครากของข้อต่อได้ตรงกับผลที่ได้จากการทดสอบ เมื่อพิจารณาจากผลการวิเคราะห์แบบจำลอง ExTShlC จะพบว่าแบบจำลองนี้มีพฤติกรรมด้านการรับแรงและการกระจายความเค้นได้ดีกว่า ดังนั้นจึงอาจนำสรุปได้ว่าข้อต่อประเภทเชื่อมรอบหน้าตัดคาน อาจมีพฤติกรรมและศักยภาพในการรับแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าข้อต่อประเภท Welded Unreinforced Flanges-Bolted Web th_TH
dc.description.sponsorship ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ประจำปี 2550 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การออกแบบโครงสร้าง th_TH
dc.subject ข้อต่อ (วิศวกรรมศาสตร์) th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.subject อาคาร - - ข้อต่อ th_TH
dc.subject ไฟไนต์เอลิเมนต์ - - แบบจำลอง th_TH
dc.title การศึกษาความพร้อมองค์อาคารข้อต่อคาน-เสาเหล็กในประเทศไทยเพื่อรับแรงแผ่นดินไหว th_TH
dc.title.alternative A study of steel beam-to-column connections in Thailand for earthquake load en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2550
dc.description.abstractalternative Prior to the 1994 Northridge earthquake, structural engineers belieyed that welded steel moment – resisting frame building would provide outstanding performance in earthquake, exhibiting ductile behavior and resisting very strong ground motions Without substantial degradation of their structural capacity. However, the discovery of brittle fracture damage in many steel moment frame building after the earthquake revealed misunderstanding the ways engineers previously designed and constructed such steel structures. The research presented herein focused on investigating behavior of the beam column connection constructed by Thai practice using finite element analysis. First, the finite element (FE) model of welded unreinforced flanges-bolted web beam – column connection (ExBSplC) developed and analyzed The inelastic analysis of ExBSplC model included material nonlinearity and cyclic loading scheme were verified with an available full – scale connection tested at the University of Michigan, Guided by ExBSplC model, a new FE model repersenting a connection constructed by Thai practice with fully welded beam to columa (ExTSplC) was developed. The FE analysis of this connection was aimed to investigate behavior and potential of such a type of the beam – column connection subjected to an earthquake The analytical results of ExBSplC model showed excellent agreement with the experiment, globally and locally. The high von – Mises stress regions exceptionally matched yielding areas of the tested speciman. Based on the analytical results, ExTSplC model indicated better behavior than the US typical detailed connection during earthquake. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account