DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author ธีระ กุลสวัสดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:12:40Z
dc.date.available 2019-03-25T09:12:40Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2132
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก และ 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ จำนวน 971 คน จากมหาวิทยาลัย 5 แห่งในภาคตะวันออก เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามวัดการถ่ายทอดทางการเมืองจากครอบครัว การถ่ายทอดทางการเมืองจากสถานศึกษา การถ่ายทอดทางการเมืองจากสื่อมวลชน ความโน้มเอียงทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา จำนวน 44 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80 (student version) ในการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งอยู่ในระดับดีมาก การรณรงค์ให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง การติดตามสภาพการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง และชุมชุมทางการเมืองอยู่ในระดับน้อย 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก มีความสอดคล้องเชิงประจักษ์ดี ค่าไคสแควร์ (X2 ) เท่ากับ 53.66 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 43 ค่า X2/dfเท่ากับ1.24 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) ท่ากับ .13 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .99 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .98 ดัชนีวัดความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .99 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำบัวสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .02 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาได้ร้อยละ 52 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) การถ่ายทอดทางการเมืองจากครอบครัว (IE=.14) การถ่ายทอดทางการเมืองจากสถาบันการศึกษา (IE=.46) และการถ่ายทอดทางการเมืองจากสื่อมวลชน (IE=.26) ส่งผลทางอ้อมต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านความโน้มเอียงทางการเมือง และ 2) ความโน้มเอียงทางการเมือง (DE=1.00) ส่งผลทางตรงต่อการมีส่วนร่วมทา การเมืองของนักศึกษา The purposes of this research aim at 1) studying the level of political participation of student in the Eastern region and 2) studying factors influencing political participation of students in the Eastern region. The group samplings are derived from undergraduate students studying in sciences and social fields totally 971 people from 5 university location on the Eastern region. The research instrument is questionnaires divided into the interaction of political socialization from families, the interaction of political socialization from educational institutes and the interaction of political socialization from mass media, political orientations and the political participation of students totally 44 questions. Data were analyzed by descriptive statistics with statistical package and analyzed by LISREL 8.80 (student version) for examining the construct validity of causal relationship model. The result indicates that 1) the political level of participation on election is high. The political education campaign to people is medium. The following-up of political situation is medium. The political expression is medium. The political assembly is low. 2) the causal relationship model on political participation of students in the Eastern region is consistent to empirical data with Chi-Square (X2) = 53.66, degrees of freedom (df) =43, X2/df – 1.24 probability (p-value) = .13, Goodness of Fit Index (GFI) = .99, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = .98, Comparative Fit Index (CFI) = .99, Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) = .02, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = .02. All model variables indicated the political participation of student total 52 percents. The assumption test demonstrated that 1) the interaction among political socialization from families is (IE=.14), from educational institutes (IE=.46), from mass media (IE=.26) effecting indirectly on the political participation through the political orientations 2) the political orientations (DE=1.00) had a direct effect on the political participation of university student. th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การมีส่วนร่วมทางการเมือง th_TH
dc.subject การเมือง th_TH
dc.subject นักศึกษา - - กิจกรรมทางการเมือง th_TH
dc.subject สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 3
dc.volume 2
dc.year 2553
dc.journal วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of Politics, administration and Law
dc.page 129-159.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account