DSpace Repository

การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแรงงานต่างด้าวในเขตภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author อนามัย เทศกะทึก th
dc.contributor.author พรทิพย์ เย็นใจ th
dc.contributor.author พูนศักดิ์ ศรีประพัฒน์ th
dc.contributor.author วัลลภ ใจดี th
dc.contributor.author พัชนา ใจดี th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:10:01Z
dc.date.available 2019-03-25T09:10:01Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1969
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงในเกษตรกรที่เป็นแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาที่รับสัมผัสสารกำจัดแมลงในสวนผลไม้ เขตภาคตะวันออก จานวน 891 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ทำกลุ่มแบบ Focus group และตรวจหาเอนไซม์คลอรีนเอสเตอเรสในเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษ (Reactive paper) ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 57.7 อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 30.29 (8.48) ปี ระยะเวลาในการฉีดพ่นสารกำจัดแมลงครั้งละ 4-5 ชั่วโมง ร้อยละ 42.1 ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมในการป้องกันตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.8 การตรวจคัดกรองเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร พบว่า ส่วนใหญ่มีผลการทดสอบอยู่ในกลุ่มที่ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 16.6 มีความเสี่ยง ร้อยละ 58.5 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดจากการรับสัมผัสสารกาจัดแมลงพบว่า เพศชาย มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 1.51 (1.05, 2.19) อายุระหว่าง 40-50 ปี มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 1.74 (0.99, 3.03) เกษตรกรที่ที่ทำพื้นที่ปลูกมากกว่า 100 ไร่ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.41 (1.33, 4.40) การฉีดพ่นสารกำจัดแมลง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 3.49 (1.01, 11.99) การฉีดพ่นแบบถังสะพายหลัง มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 1.92 (1.17, 3.15) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการผิดปกติ พบว่า ปัจจัยอายุ 45-50 ปี มีผลกระทบต่อกลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.51 (1.41, 4.46) ความถี่ในการฉีดพ่นสารกำจัดแมลง 3 ครั้งต่อสัปดาห์มีผลกระทบต่อกลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง ค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.55 (1.05, 6.16) ระยะเวลาในการฉีดพ่นสารกำจัดแมลง มากกว่า 8 ชั่วโมง มีผลกระทบต่อกลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.56 (1.23, 5.32) ปัจจัยการพ่นสารกาจัดแมลงโดยใช้วิธีแบบสะพายหลัง มีผลกระทบต่อกลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 3.74 (2.16, 6.49) และ ปัจจัยระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับไม่ปลอดภัยมีผลกระทบต่อความผิดปกติที่ระบบทางเดินหายใจ OR (95% CI) เท่ากับ 2.75 (1.17, 6.44) ตามลาดับ ผลจากการสนทนากลุ่ม ได้แนวทางในการเฝ้าระวังสุขภาพจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงในแรงงานต่างด้าว การสื่อสารความเสี่ยงแก่แรงงานต่างด้าว แนวทางในการกระตุ้นนายจ้างในการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว และแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการคัดกรองสุขภาพของเกษตรกรที่เป็นแรงานต่างด้าว โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีหน้าที่เป็นผู้ผสมสารกำจัดแมลง มีจำนวนฉีดพ่นสารกำจัดแมลง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาในการฉีดพ่นมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน พ่นสารกำจัดแมลงโดยใช้วิธีแบบสะพายหลัง เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการการเจ็บป่วยเนื่องจากการใช้สารกำจัดแมลงมากขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การประเมินความเสี่ยง th_TH
dc.subject แรงงานต่างด้าว th_TH
dc.subject แมลง th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแรงงานต่างด้าวในเขตภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative Assessing of health risk and effect from insecticide exposure: Factors related among migrant workers in eastern region en
dc.type Research th_TH
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to elucidate the effect of insecticide on migrant farm workers from Cambodia after workplace exposure on fruit plantations in eastern Thailand. We studied 891 migrant workers data was collected via a detailed interview questionnaire survey, a focus group and measurements of blood cholinesterase activity using reactive paper. Most of the subjects were male (57.7%), with an average age of 30.3 years; 97% prepared and sprayed the insecticide solutions, typically 4-5 hours per day during the spraying season. Most subjects (76.8%) were moderately aware of good industrial hygiene practices. 58.5% had markedly reduced levels and were “at risk,” and 16.6% who had highest levels of cholinesterase inhibition were deemed to be in an “unsafe” range. Factors affecting the level of the blood cholinesterase enzyme from exposure to insecticide found that males with the OR (95% CI) 1.51 (1.05, 2.19), being aged 40 to 50 increased the risk of the OR (95% CI) 1.74 (0.99, 3.03), those who sprayed insecticide in a plantation area of more than 100 acres, the OR (95% CI) of 2.41 (1.33, 4.40), those spraying insecticide for three times a week, the OR (95% CI) of 3.49 (1.01, 11.99), those spraying insecticide by backpack method ,the OR (95% CI) of 1.92 (1.17, 3.15). Regarding factors that affect gastrointestinal symptoms of poisoning, being aged 45 to 50 increased the risk of developing gastrointestinal symptoms (OR) (95% CI) 2.51; 95% CI: 1.41–4.46). The frequency of spraying insecticide of three times a per week had a higher risk to the central nervous system, the OR (95% CI) of 2.55 (1.05, 6.16), the amount of time spraying insecticide over eight hours per day affected the gastrointestinal tract of the OR (95% CI) 2.56 (1.23, 5.32), spraying insecticide by using a backpack method affected xx the gastrointestinal tract with the OR (95% CI) of 3.74 (2.16, 6.49) and the level of the blood cholinesterase enzyme in an unsafe level affecting the respiratory system OR (95% CI) of 2.75 (1.17, 6.44), respectively. The results of the focus group showed that the guidelines for the health surveillance of insecticide exposure in migrant workers, the communication of risks to workers, and ways to stimulate employers and health care workers toward the development of human potential in health care workers. Consequently, it is recommended that there should be health screening of migrant workers who are involved with a mixed insecticide, sprayed insecticide >three times a week, who have sprayed more than eight hours per day, using a backpack method. Because these factors can increase the risk of illness due to insecticide exposure. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account