DSpace Repository

การศึกษาสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งจากเหง้าเร่วหอม

Show simple item record

dc.contributor.author ผาณตา วาณิชวัฒนเดชา
dc.contributor.author เอกรัฐ ศรีสุข
dc.contributor.author มธุรส พงษ์ลิขิตมงคล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:59Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:59Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1948
dc.description.abstract โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง แม้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในปัจจุบันจะมีประสิทธิภาพที่ดีแต่ก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก การนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก พืชสมุนไพรที่นำมาศึกษาในครั้งนี้คือ เร่วหอมมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Etlingera pavieana (Pierre ex Gagnep.) R.M. Sm. อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae ซึ่งพืชในวงศ์นี้หลายชนิดเคยมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ อีกทั้งสารสกัดจากเหง้าเร่วหอมเคย มีรายงานว่ามีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบด้วย ผลจากการทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าเร่วหอมและส่วนสกัดย่อยเฮกเซน เอทิลอะซิเตท และน้ำ ด้วยวิธี MTT กับเซลล์มะเร็ง 7 ชนิด (HepG2, HCT116, MCF-7, MDA-MB-231, C33A, SiHa และ Hela) เปรียบเทียบกับเซลล์ ที่ไม่ใช้มะเร็ง 2 ชนิด (293T และ HaCaT) พบว่าสารสกัดทุกชนิด (ยกเว้นส่วนสกัดย่อยน้ำ) สามารถลดการมีชีวิตรอดของเซลล์มะเร็งได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารสกัดและเวลาที่ใช้บ่ม และส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้ดีที่สุดและไม่เป็นพิษต่อเซลล์ที่ไม่ใช้มะเร็ง เมื่อนำส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทไปแยกต่อด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโตรกราฟ พบว่า sub-fraction ทั้ง 5 ชนิด (F1-F5) สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งที่ใช้ในการทดสอบได้ โดยที่ความเข้มข้นสารน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 μg/ml และเวลาในการบ่มเท่ากับ 24 ชั่วโมง sub-fraction F1 แสดงความเป็นพิษที่จำเพาะต่อเซลล์มะเร็งและไม่มีผลกระทบต่อการเจริญของเซลล์ที่ไม่ใช้มะเร็ง ซึ่งเซลล์มะเร็งที่ตอบสนองต่อ sub-fraction F1 ได้ดีที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิด C33A, เซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MDA-MB-231 และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HCT116 แสดงให้เห็นว่า sub-fraction F1 มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลากหลายกลุ่มและเหมาะสมที่จะนำไปแยกหาสารประกอบบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ยารักษามะเร็ง th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject เซลล์มะเร็ง th_TH
dc.subject เร่วหอม (พืช) -- การวิเคราะห์ th_TH
dc.subject สารสกัดจากพืช
dc.title การศึกษาสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งจากเหง้าเร่วหอม th_TH
dc.title.alternative Investigation of potential anticancer compound from Etlingera pavieana rhizome th_TH
dc.type Research en
dc.author.email panata@buu.ac.th
dc.author.email ekaruth@buu.ac.th
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative Cancer is the most common cause of death in Thai people. Although chemotherapeutic drugs can treat many types of cancer effectively, they also cause many side effects to patients. The alternative cancer treatment with potential anti-cancer products from medicinal plants is becoming of high interest. In this study, the ethanolic extract of Etlingera pavieana (Pierre ex Gagnep.) R.M. Sm. (Zingiberaceae family) and its fractions (hexane, ethyl acetate and aqueous fractions) were evaluated for their anti-cancer activity in seven different cancer cell types (HepG2, HCT116, MCF-7, MDA-MB-231, C33A, SiHa และ Hela) and compared to two non-cancerous cell lines (293T and HaCaT) by MTT assay. The results revealed that all extracts (except aqueous fraction) could reduce cell viability of cancer cells significantly in dose- and time- dependent manners and the ethyl acetate fraction exhibited the strongest inhibition on cancer cell growth without causing toxic effect to non-cancerous cell lines. Thus, the ethyl acetate fraction was then separated by column chromatography. The obtaining five sub-fractions, F1 to F5, expressed their cytotoxicity to cancer cells in which only the sub-fraction F1 at 50 μg/ml and 24 h of incubation displayed the antiproliferative capability exclusively towards cancer cells but not the non-cancerous ones. The most three cancer cells sensitive to the sub-fraction F1 were cervical cancer C33A cells, breast cancer MDA-MB-231 cells and colon cancer HCT116 cells indicating that the anticancer effect of sub-fraction F1 is not limited to single cancer cell type and this sub-fraction was thus selected for further identifying the active anticancer compounds en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account