DSpace Repository

ความสามารถเก็บกักคลอไรด์และโครงสร้างโพรงของซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าลอย

Show simple item record

dc.contributor.author ทวีชัย สำราญวานิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:53Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:53Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1857
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสามารถเก็บกักคลอไรด์ของซีเมนต์เพสต์ที่ผสมเถ้าลอยแม่เมาะและเถ้าลอยจากระยอง (เถ้าลอย BLCP Hunter และเถ้าลอย BLCP Hunter Malavan) โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนต์ประเภทที่ 1 เป็นวัสดุประสานหลัก อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ใช้เท่ากับ 0.40 และ 0.50 และอัตราส่วนการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยเท่ากับ 0.30 และ 0.50 ทำการบ่มตัวอย่างในน้ำเป็นเวลา 28 และ 91 วัน จากนั้นไปแช่ในน้ำเกลือคลอไรด์เข้มข้น 5.0% โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 91 วัน แล้วนำไปกดบีบเอาสารละลายภายในโพรงช่องว่างของซีเมนต์เพสต์ออกมาเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์ และศึกษาโครงสร้างโพรงช่องว่างของซีเมนต์เพสต์ด้วยวิธี Mercury Intrusion Porosimetry (MIP) โดยใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 และ 0.50 และอัตราส่วนการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยเท่ากับ 0.30 และ 0.50 ทำการบ่มตัวอย่างในน้ำเป็นเวลา 28 และ 91 วัน แล้วนำตัวอย่างมาวิเคราะห์เพื่อหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของโพรงช่องว่างและปริมาตรความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์เพสต์ นอกจากนี้ได้ศึกษากำลังอัดของซีเมนต์เพสต์ ที่ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 และ 0.50 และอัตราส่วนการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยเท่ากับ 0.30 และ 0.50 ทำการบ่มในน้ำเปล่าเป็นเวลา 28 และ 91 วัน จากผลการทดลองพบว่า เมื่อระยะเวลาการบ่มที่นานขึ้น ความสามารถเก็บกักคลอไรด์ของซีเมนต์เพสต์เพิ่มขึ้น แต่เมื่ออัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานและอัตราการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยมากขึ้น ส่งผลให้ความสามารถเก็บกักคลอไรด์ลดลง และเถ้าลอยที่มีความสามารถเก็บกักคลอไรด์สูงที่สุดคือ เถ้าลอย BLCP Hunter ส่วนโครงสร้างโพรงช่องว่างของซีเมนต์เพสต์พบว่า เมื่อระยะเวลาการบ่มที่นานขึ้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยและความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์เพสต์ลดลง ซีเมนต์เพลส์ที่ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานสูงขึ้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยและความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์เพสต์เพิ่มขึ้น และเมื่อใช้อัตราการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยเพิ่มขึ้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยและความพรุนทั้งหมดลดลง และเถ้าลอยที่ทำให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมีขนาดเล็กที่สุดคือ เถ้าลอย BLCP Hunter ส่วนกำลังอัดของซีเมนต์เพสต์พบว่า การใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานและอัตราการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยมากขึ้น ส่งผลให้กำลังอัดของซีเมนต์ลดลง และเมื่อระยะการบ่มนานขึ้น ทำให้กำลังอัดของซีเมนต์เพลสต์เพิ่มขึ้น สุดท้ายจากความสัมพันธ์ของผลการทดลองพบว่า เมื่อกำลังอัดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสามารถเก็บกักคลอไรด์เพิ่มขึ้น และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยและความพรุนทั้งหมดลดลง th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2557 สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คลอไรด์ th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.subject เถ้าลอย th_TH
dc.title ความสามารถเก็บกักคลอไรด์และโครงสร้างโพรงของซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าลอย th_TH
dc.title.alternative Chloride binding capacity and pore structure of cement paste with fly ash en
dc.type Research
dc.author.email twc@buu.ac.th
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative This research aims to study the chloride binding capacity of cement pastes with Mae Moh fly ash and fly ash from Rayong (BLCP Hunter fly ash and BLCP Hunter Malavan fly ash) and use Portland cement type I as main cementitious materials. The water to binder ratios were 0.40 and 0.50. The replacement ratios of fly ash to binder were 0.30 and 0.50. The specimen was cured in water for 28 and 91 days and then submerged in salt water of 5.0% chloride concentration for 91 days. After that, specimen was pressed in order to get pore solution of cement pastes to determine the chloride content. In addition, pore structure of cement pastes was investigated by Mercury Intrusion Porosimetry (MIP) method. The water to binder ratios were 0.40 0.50. The replacement ratios of fly ash to binder were 0.30 and 0.50. The specimen was cured in water for 28 and 91 days. Then, the average pore diameter and total porosity of cement paste was determined. Moreover, the compressive strength of cement pastes at water to binder ratios of 0.40 and 0.50 were investigated. The replacement ratios of fly ash to binder were 0.30 and 0.50. The specimen was cured in water for 28 and 91 days. From the experimental results, it was found that cement paste with longer curing period has higher chloride binding capacity. But cement paste with higher water to binder ratio and fly ash to results in lower chloride binding capacity. The highest chloride binding capacity of cement paste is from cement paste with BLCP Hunter fly ash. For the pore structure of cement pastes, it was found that longer curing period of cement pastes results in lower average pore diameter and total porosity. Cement pastes with higher water to binder ratio have higher average pore diameter and total porosity. When fly ash to binder ratio increases, average pore diameter and total porosity of cement paste decrease. The smallest average pore diamter of cement paste is from BLCP Hunter fly ash. For the compressive strength of cement paste, it was found that the water to binder ratio and the replacement ratio of fly ash to binder increase, the compressive strength decreases. Furthermore, when the curing period is linger, the compressive strength of cement paste increases. Finally, the relationship of experimental results showed that when the compressive strength increases, the chloride binding capacity increases and the average pore diameter and total porosity decrease en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account