DSpace Repository

สารต้านจุลชีพชนิดใหม่จากแบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อใช้ในการควบคุม มาตรฐานทางแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งและแปรรูปในจังหวัดชลบุรี.

Show simple item record

dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.author อรสา สุริยาพันธ์
dc.contributor.author วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:52Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:52Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1844
dc.description.abstract ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเรื่อง สารต้านจุลชีพชนิดใหม่จากแบคทีเรียโพรไบโอติก เพื่อใช้ในการควบคุมมาตรฐานทางแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งและแปรรูปในจังหวัดชลบุรี โดยทำการศึกษา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 คือการศึกษาถึงความสามารถของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ผลิตได้จากแบคทีเรียโพรไบโอติก Bacillus spp. ทั้งสายพันธุ์ (Bacillus subtilis, B. polymyxa, B. thuringiensis, B. megaterium และ B. licheniformis) ในรูปของส่วนใสเข้มข้นและสารกึ่งบริสุทธิ์ในการลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในตัวอย่างหมึกแห้งและแบคทีเรียก่อโรคได้ โดยพบว่าสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากแบคทีเรียโพรไบโอติก B. licheniformis ในรูปของสารกึ่งบริสุทธิ์ (PBL) มีประสิทธิภาพในการลดแบคทีเรียก่อโรค 4 ชนิด (Salmonella typhimurium, Escherichia coli, Bacillus cereus และ Staphylococcus sureus) ได้ดีที่สุด และดีกว่าไนซินและกรดแลคติก และทำการศึกษาต่อเนื่องถึงการศึกษาผลของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากแบคทีเรียโพรไบโอติกต่อแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดในผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูปและลักษณะทางเคมีและกายภาพ โดยเติมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพลงบนตัวอย่างหมึกแปรรูปในขั้นตอนหลังเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต ผลการศึกษาพบว่าในชุดการทดลองที่เติมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ PBL, ไนซินและกรดแลคติก พบปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดค่อนข้างคงที่ตลอดการเก็บรัก๋่ 28 วัน ในขณะที่ชุดควบคุมพบว่าปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาในการเก็บรักษา ส่วนลักษณะทางเคมีและกายภาพของตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูปทุกชุดการทดลองมีค่าที่ใกล้เคียงกัน และขั้นตอนสุดท้ายคือการศึกษาถึงคุณสมบัติของแบคทีเรียโพรไบโอติกทั้ง 5 สายพันธุ์ คือการศึกษาการดื้อยาปฏิชีวนะทั้ง 5 ชนิด (Ampicilln, Chloramphenicol, Gentamicin, Imipenem และ Tetracycline) ของแบคทีเรียโพรไบโอติก ทั้ง 5 สายพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า แบคทีเรียทั้งหมดไม่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมา และดำเนินการศึกษาถึงฤทธิ์ทางเมแทบอลิกโดยทดสอบความสามารถในกิจกรรมของเอนไซม์ไฮโดรเลสในการย่อยเกลือน้ำดีของแบคทีเรียโพรไบโอติกทั้ง 5 สายพันธุ์ พบว่าแบคทีเรียโพรไบโอติกทั้ง 5 สายพันธุ์ แสดงกิจกรรมของเอนไซม์ไฮโดรเลสในการย่อยเกลือน้ำดีในระดับที่ไม่มีกิจกรรมจนถึงมีการแสดงกิจกรรมในระดับต่ำ ส่วนการวิเคราะห์ฤทธิ์ทางฮีโมไลติกของแบคทีเรียโพรไบโอติกทั้ง 5 สายพันธุ์ พบว่าผลการศึกษาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับเลือดที่นำมาใช้ในการทดสอบ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject บาซิลลัส th_TH
dc.subject ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล th_TH
dc.subject โพรไบโอติก th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title สารต้านจุลชีพชนิดใหม่จากแบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อใช้ในการควบคุม มาตรฐานทางแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งและแปรรูปในจังหวัดชลบุรี. th_TH
dc.title.alternative Novel antimicrobial agents from bacterial probiotics for controlling bacterial standard of dried and processed seafood products in Chon Buri Province en
dc.type Research
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative In this study, novel antimicrobial agents from bacterial probiotics for controlling bacterial standard of dried and processed seafood products in Chon Buri Province were studied. There were three steps of experiment. In the first step, the efficiency of bioactive compounds produced from 5 species of Bacillus Probiotic bacteria (Bacillus subtilis, B. polymyxa, B. thuringiensis, B. megaterium and B. licheniformis) in forms of concentrated supernatant and partial purification for reducing total heterotrophic bacteria and pathogenic bacteria in dried squid products was studied. The result revealed that bioactive compounds from B. licheniformis in form of partial purification showed the highest capability for inhibitory of 4 pathogenic bacteria (Salmonella typhimurium, Escherichia coli, Bacillus cereus and Staphylococcus aureus) better than nisin and lactic acid. The next step, the effect of bioactive compounds from probiotic bacteria on total heterotrophic bacteria, chemical and physical characteristics in dried squid products was evaluated. The tested bioactive compounds were applied to the sample at the post-production process. The obtained results showed that total heterotrophic bacteria in treatments with PBL, nisin and lactic acid were relatively constant along the experiment (28 days) while the total heterotrophic bacteria in the controls trended to increase all along the experimental period. The chemical and physical characteristics of dried squid products in all treatments were in the similar fashion. In the last steep, the properties of 5 species of probiotic bacteria on resistant to 5 types of antibiotics (Ampicillin, Chloramphenicol, Gentamicin, Imipenem and Tetracycline) were performed. Results represented that all of probiotic bacteria were not resistant to the tested antibiotics. Then the effect of metabolic activity in the aspect of their ability for the activity of hydrolase enzyme in order to hydrolyze bile salt of 5 species of probiotic bacteria was assayed. Results showed that all tested probiotic bacteria presented none to low activity of tested enzyme. For haemolytic activity of probiotic bacteria, the results varied, depending on type of blood used in the experiment. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account