DSpace Repository

การเตรียมและศึกษาลักษณะเฉพาะของฟิล์มบางวานาเดียมไนไตรด์ที่เคลือบด้วยเทคนิครีแอกทีฟแมกนีตรอนสปัตเตอริง

Show simple item record

dc.contributor.author สุรสิงห์ ไชยคุณ th
dc.contributor.author นิรันดร์ วิทิตอนันต์ th
dc.contributor.author อดิศร บูรณวงศ์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:52Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:52Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1836
dc.description.abstract ฟิล์มบางวาเนเดียมไนไตรด์ (VN) เคลือบบนกระจกสไลด์และแผ่นซิลิกอน ด้วยวิธีรีแอคทีฟแมกนีตรอนสปัตเตอริง เพื่อศึกษาผลของอัตราไหลแก๊สไนโตรเจนและกระแสไฟฟ้าต่อโครงสร้างฟิล์ม ลักษณะเฉพาะของฟิล์มที่เคลือบได้ศึกษาด้วยเทคนิค XRD, AFM, EDS และ FE-SEM ผลการศึกษาพบว่าฟิล์มที่เคลือบได้มีโครงสร้างผลึกแบบเฟซเซนเตอร์คิวบิค (fcc) ที่ระนาบ (111), (200), (220) และ (311) ตามฐานข้อมูล JCPDS เลขที่ 89-5265 โครงสร้างของฟิล์มที่เคลือบได้แปรตามอัตราไหลแก๊สไนโตรเจนและกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในกระบวนการเคลือบ โดย (1) กรณีแปรค่าอัตราไหลแก๊สไนโตรเจน ขนาดผลึกมีค่าลดลงจาก 77 nm เป็น 47 nm เมื่อเพิ่มอัตราไหลแก๊สไนโตรเจน ส่วนความหนาและความหยาบผิวมีค่าลดลงจาก 1415 nm เป็น 859 nm และ 26 nm เป็น 12 nm ตามลำดับ โดยค่าคงที่แลตทิซมีค่าในช่วง 4.107 – 4.127 Å ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ภาคตัดขวางแสดงให้เห็นว่าฟิล์มมีโครงสร้างแบบคอลัมนาร์และมีลักษณะแน่นมากขึ้นตามอัตราไหลแก๊สไนโตรเจน ฟิล์มที่เคลือบได้มีวาเนเดียมและไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในอัตราส่วนต่าง ๆ แปรค่าตามอัตราไหลแก๊สไนโตรเจน และ (2) กรณีแปรค่ากระแสไฟฟ้า ขนาดผลึกมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 58 nm เป็น 76 nm เมื่อเพิ่มกระแสไฟฟ้า ส่วนความหนาฟิล์มมีค่าเพิ่มขึ้น จาก 443 nm เป็น 1415 nm ขณะที่ความหยาบผิวมีค่าลดลงจาก และ 26 nm เป็น 12 nm โดยค่าคงที่แลตทิซมีค่าในช่วง 4.107 – 4.118 Å ผลการวิเคราะห์ภาคตัดขวางแสดงให้เห็นว่าฟิล์มมีโครงสร้างแบบคอลัมนาร์ ฟิล์มที่เคลือบได้มีวาเนเดียมและไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในอัตราส่วนต่าง ๆ แปรค่าตามกระแสไฟฟ้า th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ 2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กระแสไฟฟ้า th_TH
dc.subject ฟิล์มบาง th_TH
dc.subject รีแอคทีฟสปัตเตอริง th_TH
dc.subject วาเนเดียมไนไตรด์ th_TH
dc.subject อัตราไหลแก๊สไนโตรเจน th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ th_TH
dc.title การเตรียมและศึกษาลักษณะเฉพาะของฟิล์มบางวานาเดียมไนไตรด์ที่เคลือบด้วยเทคนิครีแอกทีฟแมกนีตรอนสปัตเตอริง th_TH
dc.title.alternative Preparation and characterization of vanadium nitride thin film deposited by reactive magnetron sputtering technique en
dc.type Research th_TH
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative Vanadium nitride (VN) thin films were deposited on glass slide and silicon by reactive magnetron sputtering method. The effect of the N2 gas flow rate and the current on the films’ structure was investigated. The as-deposited films were characterized by XRD, AFM, EDS and FE-SEM. The results showed that the crystallite structure of the as-deposited films was face center cubic (fcc) with (111), (200), (220) and (311) plane with corresponding to JCPDS No. 89-5265. The structure of the as-deposited films varied with the N2 gas flow rates and the current. (1) In case of varied the N2 gas flow rate, the crystal size and thickness decreased from 77 nm to 47 nm. The thickness and roughness decreased from 1415 nm to 859 nm and 26 nm to 12 nm, respectively, with increasing N2 gas flow rates. The lattice constant was in range of 4.107 – 4.127 Å. The cross section analysis showed compact columnar and dense morphology as a result of increasing the N2 gas flow rates. The as-deposited films compose of vanadium and nitrogen in difference ratio, which varied with the N2 gas flow rate. (2) In case of varied the current, the crystal size increased 58 nm to 76 nm. The thickness increased from 443 nm to 1415 nm, while roughness decreased from 26 nm to 12 nm, respectively, with increasing the current. The lattice constant was in range of 4.107 – 4.118 Å. The cross section analysis showed compact columnar. The as-deposited films compose of vanadium and nitrogen in difference ratio, which varied with the N2 gas flow rate. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account