DSpace Repository

ผลของการเกิดสนิมในเหล็กเสริมต่อพฤติกรรมการรับแรงของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ก่อสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล

Show simple item record

dc.contributor.author อานนท์ วงษ์แก้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:36Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:36Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1723
dc.description.abstract ปัญหาสำคัญอันหนึ่งของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ก่อสร้างใกล้บริเวณชายฝั่งทะเล คือการเกิดสนิมในเหล็กเสริม กระบวนการเกิดสนิมนี้เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างเหล็กเสริมกับไอทะเลซึ่งสารประกอบคลอไรด์ ขณะที่เหล็กเสริมเกิดสนิมจะเกิดอาการบวมและดันให้คอนกรีตที่ผิวเกิดรอย แตกร้าวและในที่สุดเกิดการหลุดร่อน ทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังของโครงสร้างประเภทนั้น ๆ ไป วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อศึกษากำลังรับแรงดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) เมื่อเหล็กเสริมหลักและเหล็กปลอกเกิดสนิม 2) เพื่อเปรียบเทียบกำลังรับแรงดัดของคานใน สภาวะแวดล้อมเกลือคลอไรด์ เทียบกับในสภาวะแวดล้อมปกติ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกำลังรับแรงดัดที่ได้จากการทดสอบและการคำนวณ ตัวอย่างคาน ค.ส.ล. ที่ใช้ในการทดลองเป็นคานช่วงเดียวจำนวน 3 ชุด ชุดแรกมีขนาดหน้าตัด 150x250 มิลลิเมตร ยาว 1200 มิลลิเมตร ชุดสองขนาดหน้าตัด 200x400 มิลลิเมตร ยาว 2400 มิลลิเมตร ชุดสามขนาดหน้าตัด 250x500 มิลลิเมตร ยาว 2400 มิลลิเมตร เมื่อผ่านกระบวนการเร่งปฏิกิริยาสนิมจนน้ำหนักของเหล็กเสริมในคานลดลงถึงค่าที่กำหนดไว้ 3 ระดับคือระดับต่ำ ระดับปานกลาง และระดับรุนแรง โดยใช้น้ำหนักเหล็กเสริมที่สูญเสียไป 15% 30% และ 50% ของน้ำหนักเหล็กเสริมเริ่มต้นเป็นตัวกำหนดความเสียหายตามลำดับ ทำการทดสอบกำลังรับแรงดัดของคานเปรียบเทียบระหว่างคานที่เหล็กเสริมเกิดสนิมเนื่องจากกระบวนการเร่งปฏิกิริยาสนิมกับคานที่ไม่ได้ ผ่านกระบวนการเร่งปฏิกิริยาสนิม (คานควบคุม) ผลการทดสอบพบว่าคาน ค.ส.ล. ที่สูญเสียเหล็กเสริม เนื่องจากการเร่งปฎิกิริยาสนิมจะมีกำลังรับแรงดัดลดลงขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียเหล็กเสริมที่เกิดใน เหล็กเสริม เมื่อเหล็กเสริมเกิดสนิมมากขึ้นกำลังรับแรงดัดของคานจะลดลงมากขึ้นด้วย สำหรับคานชุดที่ 1 (หน้าตัดขนาดเล็ก) พฤติกรรมการวิบัติของคาน ค.ส.ล. ที่เหล็กเสริมเกิดสนิมไม่แตกต่างจากคานควบคุม ซึ่งยังคงแสดงพฤติกรรมการวิบัติแบบเหนียว อย่างไรก็ตามสำหรับคานหน้าตัดใหญ่ขึ้น (ชุด2 และชุด3) เมื่อเหล็กเสริมเกิดสนิมในระดับปานกลางถึงรุนแรงจะแสดงพฤติกรรมการพังแบบเปราะเมื่อรับแรง และมี ระยะการแอ่นตัวลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับคานควบคุม นอกจากนี้ลักษณะรอยร้าวที่เกิดขึ้นกับคานที่ เหล็กเสริมเกิดสนิมในระดับปานกลางและสูงมีขนาดใหญ่และกว้างมากกว่าคานที่เหล็กเสริมเกิดสนิมใน ระดับต่ำ ค่ากำลังรับโมเมนต์ของหน้าตัดคานที่ได้จากการทดสอบมีค่ามากกว่าค่าโมเมนต์ระบุที่ได้จากการ คำนวณด้วยสมการตาม ACI-318 ประมาณ 30% ถึง 56% ยกเว้นคาน B2E50 th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คอนกรีตเสริมเหล็ก th_TH
dc.subject เหล็ก th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title ผลของการเกิดสนิมในเหล็กเสริมต่อพฤติกรรมการรับแรงของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ก่อสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล th_TH
dc.title.alternative The effects of corrosion on the performance of reinforced concrete beams constructed in the coastal area. en
dc.type Research
dc.year 2558


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account