DSpace Repository

คุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป : ภาคตะวันออก.

Show simple item record

dc.contributor.author สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ.
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:53Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:53Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/163
dc.description.abstract งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปที่ผ่านการอบรมหลัดสูตรเฉพาะทาง ระยะสั้น 4 เดือน ทำการศึกษาในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ 4 แห่ง ในจังหวัดชลบุรี และฉะเชิงเทรา สุ่มจังหวัดละ 1 อำเภอ อำเภอละ 2 หน่วยบริการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บังคับบัญชา 4 คน ผู้ร่วมงาน 2 คน พยาบาลเวชปฏิบัติ 6 คน และประชาชนผู้ใช้บริการจากพยาบาลเวชปฏิบัติจำนวน 20 คน ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตามกรอบโครงสร้างที่กำหนดไว้คร่าว ๆ และศึกษาเนื้อหาและคุณภาพการบันทุกรายงานการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป จำนวน 13 รายการ เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นโดยคณะทำงานประเมินผลการจัดการหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (descriptive ststistics) ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปได้ปฏิบัติหน้าที่การตรวจรักษาโรคทั่วไปที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชุมชน ศูนย์แพทย์ชุมชนและสถานีอนามัย งานคลินิกผู้สูงอายุ คลินิกโรคเรื้อรัง การตรวจรักษาโรคนอกเวลาราชการ การคัดกรองก่อนพบแพทย์ การเยี่ยมบ้านผู้ใช้บริการ งานดูแลสุขภาพชุมชน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คุณภาพการให้บริการในด้านการใช้ความรู้ ความสามารถ การสื่อสารในการให้บริการ ลักษณะพฤติกรรมการบริการ การทำงานกับผู้ร่วมงาน การบันทึกกิจกรรมการให้บริการ มีลักษณะที่ดีขึ้นมากกว่าก่อนการไปรับการอบรม ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากถึงมาที่สุดในด้าน การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การรักษาโรค ความสุภาพ เป็นมิตรการให้คำปรึกษาแนะนำและตอบข้อซักถาม ความรวดเร็วถูกต้องในการให้บริการ ส่วนความพึงพอใจในการติดตามหลังการรักษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย สาระและคุณภาพการบันทึกการบริการรักษาโรคเบื้องต้นของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป มีรายละเอียดของการบันทึกในระดับน้อย The purpose of this qualitative research was to study the opinions of nurse practitions (N.P.) who graduated from short training courses (four months) about quality health care services, The participants consisted of four directors, two peer staffs, six nurse practitioner, and 20 clients, that represent four primary care units in two provinces in the eastern region of Thailand.Two provinces were selected by simple random sampling, Chonburi Province, and Chachoengsao Province, one sub-district. In-depth interview, observation technique, structural interview, and thirteen client's recorded reviews were used for data collection by the researcher and assistants. Reflection technique was used to validate the data. The data was analyzed by content analysis technique, and computerizefor descriptive statistics. The results of the study were as follows: Nurse practitioners were working at out patients departments in community hospitals, community medical units, and community health centers, in elderly clinics, chronic illness clinics, out of office time service, case screenings, client home visits, community health cares, and pap smear clinics. The quality of N.P. service concerning potency, communication, service behavior, work with health teams, and data recoded were better than before traning. The clients' satisfaction was in high and highest level, regarding taking illness history, physical examination, politeness, friendliness when giving consultation or information, rapidness and correction of service. However, the satisfaction of follow up treatment was low level. The quality and content of recode was low level. Nurse practitioner services supporting as policy for development, service system, specific room for service, reinforcement, appropriate number of staff, supporting instruments, and receptive from directors, peer staff, and clients. The nurse practitioner development issue was in use and interpreted laboratory results, data utilization and analyzing, research potency, and potency of continuing care. th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนทุนวิจัยโดย สภาการพยาบาล 2554 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject basic medical care th_TH
dc.subject general nurse practitioner th_TH
dc.subject quality of nursing service th_TH
dc.subject การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป th_TH
dc.subject การรักษาโรค th_TH
dc.subject การรักษาโรคเบื้องต้น th_TH
dc.subject คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล th_TH
dc.subject พยาบาลเวชปฏิบัติ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title คุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป : ภาคตะวันออก. th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2554


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account