DSpace Repository

การศึกษาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด โดยเครื่องมือชนิด อีคิวเอ็ม เทสต์คิต ในกลุ่มเกษตรกร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author อนามัย ธีรวิโรจน์
dc.contributor.author จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:53Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:53Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/158
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของข้อมูลทั่วไป และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการสัมผัสศัตรูพืช กับอาการเจ็บป่วยจากการใช้สารปราบศัตรูพืช ของเกษตรกรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เกษตรกร จำนวน 129 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ และเจาะเลือดตรวจหาระดับเอาไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร โดยเครื่องมือคิวเอ็ม เทสต์คิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าไควสแคว์ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ย 47.74 ปี การศึกษาอยู่ในระดับ ป.1-ป.6 106 คน (82.2%) ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่ 73 คน (56.6%) และ 110 คน (85.3) ส่วนใหญ่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลประเภทต่างๆ ขณะผสมสารหรือใช้สารปราบศัตรูพืช 55 คน (70.5%) โดยนิยมสมหน้ากาก ถุงมือ เสื้อคลุม รองเท้า และหมวกตลอดเวลาที่ทำงาน ส่วนแว่นตาจะสวมเพียง ¼ วัน ผลการตรวจวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด 51 คน (41.1%) มีระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อย ในด้านการหาความสัมพันธ์นั้น พบว่าลักษณะของข้อมูลทั่วไปมีเพียงเพศเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ต่อการสวมเสื้อผ้าและรองเท้าที่ทำงานแยกจากเสื้อผ้าและรองเท้าที่ใช้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P-value ช 0.003 และ P-value = 0.025) นอกจากนั้นพบว่าการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด (P-value = 0.017) ระดับแอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกรนั้นมีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยในปัจจุบันที่ปอด (P-value = 0.020) แต่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยอื่นๆภายในร่างกาย ผลการควบคุมคุณภาพเครื่องมือชนิดอีคิวเอ็ม เทสต์คิต พบว่าระดับอุณหภูมิของบรรยากาศในภาคสนามและในห้องปฏิบัติการมีความแตกต่างกัน (P-value = 0.000) แต่ผลการตรวจวัดระดับเอาไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (P-value = 0.743) การศึกษาในครั้งนี้สามารถนำผลการศึกษาไปประเมินความเสี่ยงความเป็นพิษจากสารปราบศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ต่างๆ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อป้องกันอันตรายจากสารปราบศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตต่อไป สัมพันธ์ต่ออาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ภายในร่างกาย ผลการควบคุมคุณภาพเครื่องมือชนิดอีคิวเอ้มเทสต์คิต พบว่าระดับอุณหภูมิของบรรยากาศในภาคสนามและในห้องปฏิบัติการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P-value = 0.000) แต่ผลการตรวจวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P-value = 0.743) การศึกษาในครั้งนี้สามารถนำผลการศึกษาไปประเมินความเสี่ยงความเป็นพิษจากสารปราบศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อป้องกันอันตรายจากสารปราบศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตต่อไป th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เอนไซม์ - - การวิเคราะห์ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การศึกษาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด โดยเครื่องมือชนิด อีคิวเอ็ม เทสต์คิต ในกลุ่มเกษตรกร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative The study on blood plasma cholinesterase level by EQM Test Kit in agricultural workers in Amphur Muang Chonburi province en
dc.type Research
dc.year 2542
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to determine the relationship between population characteristics and behavior related to pesticides application and current illness and plasma cholinesterase level among agricultural workers in Amphur Muangm Chonburi. 129 subjects were interviewed and blood specimens were collected to determine plasma cholinesterase levels using EQM test kit. The majority of the workers were female with the average age of 47.74 years old. Education level was mostly primary school. 82.2% did not drink alcohol and 56.6% did not smoke. Most subjects 70.5% used masks, gloves, work clothes, shoe and caps while applying pesticide. Goggles were used ¼ of the day. 41.1% of blood specimens had plasma cholinesterase below normal range. The result revealed that sex was related to the separation of work clothes and work shoes, from other clothes and shoes (P-value = 0.003 and P-value = 0.025 at 95% CI), smoking and plasma cholinesterase (P-value = 0.017), lung diseases and plasma cholinesterase (P-value = 0.020). The result also revealed that air temperature difference between field and laboratory environment had no effect on the precision of the test kit (P-value = 0.743). In conclusion, the kit can be used for field screening of organophosphate and carbamate toxicity. Confidence interval). Others were not related to blood plasma cholinesterase level. There was a difference in temperature while testing in the field and in the laboratory (P-value = 0.000) ; however, the level of the workers, blood plasma cholinesterase were non-significantly different (95% confidence interval ; p = 0.743). This study indicates that the high risk from pesticide poisoning of agricultural workers, is occurring in Amphur Muang Chonburi there is the need for primary prevention programs of organophosphate and carbamate pesticides. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account