DSpace Repository

ผลของพิษท้องร่วงจากอาหารทะเลต่อกระบวนการสร้างความจำ

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:14Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:14Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1588
dc.description.abstract กรดโอคาดาอิด คือสารพิษที่สะสมอยู่ในสัตว์ทะเลชนิดมีเปลือก เป็นสาเหตุของพิษท้องร่วงจากอาหารทะเลในคน มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซน์ฟอสฟาเทส ชนิด 1A และ 2A มีการรายงานว่าการให้กรดโอคาดาอิก เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ hyperphosphorylation ของโปรตีน tau ส่งผลให้สัตวืทดลองสูญเสียความจำในภาวะปรกติฮอร์โมนเอสโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมกระบวนการสรา้งความจำของเซลล์ประสาท เป็นไปได้หรือไม่ว่ากรดฌอคาดาอิกทำให้ความจำและการเรียนรู้ลดลงอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ฮอร์โมนเอสโตรเจนของเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสและเป็นสาเหตุของภาวะการสูญเสียความจำ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลของกรดโอคาดาอิกโดยใช้เซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง H19-7 hippocampaส นำมาบ่มด้วยกรดโอคาดาอกที่ความเข้มข้นและเวลาต่างกันเพื่อศึกษาความเป้นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงด้วยวิธี MTT assay ศึกษาการแสดงออกของ synaptic genes ด้วยวิธี real -time PCR และศึกษาปริมาณของเอสโตรเจนด้วยวิธี ELISA ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการบ่มด้วยกรดโอคาดาอิกที่ความเข้มข้นสูง (0.1 และ uM) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ลดอัตราการมีชีวิตของเซลล์เพาะเลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และเมื่อบ่มด้วยกรดโอคาดาอิกที่ความเข้มข้นต่ำ (0.01 uM) อัตราการมีชีวิตของเซลล์เพาะเลี้ยงลดลงเมื่อบ่มเป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยมีค่าร้อยละของการมีชีวิตประมาณ 70 และคงที่ไปถึง 120 ชั่วโมง นอกจากนี้การให้กรดโอคาดาอิก เป็นเวลา 24 และ 96 ชั่วโมงลดการแสดงออกของยีน NR2 และ PSD-95 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมตามลำดับ และเป็นการลดลงแบบขึ้นกับเวลา การให้กรดโอคาดาอิกส่งเป็นเวลา 120 ชั่วโมง มีแนวโน้มลดปริมาณของเอสโตรเจนที่สังเคราะห์จากเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง H19-7 จากผลการทดลองของงานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า กรดโอคาดดอิกมีการลดการแสดงออกของ synaptic gene (NR2 และ PSD-95) ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดยสำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษา และพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject อาหารทะเล
dc.subject การปนเปื้อนในอาหาร
dc.title ผลของพิษท้องร่วงจากอาหารทะเลต่อกระบวนการสร้างความจำ th_TH
dc.type งานวิจัย th_TH
dc.author.email siripornc@buu.ac.th
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative Okadaic acid (OA), a naturallt occuring marine toxin, causes diarrhetic shellfish poison (DSP) in human. OA is an inhibitor of protein phosphatase 1A. Previous study showed that OA induced tau hyperphosphorylation, leading to loss of learning and memory. Normally, estrogen has an important role on an enhancement of memory formation. It is probable that OA-induced memory loss may associate with estrogen synthesis in hippocampal neurons. By using H19-7 hippocampal neuron, the effect of concentration and incubation time of OA on cell viability was studied by MTT assay. The synaptic genes expression was study by real-time PCR. The secretion of estrogen was measured by ELISA. The result showed that the incubation of OA at hidh concentration (0.1 and 1 uM) for 24 h significant decreased the viability of cellcompared with be the control. After 48 h treatment, 0.01 uM OA significantly decreased cell viability. The decrease of cell viability is approximately 70% at 78 h and remainstable until 120 h. Moreover, OA treatment decreased the expression of NR2 and PSD-95 genes at 24 and 92 h, respectively. Finally, treatment of OA tented to decrease the estrogen secretion but was not statistically significant. The present study concluded that OA decreased synaptic gene expression, which may cause of memory loss en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account