DSpace Repository

ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และอุตสาหกรรมสัมพันธ์

Show simple item record

dc.contributor.author วรรณวิชนี ถนอมชาติ
dc.contributor.author วรรณภา วิจิตรจรรยา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:31Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:31Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1381
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และอุตสาหกรรมสัมพันธ์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความคาดหวังจากการศึกษาต่อในหลักสูตรฯ และเพื่อสำรวจความคิดเห็นภายใต้กรอบทรัพยากรสำคัญขององค์การ (VRIO framework) ๔ ด้าน ได้แก่ คุณค่า (Value) ความหายาก (Rareness) ความสามารถในการลอกเลียนแบบ (Imitability) และทรัพยากรในองค์การ (Organization) โดยเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed methods research) ซึ่งใช้เทคนิควิธีการวิจัยที่ผสมผสานร่วมกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบกับการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปีที่สี่ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว หมาวิทยาลัยบูรพา และผู้ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ถูกเลือกแบบกำหนดโควตา (Quota sampling) จำนวน ๓๘๔ คน ประกอบด้วย บุคคลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน ๒๘๖ คน ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๔ จำนวน ๙๑ คน และผู้สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี จำนวน ๘ คน ทั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ คน ซึ่งถูกเลือกโดยการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Purposive sampling) ผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจที่จะศึกษาต่อในหลักสูตรฯ มีจำนวนมากถึง ร้อยละ ๖๐.๕๐ ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ผู้ให้ความสนใจในหลักสูตรฯ ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๒๐-๒๕ ปี รองลงมามีอายุประมาณ ๒๖-๓๐ ปี อายุ ๓๑-๓๕ ปี และอายุมากกว่า ๓๕ ปี ตามลำดับ ทั้งนี้ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจในหลักสูตรฯ เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ นิสิตชั้นปีที่ ๔ พนักงานบริษัท ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ ตามลำดับ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า สาเหตุอันดับแรกที่ผู้ตอบแบบสอบถามไม่สนใจที่จะศึกษาต่อในหลักสูตรฯ เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง รองลงมาคือไม่สะดวกต่อการเดินทาง และเวลาไม่เอื้ออำนวย ตามลำดับ ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ท่าน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างภายใต้กรอบแนวคิดทรัพยากรสำคัญขององค์การ (VRIO framework) พบว่า หลักสูตรมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งและยังไม่พบว่ามีการเปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยแห่งใดภายในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หลักสูตรฯ ควรสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับแรงงานหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกันในลักษณะการบูรณาการภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ ตลอดจนสนับสนุนให้บุคคลากรทำวิจัย และศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมุ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยอาศัยเครือข่ายของศิษย์เก่าและดึงดูดประธานสหภาพแรงงานในองค์การต่างๆ เข้ามาเรียนในหลักสูตรฯ ด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อสร้างการบอกต่อกลุ่มเป้าหมายอื่นต่อไป ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยมีความสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือ หลักสูตรฯ ควรมีความเฉพาะเจาะจงและลงลึกในศาสตร์เฉพาะด้านทางด้านทรัพยากรมนุษย์และแรงงานสัมพันธ์ และควรมีการทำความร่วมมือกับองค์การของรัฐที่มีบทบาทสำคัญทางด้านแรงงาน ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรภายในหลักสูตร ดำเนินการศึกษาวิจัยในศาสตร์เฉพาะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสนับสนุนให้บุคลากรภายในศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกในสาขาที่เกี่ยวข้องโดยตรงควบคู่ไปกับกระบวนการสรรหาและคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตรงตามตำแหน่งงาน ควรพิจารณาปรับโครงสร้างและการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นหลักสูตรระยะสั้นโดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะให้กับบุคากรที่ทำงานทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแรงงานสัมพันธ์ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การศึกษาต่อ th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และอุตสาหกรรมสัมพันธ์ th_TH
dc.title.alternative Master of Science in Human Resource Management and Industrial Relation
dc.type Research
dc.year 2556


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account