DSpace Repository

ปริมาณคลอไรด์วิกฤตในคอนกรีตสำหรับการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริม(รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ปีที่ 1)

Show simple item record

dc.contributor.author ทวีชัย สำราญวานิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:25Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:25Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1299
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง ปริมาณคลอไรด์วิกฤตในคอนกรีตสำหรับการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริม มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปริมาณคลอไรด์วิกฤติของคอนกรีตผสมเถ้าลอย ตะกรันเตาถลุงเหล็กและผงหินปูนที่ทำให้เหล้กเสริมในคอนกรีตเริมเกิดสนิม 2. เพื่อศึกษาปริมาณเถ้าลอย ตะกรันเตาถลุงเหล็ก และผงหินปูนที่ผสมเพิ่มในคอนกรีตที่ทำให้ระยะเวลาการเกิดสนิมของเหล็กในคอนกรีตนานขึ้น ขอบเขตของงานวิจัย ศึกษาปริมาณคลอไรด์ของคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลด์ประเภทที่ 1 ประเภทที่ 3 ประเภทที่ 5 และใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแสนด์ประเภทที่ 1 ใช้อัตราส่วนแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยร้อยละ 30 และ 50 โดยน้ำหนัก และใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ใช้อัตราส่วนแทนที่ด้วยวัสดุประสานด้วยตะกรันเตาถลุงเหล็ก ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก ใช้เวลาในการบ่มคอนกรีต 7, 28 และ 56 วัน อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน ร้อยละ 40, 50 และ 60 จากการศึกษาปริมาณคลอไรด์วิกฤตของคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ประเภทที่ 3 ประเภทที่ 5 และมีการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอย ตะกรันเตาถลุงเหล็ก และผงหินปูนอัตราส่วนน้ำต่อต่อวัสดุประสาน 0.40 0.50 และ 0.60 ระยะเวลาการบ่อมน้ำ 7 28 และ 56 วัน สามารถสรุปผลปริมาณคลอไรด์วิกฤตของคอนกรีตประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ ระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต 1. เมื่อใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่สูงขึ้นจาก 0.40 ไปเป็น 0.50 และ 0.60 ทำให้ระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมสั้นลง 2. เมื่อเปรียบเทียบปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 3 และ 5 พบว่าระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของปูนซีเมนต์ประเภทที่ 3 มีระยะการเกิดสนิมที่นานกว่าปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 และ 5 (อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.50 และ 0.60) 3. เมื่อใช้ระยะเวลาการบ่มที่นานขึ้น ทำให้ระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมนานขึ้น และการบ่มในวัฏจักรเปียกตลิด มีระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมที่นานกว่าการบ่มในวัฏจักรเปียกสลับแห้ง 4. การแทนที่เถ้าลอยต่อวัสดุประสาน ร้อยละ 30 มีระยะเวลาการเกิดสนิมนานกว่าการแทนที่เถ้าลอยต่อวัสดุประสาน ร่อยละ 50 5. การแทนที่ตกรันเตาถลุงเหล็กต่อวัสดุประสานร้อยละ 20 มีระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมนานกว่าคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วน ปริมาณคลอไรด์วิกฤตของคอนกรีต 1. เมื่อใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่สูงขึ้นจาก 0.40 ไปเป็น 0.50 และ 0.60 ทำให้ปริมาณคลอไรด์วิกฤต มีค่าน้อยลง 2. เมื่อเปรียบเทียบปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 3 และ 5 พบว่าปริมาณคลอไรด์วิกฤตของปูนซีเมนต์ประเภทที่ 3 มีค่ามากกว่าปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 และ 5 (อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.50 และ 0.60) 3. เมื่อใช้ระยะเวลาการบ่มที่นานขึ้น ทำให้ปริมาณคลอไรด์วิกฤตมีค่าสูงขึ้น และการบ่มในวัฏจักรเปียกตลอด มีปริมาณคลอไรด์วิกฤตมากกว่าการบ่มในวักจักรเปียกสลับแห้ง 4. การแทนที่เถ้าลอยต่อวัสดุประสาน ร้อยละ 30 มีค่าปริมาณคลอไรด์วิกฤตมากกว่าการแทนที่เถ้าลอยต่อวัสดุประสาน ร้อยละ 50 5. การแทนที่ตะกรันเตาถลุงเหล็กต่อวัสดุประสานร้อยละ 20 มีค่าปริมาณคลอไรด์วิกฤตมากกว่าคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วน กำลังรับแรงอัดคอนกรีต 1. เมื่อใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่สูงขึ้นจาก 0.40 ไปเป็น 0.50 และ 0.60 ทำให้กำลังอัดมีค่าต่ำลง 2. เมื่อเปรียบเทียบปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 3 และ 5 พบว่ากำลังอัดของปูนซีเมนต์ประเภทที่ 3 มีค่ามากกว่าปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 และ 5 3. เมื่อใช้ระยะเวลาการบ่มที่นานขึ้น ทำให้กำลังอัดมีค่ามากสูงขึ้น และการแทนที่เถ้าลอยต่อวัสดุประสาน ร้อยละ 30 มีกำลังอัดมากกว่าการแทนที่เถ้าลอยต่อวัสดุประสาน ร้อยละ 50 4. การแทนที่ตะกรันเตาถลุงเหล็กต่อวัสดุประสาน ร้อยละ 20 มีกำลังอัดน้อยกว่าซีเมนตืล้วนในช่วงระยะต้น และการแทนที่ตะกรันเตาถลุงเหล็กต่อวัสดุประสาน ร้อยละ 30 40 50 และ 70 ที่ 28 วัน มีค่ากำลังอัดมากกว่าซีเมนต์ล้วน th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2554 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คอนกรีต th_TH
dc.subject เกลือคลอไรด์ th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title ปริมาณคลอไรด์วิกฤตในคอนกรีตสำหรับการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริม(รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ปีที่ 1) th_TH
dc.title.alternative Critical chloride content in concrete for the depassivation of steel en
dc.type Research
dc.year 2556


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account