DSpace Repository

ปลาในแนวปะการังในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author วิภูษิต มัณฑะจิตร th
dc.contributor.author สุชา มั่นคงสมบูรณ์ th
dc.contributor.author สืบสิน สนธิรัตน์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:22Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:22Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1264
dc.description.abstract องค์ประกอบชนิดของปลาแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะแสมสาร ศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2556 เก็บข้อมูลจาก 28 สถานี พบปลารวมทั้งสิ้น 94 ชนิด จาก 29 วงศ์ โดยปลากินพืชขนาดเล็กในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายและชุกชุมมากที่สุดโดยเฉพาะ Neopomacentrus cyanomos และ Pomacentrus cuneatus และ สำหรับปลากินเนื้อขนาดเล็ก พบปลาในวงศ์ปลาขุนทอง พบชนิดเด่นคือ Halichoeres nigrescens และ กระพง เช่น Lutjanus vitta และ Lutjanus Lutjanus องค์ประกอบชนิดของปลาแนวปะการังบริเวณเกาะแสมสารและเกาะปลาหมึก ถูกประเมินในระหว่างปี พ.ศ. 2555 โดยการเก็บตัวอย่างปลา และการเก็บข้อมูลของชนิดและความชุกชุมที่พบในแต่ละสถานีศึกษา รวม 11 สถานี พบปลารวมทั้งสิ้น 59 ชนิด จาก 29 วงศ์ มีปลา 4 ชนิดที่พบชุกชุมมากที่สุด คือ Stolepholus gracilis (18.9%) Neopomacentrus azysron (16.5%) pomacentrus cuneatus (14.6%) และ Neopomacentrus cyanomos (10.6%) ความหลากหลายชนิดของปลาที่ถูกพบในแต่ละสถานี พบอยู่ระหว่าง 8 ถึง 28 ชนิด โดยสถานีที่พบปลามากชนิดที่สุดคือ สถานีทางด้านทิศตะวันออก หาดลู่ลม และเกาะปลาหมึกทิศใต้ ขณะที่สถานีที่พบปลาน้อยที่สุดคือ สถานีใต้อ่าวลู่ลม เพื่อพิจารณาโครงสร้างประชาคมของปลาแนวปะการัง พบว่าแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามชนิดของปลาที่พบเด่นของแต่ละกลุ่ม โดยตำแหน่งที่ตั้ง และทิศทางของลมมรสุมมีส่วนสำคัญต่อลักษณะโครงสรา้งของถิ่นที่อยู่และประชาคมปลาแนวปะการังที่เข้ามาอาศัย องค์ประกอบชนิดของปลาแนวปะการังบริเวณเกาะแรด ถูกประเมินในระหว่างปี พ.ศ. 2555 โดยการเก็บตัวอย่างปลา และการเก็บข้อมูลของชนิดและความชุกชุมที่พบใน แต่ละสถานีศึกษา รวม 7 สถานี พบปลารวมทั้งสิ้น 78 ชนิด จาก 29 วงศ์ มีปลา 4 ชนิด ที่พบชุกชุมมากที่สุด คือ Stolepholus gracilis (18.9%) Neopomacentrus azysron (16.5%) Pomacentrus cuneatus (14.6%) และ Neopomacentrus cyanomos (10.6%) ความหลากหลายชนิดของปลาที่ถูกพบในแต่ละสถานี พบอยู่ระหว่าง 7 ถึง 56 ชนิด โดยสถานีที่พบปลามากที่สุดคือ สถานีทางทิศตะวันตกตอนเหนือพบปลามากถึง 56 ชนิด และสถานีทางทิศเหนือพบ 37 ชนิด ขณะที่สถานีที่พบปลาน้อยที่สุดคือ สถานีทิศตะวันตกด้านใต้ พบปลา 7 ชนิด องค์ประกอบชนิดของปลาแนวปะการังบริเวณเกาะขามและเกาะฉางเกลือ ถูกประเมินในระหว่างปี พ.ศ. 2555 รวมเก็บข้อมูล 12 สถานี พบปลารวมทั้งสิ้น 78 ชนิด จาก 26 วงศ์ ปลาที่ถูกพบชุกชุมมากมีจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ Neopomacentrus cyanomos (40.8%) Parioglossus philippinus (11.2%) Pomacentrus cuneatus (10.3%) และมีความชุกชุม 3 ชนิด ได้แก่ Stolepholus indius (8.3%), Neopomacentrus azysron (5.1%) และ Chromis viridis (4.3%) ความหลากหลายชนิดของปลาที่ถูกพบในแต่ละสถานี พบอยู่ระหว่าง 9 ถึง 33 ชนิด โดยสถานีทางทิศเหนือพบปลา 31-33 ชนิด ขณะที่พบปลาน้อยที่สุดคือ สถานีทิศเหนือด้านตะวันออก พบปลา 7 ชนิด ประชาคมปลาแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะแสมสาร มีความหลากหลายแตกต่างกัน อาจเนื่องจากปัจจัยทางธรรมชาติ โดยเฉพาะตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทิศทางของลมมรสุม ที่มีส่วนสำคัญต่อลักษณะโครงสร้างของถิ่นที่อยู่ของปะการังและปลาที่เข้ามาอยู่อาศัย อย่างไรก็ตามหมู่เกาะแสมสารได้รับอิทธิพลจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์มาอย่างยาวนาน แม้หลังจากเป็นพื้นที่อนุรักษ์ยังมีภัยคุกคามจากธรรมชาติจากการเปลี่ยนแแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งหมดส่งผลถึงสภาพของพื้นที่ศึกษาแตกต่างกัน th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนทุนวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปี พ.ศ. 2555-2556 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject หมู่เกาะแสมสาร th_TH
dc.subject ปะการัง
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
dc.title ปลาในแนวปะการังในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Coral reef fishes along the marine ecosystem in the marine plant genetic conservation area, Mo Ko samaesarn, Chon Buri Province en
dc.type Research
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative The diversity of coral reef fishes at samaesarn lslands was investigated during 2011 to 2013. The data on species and abundance of fishes were collected at 28 stations. An overall of 94 species from 29 families were recorded. The small herbivorous fishes of the family Pomacentridae were the most diverse group. The most abundance were Neopomacentrus cynomos and Pomacentrus cuneatus. The next dominant group was an invertebrate feeders, especially small labrids as Halichoeres nigrescens and Halichoeres nitrescens. For carnivorous fishes, the most abundance were Lutjanus vitta and Lutjanus Lutjanus. The species composition of coral reef fishes at Samaesarn and Plamuk islands during 2011 were collect at 11 stations. A total of 59 species from 29 families of fishes were recorded. The community was dominated by only 4 species. They were Stolepholus gracilis (18.9%) Neopomacentrus azysron (16.5%) Pomacentrus cuneatus (14.6%) and Neopomacentrus cyanomos (10.6%) The fish species richness were between 8 to 28 species. The high diversity of fishes were recored at the study site on the East of the Sanaesarm lsland, as Hadd Loolom and the south of Plamuk lsland. According to fish species composition, the study sites could begrouping into 3 groups. these groups were likely to correspond with geographical position which has an influence on the structure of habitat. The species composition of coral reef fishes at Rad lsand was investigated during 2012. There were 7 sites be investigated. An overall of 78 species from 26 families were recorded. There were 4 species those dominated fish community of rad lsland. They were: Stolepholus gracilis (18.9%) Neopomacentrus azysron (16.5%) Pomacentrus cuneatus (14.6%) and Neopomacentrus cyanomos (10.6%) The species richness of fish species of each study site were 7 to 56 species. The site that found highest number of fish species were north of the West station (RW-N) found 56 species and the North station (RN) found 37 species. The community structure of coral reef fishes can be separated into one group and three distinct stations. Species composition of coral reef fishes at Kharm and Changklao lslands was investigated during 2013. There were 8 sites be selected for this study. An overall of 78 species from 29 families were recorded. There were 4 species those dominated fish community of Kharm and changklao lslandss. They were: Neopomacentrus cyanomos (40.8%), Parioglossus philippinus (11.1%) and Pomacentrus cuneatus (10.3%). The species richness of fish species of each study site were 3 to 33 species. The site that found highest number of fish species were on the North and on the east the East of the islands. The lowest richness of fishes was recorded at the West of Kharm lsland that found 9 species. The community structure of coral reef fishes can be separated into two main group those correspond with the side of station located as south-east and north-west groups. These results reflect the different causes of nature and the disturbance on coral reef fish community. Those be primarily from the geographical position and the direction of monsoon. Global climate variation are also the case as it causehabitat deterioration. However, anthropogenic disturbances might also be the case, such as there are some unexpected fish species present. The monitoring program on coral reef fish community, especially in the conservation area is still necessary as one of the indicator on such disturbances


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account