DSpace Repository

ผลของสารปอซโซลานต่อความพรุนของเพสต์

Show simple item record

dc.contributor.author ทวีชัย สำราญวานิช
dc.contributor.author ทักษิณ ทองลี
dc.contributor.author ศิริลักษณ์ ขุมทอง
dc.contributor.author นัฐภา ภาระศรี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:20Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:20Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1156
dc.description.abstract งานวิจัยนี้นำเสนอผลกรทบของสารปอซโซลานต่อโครงสร้างโพรงช่องว่างของซีเมนต์เพสต์ โดยสารปอซโซลานที่ศึกษาคือเถ้าลอย ทำการล่อตัวอย่างซีเมนต์เพสต์ที่อัตราส่วนผสมต่าง ๆ กัน ทั้งอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน อัตราส่วนการแทนที่วัสดุปรสานด้วยเถ้าลอยและประเภทของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จากนั้นนำชิ้นส่วนจากตัวอย่างมาทดสอบหาโครงสร้างโพรงช่องว่างภายในซีเมนต์เพสต์ด้วยวี Merecury intrusion porosimetry (MIP) เพื่อหาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของโพรงช่องว่างและความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์เพสต์ จากผลการศึกษาพบว่า ทั้งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของโพรงช่องว่างและความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์เพสต์มีค่าเปลี่ยนแปลงตามเวลา โดยเมื่ออายุซีเมนต์เพสต์มากขึ้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของโพรงช่องว่างและความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์มีค่าลดลง เมื่อใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ III ในซีเมนต์เพสต์จะทำให้ทั้งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของโพรงช่องว่างและความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์มีค่าน้อยกว่าเมื่อใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ I และ V และเมื่อใช้เถ้าลอยแทนที่บางส่วนของวัสดุประสานในอัตราส่วนที่เหมาสมแล้วทำให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของโพรงช่องว่างของซีเมนต์เพสต์ลดลง แต่ความพรุนทั้งหมดสูงขึ้นกว่าซีเมนต์เพสต์ล้วน สุดท้ายได้เสนอสมการเพื่อหาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของโพรงช่องว่างและความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์เพสต์ที่เปลี่ยนแปลงตามอายุของซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าลอยด้วย This research is aimed to present the effect of pozzolanic material on the pore structure of cementpaste. He pozzolanic material in his sudy is fly ash. The specimens were cast with different mix proportion such as water to binder ratio, fly ash to binder ratio and type of Portland cement. The particles of specimen were selected to investigate the pore structure of cement paste by the method of mercury intrusion porosimetry (MIP) which can determine the average pore diameter of poe and he total porosity of cement paste. From the experimental results, it was found ha he average pore diameter and the total porosity of cement paste were time-dependent. When the age of concrete increased, the average pore diameter and the total porosity of cement paste decreased, Type III Portland cement resulted in smaller average pore diameter and total porosity than type I and V Portland cements. The use of fly ash as partial replacement of binder a appropriate content led to smaller average pore diameter, but higher total porosity than cement paste only. Finally, the equation to determine the time-dependent average pore diameter and total porosity of cement paste were proposed. th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดยทุนอดหนุนการวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ซีเมนต์เพสต์ th_TH
dc.subject สารปอซโซลาน th_TH
dc.subject เถ้าลอย th_TH
dc.subject โครงสร้างโพรงช่องว่าง th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
dc.title ผลของสารปอซโซลานต่อความพรุนของเพสต์ th_TH
dc.type งานวิจัย th_TH
dc.year 2550


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account