DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการออกแบบเพื่อตราสินค้าไลฟ์สไตล์

Show simple item record

dc.contributor.author กมลชนก เศรษฐบุตร
dc.date.accessioned 2023-10-16T07:18:39Z
dc.date.available 2023-10-16T07:18:39Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10268
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัยเงินรายได้ส่วนงาน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 th_TH
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการออกแบบตราสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ประสบความสําเร็จ ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพจากการวิเคราะห์เนื้อหา โดยถอดบทเรียนจากตราสินค้าไลฟ์สไตล์ในต่างประเทศ จากนั้นทําการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลจากประชากรไทยจํานวน 12 คน ที่มีส่วนร่วมในการออกแบบตราสินค้าไลฟ์สไตล์ไทยซึ่งประสบความสําเร็จทั้งด้านรางวัลและยอดขาย แล้วจึงทดสอบแนวคิดรูปแบบการออกแบบตราสินค้าไลฟ์สไตล์ด้วยการสนทนากลุ่มจากผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักออกแบบ, นักการตลาด, ผู้บริหาร, ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตราสินค้าและนักนิเทศศาสตร์ จํานวน 48 คน ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้รับผิดชอบตราสินค้าไลฟสไตล์ที่ถูกคัดเลือกมาในต่างประเทศนํา กระบวนการคิดเชิงออกแบบและกิจกรรมด้านการออกแบบไปผนวกเข้ากับกลยุทธ์ของการบริหารธุรกิจในระดับโครงสร้าง ในขณะที่ประเทศไทยยังแค่นําไปอยู่ในกระบวนการทํางานเท่านั้น ในต่างประเทศมีการฝากให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องคิดอย่างนักออกแบบ แต่ประเทศไทยยังไม่ได้ให้ความสําคัญกับการคิดอย่างนักออกแบบกับทุกคน นักออกแบบในต่างประเทศมีส่วนร่วมตั้งแต่ช่วงต้นของกระบวนการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยในประเทศไทยนักออกแบบรับผิดชอบเฉพาะช่วงท้าย ทั้งนี้ กระบวนการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติสําคัญน้อยที่สุดที่สามารถซื้อขายได้เป็นเรื่องที่ทําได้ยากสําหรับองค์กรทั้งต่างประเทศและในประเทศ และการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรผ่านช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์เป็นวิธีการที่ถูกนํามาใช้อย่างคล้ายคลึงกัน องค์กรควรใช้การออกแบบเพื่อกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ในการคิดเชิงนักออกแบบนั้นควรเปลี่ยนเป็นการคิดไปข้างหน้า นักออกแบบควรมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยนํากระบวนการผลิตภัณฑืที่มีคุณสมบัติ สําคัญน้อยที่สุดที่สามารถซื้อขายได้มาใช้เฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม และควรสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรด้วยสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์โดยสร์างให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์กับตราสินค้า th_TH
dc.description.sponsorship คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ตราสัญลักษณ์ - - การออกแบบ th_TH
dc.subject การจัดการผลิตภัณฑ์ - - การตลาด th_TH
dc.subject ผลิตภัณฑ์ใหม่ - - การจัดการ th_TH
dc.subject การตลาด th_TH
dc.subject ผลิตภัณฑ์ใหม่ th_TH
dc.title การพัฒนารูปแบบการออกแบบเพื่อตราสินค้าไลฟ์สไตล์ th_TH
dc.title.alternative The Development of Lifestyle Brand Design Formats th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email kamolchanok@buu.ac.th th_TH
dc.year 2566 th_TH
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to analyze the format of guidelines in design lifestyle brands that are succeed. The qualitative content analysis method was applied with lesson learned from lifestyle brands in foreign country. The In-dept interview method was applied with 12 Thai representative samples who participated in Thai lifestyle brands that are successful in both awards and sales volume. Also, the focus group interview method was applied with 48 representative samples from professionals who are designers, marketers, executives, brand design specialists and academics in Communication Arts. The findings indicated that people who are in charge of the selected lifestyle brands in other counties combine design thinking process and activity to business administration at the structural level, while in Thailand, it only at the working process. In other countries, they train related personnel to think as a designer. However, in Thailand, they have not yet given importance for everyone to think as a designer. Designers in other countries participated at the beginning of new product development process while in Thailand designers responsible only at the end. However the process of minimum variable product for market testing is difficult to do for those other countries and Thailand. The integrated marketing แommunication via online and offline channel are the method that was used in similar way. Organizations should use the design for the process of developing a new product or service, should change the Design Thinking to The Forwardly Thinking process, designer should participate in every step of new product development by using Minimum Viable Product processonly in the right products and should use integrated marketing communication in both online and offline by creating a consumer experience with the brand. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account