กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/995
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปภาศิริ บาร์เนทth
dc.contributor.authorวันศุกร์ เสนานาญth
dc.contributor.authorวรรณภา กสิฤกษ์th
dc.contributor.authorกุลวรา แสงรุ่งเรืองth
dc.contributor.authorอมรเทพ โชติช่วงth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:58Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:58Z
dc.date.issued2547
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/995
dc.description.abstractทำการศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อของลูกกุ้งทะเลในระบบการเลี้ยงโรงเพาะฟักจากจังหวัดชลบุรี และกุ้งเนื้อในระบบการเลี้ยงบ่อดินจากจังหวัดจันทบุรี ผลการสุ่มตรวจฟาร์มกุ้งกุลาดำ และกุ้งขาวทั้งสองแหล่งยังไม่มีการติดเชื้อรุนแรงนักที่จะก่อให้เกิดการระบาดของโรคหรือการตายของกุ้งจำนวนมาก ๆ ได้ จากตัวอย่าง 15 ฟาร์มของโรงเพาะฟักลูกกุ้งจาก ตำบลแสนสุข ตำบลอ่างศิลา และตำบลบางพระ พบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย Vibrio sp. ที่ขึ้นบนอาหาร TCBS มีทั้งโคโลนีเขียวและเหลืองการปนเปื้อนของแบคมีเรียทั้งสองกลุ่ม มีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันโดยส่วนใหญ่โคโลนีเหลืองจะมีการปนเปื้อนอยู่ในน้ำบ่อเลี้ยงกุ้ง ตัวลูกกุ้ง และอาร์ทีเมีย แต่โคโลนีเขียวที่อาจก่อโรคในลูกกุ้งมีการปนเปื้อนน้อยมาก ส่วนผลการสุ่มรวจการปนเปื้อน Vibrio sp. จากหัวเชื้อบริสุทธิ์คีโตซีรอสจาก ห้าร้านค้าในจังหวัดชลบุรี ก็ตรวจพบเฉพาะโคโลนีเหลืองเท่านั้น ส่วนการปนเปื้อนของเชื้ออื่น ๆ มีดังนี้ ชนิดของโปรโตซัวจะเป็นพวก Zoothamnium และพบ filamentous bacteria (Leucohtrix sp.) ได้ทั้งลูกกุ้งกุลาดำและลูกกุ้งขาว ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อรา และไม่พบไวรัสหัวเหลืองและไวรัสตัวแดงดวงขาวจากลูกกุ้งด้วยการตรวจโดยใช้ชุดตลับและจากเทคนิค PCR สภาพลูกกุ้งทะเลอายุ 8-10 วัน โดยทั้วไปมีสุขภาพแข้งแรง ระยะเวลาก่อนตายหลังการแช่ในสารฟอร์มาลินความเข้มข้น 100 ppm ประมาณ 3-7 นาที โดยลูกกุ้งขาวมีความทนทานต่อสารฟอร์มาลินนานกว่าลูกกุ้งกุลาดำ ผลการตรวจสุ่มกุ้งทะเล จาก 6 ฟาร์ม (11 บ่อ) ที่อำเภอท่าใหม่ และอำเภอขลุง พบการระบาดของไวรัสแดงดวงขาวเพียงฟาร์เดียว (1 บ่อ) ที่มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำอายุ 100 วัน ร่วมด้วยการติดเชื้อของแบคทีเรีย Vibrio sp. ที่เป็นโคโลนีเขียวและเหลือง ซึ่งพบได่ทั้งในน้ำบ่อเลี้ยงกุ้ง ในดิน และจากตับกุ้งส่วนฟาร์มที่ไม่มีการระบาดของไวรัสจะพบโคโลนีเหลืองเป็นส่วนใหญ่ และได้จำแนกแบคทีเรียด้วยชุดตรวจสอบ API NE แล้วพบโคโลนีเขียวคือ Vibrio palahaemolyticus ส่วนโคโลนีเหลืองคือ vibrio algenolyticus ภูมิคุ้มของกุ้งกุลาดำที่มีการระบาดของไวรัสตัวแดงดวงขาวและติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยมีประสิทธิภาพด้อยลง ทั้งปริมาณเม็ดเลือดลดลง ประมาณ 10-1000 เท่า ระยะเวลาในการแข็งตัวของเลือดช้าลงกว่ากติร่วมด้วยการแข้งตัวของเลือดเป็นบางส่วน และสีของเลือดจางลง การตรวจสอบไวรัสใช้สามวิธีคือ ชุดตลับ เทคนิคทาง PCR และ dot blot ไม่พบมีการระบาดของไวรัสหัวเหลืองในทุกฟาร์ม ส่วนโปรโตซัวทั้งภายนอก จำพวก Zoothamnium และ Epistylis และพยาธิภานในลำไส้กุ้ง จำพวก Gregarine มีการปนเปื้อนไม่มาก การให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องความรู้ด้านโรคและภูมิคุ้มกันในกุ้งทะเล ได้มีการแจกจ่ายคู่มือประจำฟาร์มกุ้งและให้การอบรมเชิงปฏิบัติการที่ ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดชลบุรี โดยมีเกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 81 คน The infectious diseases in marine shrimp (Penaeus monodon and Litopenaeus vannamai) and their immunity were investigated and evaluated for an outbreak occurrence. Fifteen of the shrimp post larva farms and six of the shrimp earthen farms were randomly sampled from the eastern part of Thailand (Chonburi and Chanthaburi province). The pathogens and organisms were found from shrimp but not potentially causing the epizootic. The microbiological method was used to reveal certain Vibrio sp. from water reared shrimp and post larva body. including brine shrimp. The common yellowcolonies grew on TCBS agar plates but few samples were observed the green colony, a potent disease causative agent. Five commercial Chaetoceros sp. shops around Chonburi resulted in good quality of shrimp feeding on plankton because the green colony was absent. Shrimp post larva had an attachment of Zoothamnium sp. and Leucothrix sp. (filamentous bacteria), which caused the damage of the shrimp appndage. None of the post larva was found with the yellow head virus (YHV) and white spot syndrome virus (WSSV). They were examined by using commercial strip test and PCR (Polymerase chain reaction) method. Using a 100 ppm formalin concentration, it confirmed the post larva health assessment. Litopenaeus vannamai post larva was more tolerant to formalin killing than those of Penaeus monodon post larva which they were compared at the same age between 5 and 10 days. These was a P. monodon farm from six farms (11 earthen ponds) in Chanthaburi that had an outbreak of the WSSV, but the THV has not been detected when using strip test, PCR technique, and dot blot analysis. Virus infected shrimp aged 100 days, taken from the shallow pond area, turned red and had white spots all over the whole body. In addition, moribund liver exhibited systemic infection og Vibrio sp., observing both green and yellow colony on the agar plate. After they were tested with the API20 NE system the green and yellow colony were identified as Vibrio palahaemolyticus and Vibrio algenolyticus, respectively. Moreover, the WSSV had been causing detrimental shrimp health; consequences, a total haemocyte count of moribund had less than 10-1000 times compared to normal shrimp (1.05-4.27X10 6/mL). Also, a clotting time rate of the haemolymph was slower coagulating with partial clot and its color turned pale blue. The virus was detected using the strip test, PCR, and dot blot analysis. None of the farm showed the YHV outbreak. There was a few of protozoa found at the shrimp's gills and appendages (Zoothamnium and Epistylis) and intestine (Gregarine). The knowledge of infectious disease and immunity of marine shrimp was distributed to shrimp farmers via booklets and one time training course. The workshop was held at Tumbon Tapone, Amphur Krune, Chanthaburi province. Eighty one shrimp farmers participated at this time.th_TH
dc.description.sponsorshipสนับสุนนโดย ทบวงมหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectกุ้งทะเล - - การเลี้ยง - - วิจัยth_TH
dc.subjectกุ้งทะเล - - โรคth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleความรู้ด้านโรคติดเชื้อและภูมิคุ้มกันในกุ้งทะเลth_TH
dc.title.alternativeInfectious diseases and immunity of marine shrimpth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2547
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น