กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/991
ชื่อเรื่อง: การศึกษาคุณลักษณะ ตำแหน่งและการกระจายของ Leucine aminopeptidase ในพยาธิใบไม้ตับ Fasciola gigantica
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Characterization and localization of leucine aminopeptidase in fasciola gigantica
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิทูร ขาวสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: พยาธิใบไม้ในตับ
เอนไซม์ - - การวิเคราะห์
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: Fasciola gigantica เป็นพยาธิที่ก่อให้เกิดโรค fasciolosis ในปศุสัตว์และมนุษย์ ปัจุบันการวินิจฉัยและการรักษาโรคพยาธิยังมีประสิทธิภาพไม่ได้เท่าที่ควร การศึกษาหาโปรตีนชนิดใหม่เพื่อนำมาทดสอบความสามารถในการนำไปวินิจฉัยโรคและป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง leucine aminopeptidase (LAP) เป็นเอนไซม์ที่มีศักยภาพในการนำไปผลิตวัคซีนรวมถึงการวินิจฉัยโรคพยาธิโดยวิธี immunodiagnosis การทดลองในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อผลิต polyclonal antibody ที่ต้านต่อ LAP รวมถึงการศึกษาลักษณะเบื้องต้นของเอนไซม์ชนิดนี้ที่พบได้ในตัวพยาธิการผลิต polyclonal antibody เริ่มต้นดดยการฉีด cytosolic porcinc kidney LAP ที่ผสมกับ complete หรือ incomplete Freund's adjuvant ในหนู แล้วนำ serum ไป screen หา specificity และปริมาณของ antibody ที่สรา้งขึ้นด้วยวิธี ELISA หลังจากนั้นนำ polyclonal antibody ที่ได้ไปศึกษาลักษณะของ LAP ในพยาธิ F.gigantica ระยะต่าง ๆ ได้แก่ ระยะไข่ ตัวอ่อนอายุ 4 สัปดาห์ และพยาธิตัวเต้มวัยด้วยวิธี western immunoblotting และศึกษาตำแหน่งและการกระจายของ LAP ในเนื้อเยื่อพยาธิระยะต่าง ๆ ด้วยวิธี immunoperoxidase ผลการทดลองพบว่า สมารถผลิต polyclonal antibody ที่มีความจำเพาะต่อ porcine kidney LAP และสามารถมีปฏิกิริยา cross reaction กับ F. gigantica ได้ ซึ่งพบว่า LAP เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในพยาธิทุกระยะของการพัฒนาโดยมีสัดส่วนของ LAP มากที่สุดใน excretory-secretory material ของพยาธิตัวเต็มวัย รองลงมาคือไข่ที่มีการพัฒนาของ miracidium อยู่ภายใน ตัวอ่อนอายุ 4 สัปดาห์ และ crude extract ของพยาธิระยะตัวเต็มวัยตามลำดับ ส่วน tegumental antigen มีสัดส่วนของ LAP น้อยที่สุด ซึ่ง LAP ดังกล่าวสร้างมาจากเนื้อเยื่อหลัก คือ เซลล์เยื่อบุผิว caecum และ bladder ของพยาธิทุกระยะ นอกจากนี้ยังมีการผลิต LAP ในเนื้อเยื่อของระบบสืบพันธุ์ ซึ่งพบได้ทั้งในระบบสืบพันธุ์เพศผู้ ได้แก่ head ของ sperm เยื่อบุผิวของ seminal vesicle และ prostate gland cells และระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ได้แก่ mature oocyte mature vitelline cell Mehlis' gland cell และ เยื่อบุผิว uterus โดย LAP ที่ตรวจพบในการศึกษาครั้งนี้น่าจะเป็นทั้งชนิด cytosolic และ membraned LAP
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/991
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_068.pdf4.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น