กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/970
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorบุญรัตน์ ประทุมชาติth
dc.contributor.authorวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัยth
dc.contributor.authorบัลลังก์ เนื่องแสงth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:55Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:55Z
dc.date.issued2547
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/970
dc.description.abstractการแปลงเพศปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata) ด้วยฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน อันเดคาโนเอท ผสมในอาหารผงสำเร็จรูปที่ระดับความเข้มข้น 25, 50, 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เริ่มให้ลูกปลากินตั้งแต่แรกเกิดเป็นระยะเวลานาน 10, 20 และ 30 วัน ของทุกระดับความเข้มข้น และกลุ่มควบคุม (ไม่ผสมฮอร์โมน) เลี้ยงนาน 90 วัน จึงทำการตรวจสอบอัตราส่วนเพศ การรอดตาย และการเจริญเติบโต จากนั้นนำปลาหางนกยูงกลุ่มที่แปลงเป็นเพศผู้ได้ 100% ของทุกการทดลองมาเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปจนอายุครบ 12 เดือน แล้วจึงนำมาตรวจสอบระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาการเกิดสีของปลาหางนกยูงสายพันธุ์ Red platinum ที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดผสมแคนทาแซนทิน ในปริมาณ 50, 100 และ 150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และกลุ่มควบคุม (ปราศจากแคนทาแซนทิน) นาน 30 วัน ทำการสุ่มปลามาเปรียบเทียบสีของลำตัวและหางและสุ่มปลามาตรวจสอบปริมาณคาโรทีนอยด์ที่สะสม ปลาทุกกลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนมี % เพสผู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ปลากลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนระดับความเข้มข้น 25 มก./กก. นาน 30 วัน 50 มก./กก. นาน 20-30 วัน 100 และ 200 มก./กก. นาน 10-30 วัน สามารถแปลงเป็นเพศผู้ได้ 87-100% ซึ่งไม่แตกต่างกัน (P<0.05) เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของฮอร์โมนให้มากขึ้นมีผลทำให้ % ปลาเพศผู้ที่มีโกโนโปเดียมยาวทั้งหมด และโกโนโปเดียมยาวหางใหญ่ลดลง (P<0.05) % ปลาที่มีโกโนโปเดียมสั้นหางเล็กหรือหางใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นและระยะเวลาในการให้ฮอร์โมน ปลามีการรอดตาย 93.3-94.0% ซึ่งไม่แตกต่างกัน (P<0.05) ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนร่วมกับระยะเวลามีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของปลาหางนกยูงเพศผู้โดโนโปเดียมยาว (เพศผู้ปกติ) และโกโนโปเดียมสั้น กล่าวคือระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้เป็นเวลานาน 10 วัน เป็นระดับที่ทำให้ปลามีความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์สูงสุด โดยพิจารณาจากน้ำหนักอัณฑะและจำนวนเซลล์อสุจิ ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนที่สูงขึ้นและระยะเวลาที่ให้นานขึ้นส่งผลทำให้น้ำหนักตัวปลาลดลง (P<0.05) ปลาที่ได้รับแคนทาแซนทินผสมลงในอาหารทุกระดับความเข้มช้น จะเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีส้ม โดยระดับความเข้มข้นของแคนทาแซนทินที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อความเข้มของสีบริเวณหางปลา (P<0.05) ปลาที่ได้รับแคนทาแซนทินผสมอาหารทุกการทดลองมี % หางปลาสีเข้มกว่าปลาชุดควบคุม (P<0.05) ปลากลุ่มที่ได้รับ แคนทาแซนทิน 150 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะพบปริมาณคาโรทีนอยด์ในหางสะสมสูงที่สุด (63.26 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) สูงกว่าในหางปลากลุ่มการทดลองอื่น (P<0.05) การเริมแคนทาแซนทินในอาหารไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับเงินสนับสนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2546en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectปลาหางนกยูง - - วิจัยth_TH
dc.subjectฮอร์โมน - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการพัฒนาสูตรอาหารและการใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน อันเดคาโนเอต เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต เร่งสี และการแปลงเพศของปลาหางนกยูงth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of formulated diets and testosterone undecanoate to manipulation on growth performance, color enhancement and sex reversal in the Guppy (Poecilia reticulata).en
dc.typeResearch
dc.year2547
dc.description.abstractalternativeSex reversal in the guppy (Poecilia reticulata) was induced by testosterone undecanoate mixed with artificial feed at 25, 50, 100, 200 mg/kg and without hormone (control). Duration of feeding was 10, 20 and 30 days respectively from the early hatched fish. Sex ratio, growth and survival were examined after 90 days of culturing period. The reproductive system of 12 month-old sex-reversed males with normal and short gonoppdiums were also evaluated. Effect of canthaxanthin on color development of Red platinum guppy fed with canthaxanthin mixed pellet feed at 0 (control, 50, 100 and 150 mg/kg for 30 days were investigated. The color and carotenoid content of body and caudal fin was examined.Percent male of all treatments were significantly higher than that of control (P<0.05). Non-significant difference of male (87-100%) of fish groups fed with hormonal feed at 25 mg/g (30 days), 50mg/g (20-30 days), 100 and 200 mg/g (10-30 days). Percentage of male with normal gonopodium and male with normal gonopodium and large caudal fin were significantly decreased (P<0.05) when increasing of hormone concentration in feed. Percent fish with short gonopodium and largre or small caudal fin showed significantly increased whild the concentration of hormone and feeding period were increased. The survival rate of all treatments (93.3-94.00%) was not significant difference (P>0.05). Reproductive system of fish was also affected by the concentration of hornone and feeding period. The concentration at 50 mg/kg and feeding for 10 days was the most suitable level for maturity of sex seversal fish. However, body weight decreased (P<0.05) whereas increasing of hormone concentration and feeding period. Color of caudal fin changed from red to orange when fish fed on feed supplement with canthaxanthin. The intensity of color on caudal fin increased (P<0.05) whereas increasing the level of canthaxanthin. The stronger color of caudal fin of fish fed on supplemented feed showed significantly higher than that of control (P<0.05). The significant highest of carotenoid content (63.26 mg/kg) in caudal fin was found in fish fed on 150 mg/kg canthaxanthin in feed. The supplementation of canthaxanthin in feed was not affect to growth and survival rate of experimental fishes.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
viewobj (4)2.56 MBUnknownดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น