กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/966
ชื่อเรื่อง: ปลาในแนวปะการังในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Coral reef fishes along the marine ecosystem in the marine plant genetic conservation area, Mo Ko samaesarn, Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภูษิต มัณฑะจิตร
สุชา มั่นคงสมบูรณ์
สืบสิน สนธิรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: พืชทางทะเล
แนวปะการัง
หมู่เกาะแสมสาร
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: องค์ประกอบชนิดของปลาแนวปะการังบริเวณเกาะแรด ถูกประเมินในระหว่างปี พ.ศ. 2555 โดยการเก็บตัวอย่างปลา และการเก็บข้อมูลของชนิดและความชุกชุมที่พบในแต่ละสถานีศึกษา รวม 7 สถานี พบปลารวมทั้งสิ้น 78 ชนิด จาก 29 วงศ์ มีปลา 4 ชนิด ที่พบชุกชุมมากที่สุด คือ Stolepholus gracilis/indius (18.9%) Neopomacentrus azysron (16.5%) Pomacentrus cuneatus (14.6%) Neopomacentrus cyanomos (10.6%) ความหลากหลายชนิดของปลาที่ถูกพบในแต่ละสถานี พบอยู่ระหว่าง 7 ถึง 56 ชนิด โดยสถานีที่พบปลามากชนิดที่สุดคือ สถานีทางตอนเหนือด้านทิศตะวันตก (RW-N) พบปลามากถึง 56 ชนิด และสถานีทางทิศเหนือ (RN) พบ 37 ชนิด ขณะที่สถานีที่พบปลาน้อยที่สุดคือ สถานีทิศตะวันตกด้านใต้ RW-S1 พบปลา 7 ชนิด เมื่อพิจารณาโครงสร้างประชาคมของปลาแนวปะการัง พบว่าแบ่งออกได้เป็น 1 กลุ่ม ที่พบมีความหลากหลายของปลาน้อย และ 3 สถานีที่แยกออกจากกัน แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของโครงสร้างประชาคมปลาระหว่างสถานี โดยลักษณะของแนวปะการัง ตำแหน่งที่ตั้งและทิศทางของลมมรสุมมีส่วนสำคัญต่อลักษณะโครงสร้างของถิ่นที่อยู่และประชาคมปลาที่เข้ามาอาศัยอยู่ รวมถึงอิทธิพลจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการหลุดรอยหรือการปล่อยสัตว์ทะเลจากการเพาะเลี้ยง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรมีการศึกษาติดตามเพื่อประเมินสภาพ และศักยภาพของระบบนิเวศว่ามีความสมบูรณ์เป็นอย่างไร
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/966
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น