กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/965
ชื่อเรื่อง: ศึกษาผลของการให้โปรแกรมการเสริมสร้างความรักเพื่อพิทักษ์วัยรุ่นไทยจากสารเสพติด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of the program of promoting love to prevent drug addiction for Thai adolescents
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สงวน ธานี
สุภาภรณ์ ด้วงแพง
อาภรณ์ ดีนาน
ชนัดดา แนบเกษร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความรัก
วัยรุ่นไทย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
สารเสพติด
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัญหาการติดสารเสพติดของวัยรุ่นไทยพบว่าเกี่ยวข้องกับความรักและความอบอุ่นจากครอบครัว การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างความ รักเพื่อพิทักษ์วัยรุ่นไทยจากสารเสพติด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ วัยรุ่นและครอบครัว จำนวน 96 ครอบครัว แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 48 ครอบครัว สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย หลังจากนั้นให้กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริม ความรัก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 60-90 นาที จำนวน 8 ครั้ง โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย 1) ครอบครัวของเรา 2) บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว 3) สร้างความรักในบ้าน ด้วยการสื่อสารที่ดี 4) การพัฒนาความใกล้ชิดผูกพันด้วยการใช้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกัน 5) การแสดงออกซึ่งความรักและความเอื้ออาทรกัน 6) เติมเต็มกำลังใจให้แก่กันและกัน 7) การจัดการกับความเครียด และ 8) ผูกสัมพันธ์วันแห่งความรัก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันการติดสารเสพติดหลังการติดตามผล 1 เดือน ประเมินผลของโปรแกรมโดยใช้แบบสอบถาม พฤติกรรมการป้องกันสารเสพติด ก่อนการทดลอง (To) หลังการทดลอง (T1) และระยะติดตามผล 1 เดือน (T2) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำและ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย Bonferroni ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันสารเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในระยะหลังการทดลอง (T1) และระยะติดตามผล 1 เดือน (T2) 2. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันสารเสพติดแตกต่างระหว่างระยะก่อนการทดลอง (T0) และระยะหลังการทดลอง (T1) และก่อนการทดลอง (T0) และระยะติดตามผล 1 เดือน (T2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างระยะหลังการทดลอง (T1) และระยะติดตามผล 1 เดือน (T2) 3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลอง (F 2,188 =9.31, p<.001) จากผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมการเสริมสร้างความรักที่สร้างขึ้นทำให้วัยรุ่นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันสารเสพติด ดังนั้นบุคลากรทางด้านสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษาพยาบาล) ควรนำโปรแกรมการเสริมสร้างความรักไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันสารเสพติดสำหรับวัยรุ่น บรรจุในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง และควรมีการศึกษาติดตามผลของโปรแกรมในระยะยาวต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/965
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_037.pdf6.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น