กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/956
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในจังหวัดชลบุรีให้ปราศจากยาฆ่าแมลง สีสังเคราะห์ และแบคทีเรียก่อโรค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of seafood products sale in chon Buri for insecticides, synthetic dyes and pathogenic bacteria-free
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์.
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย.
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ยาฆ่าแมลง
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
อาหารทะเล
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเรื่อง "การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในจังหวัดชลบุรีให้ปราศจากยาฆ่าแมลง สีสังเคราะห์และแบคทีเรียก่อโรค" ในปีที่ 3 ได้ทำการศึกษาถึงการพัฒนาสารทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ในการทดแทนการใช้สีสังเคราะห์ โดยทำการคัดแยกจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการผลิตสีจากอาหารทะเลแห้งและอาหารแปรรูปที่จำหน่ายในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย พบว่าสามารถคัดแยกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการเจริญอย่างรวดเร็วไม่ก่อให้เกิดโรค และมีประสิทธิภาพในการผลิตสีได้สูงจำนวน 5 ไอโซเลต ซึ่งสามารถจัดจำแนกได้เป็น Staphylococcus xylosus สายพันธุ์ PY18-B, Xenorhadbus sp. สายพันธุ์, PY28-B, S. capitis สายพันธุ์ PY38-B, S. cohnii suhnii sunii subsp. 1 สายพันธุ์ PY39-B, และ S. xylosus สายพันธุ์ PY43-B เมื่อนำสารสีที่สกัดได้ไปทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อโรคและเชื้อที่ทำให้อาหารเน่าเสียด้วยเทคนิค Agar well diffusion assay พบว่าสารสี ไม่สามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคและเชื้อที่ทำให้อาหารเน่าเสียได้ วึ่งประกอบด้วยแบคทีเรียแกรมบวก จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ MRSA สายพันธุ์ Q17, H8, P16, T18 และ T20, S. caprae, S. hominis, Bacillus licheniformis, B. laterosporus, B. coagulans และแบคทีเรียแกรมลบ จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ aeromonas schubertii, Edwardsiella tarda biogroup 1, Enterobacter sakazakii, Ent. cloacae, Ent. agglomerans, Klebsiella pneumoniae, Proteus mirabilis, Pseudomonas aeruginosa, Serratia ficaria และ Yersinia pestis รวมทั้งเชื้อควบคุม ได้แก่ MRSA ATCC 43300 และ แนสร ฤธฉฉ 25922 การศึกษาในขั้นต่อมาได้ทำการศึกษาถึงสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสีของแบคทีเรียทั้ง 5 ชนิด พบว่า S. xylosus สายพันธุ์ PY18-B มีประสิทธิภาพในการผลิตสีสุงสุดเมื่อใช้อาหารเลี้ยงเชื้อที่มี (NH4)2SO4 เป็นแหล่งไนโตรเจน ค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าความเค็มในอาการเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 8 และ 0% ตามลำดับ Xenorhabdus sp. สายพันธุ์ PY28-B มีประสิทธิภาพในการผลิตสีสุงสุดเมื่อใช้อาหารเลี้ยงเชื้อที่มี NH4Cl เป็นแหล่งไนโตรเจน ค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าความเค็มในอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 6 และ 0% ตามลำดับ S. capitis สายพันธุ์ PY38-B มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด เมื่อใช้อาหารเลี้ยงเชื้อที่มี NH4CL เป็นแหล่งไนโตรเจน ค่าความเป็นกรด-ด่างและค่าความเค็มในอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 6 และ 2% ตามลำดับ S. cohnii subsp. 1 สายพันธุ์ PY39-B มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุดเมื่อใช้อาหารเลี้ยงเชื้อที่มี NH4Cl เป็นแหล่งไนโตรเจน ค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าความเค็มในอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 8 และ 0% ตามลำดับ และ S. xylosus สายพันธุ์ PY43-B มีประสิทธิภาพในการผลิตสีสูงสุด เมื่อใช้อาหารเลี้ยงเชื้อที่มี (NH4)2SO4 เป็นแหล่งไนโตรเจน ค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าความเค็มในอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 8 และ 2% ตามลำดับ โดยแบคทีเรียทั้ง 5 ชนิด มีประสิทธิภาพในการผลิตสีสูงสุด เมื่อเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าแบคทีเรียทั้ง 5 สายพันธุ์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้ This research entitled "Development of seafood products sale in Chon Buri for insecticides, synthetic dyes and pathogenic bacteria-free" in the third year was investigated for developing the bioactive agents from microorganisms in order to substitute synthetic food coloring. Pigment-producing microorganisms were isolated from dried seafood and processed seafood products distributed in Chon Buri province, Thailand. Five nonpathogenic pigment-producing bacteria with ability of rapid growth were recovered and identified as Staphylococcus xylosus strain PY18-B, Xenoehabdus sp. strain PY28-B, S. capitis strain PY38-B, S. cohnii subsp. 1 strain PY39-B and S. xylosus strain PY43-B. Then, pigment extracts from those bacteria wereassayed for inhibitory activity against pathogenic and spoiling bacteria using an agar well diffusion tevhnique. None of the tested extracted pigments had antibacteria effect on Gram positive (10 species) and Gram negative (10 species) bacteria tested including MRSA strain Q17, H8, P16, T18, and T20, S. caprae, S. hominis, Bacillus licheniformis, B. laterosporus, B. coagulans, Aeromonas schubertii, Edwardisella tarda biogroup 1, Enterobacter sakazakii, Ent. cloacae, Ent. agglomerans, Klebsiella pneumoniae, Proteus mirabilis, Pseudomonas aeruginosa, Serratia ficaria and Yersinia pestis as well as reference indicator bacteria (MRSA ATCC 43300 and E. coli ATCC 25922). I the next phase of study. their optimized conditions suitable for pigment biosynthesis were determined. S. xylosus strain PY18-B showed maximum pigment production when utilization of (NH4)2SO4 as nitrogen source, pH 8 and 0% Nacl. Xenorhabdus sp. strain PY28-B flavored to synthesize pigment at pH6, 0% NaCl and presence of NH4Cl as nitrogen source. When application of NH4Cl as nitrogen source at pH 6 and 2% NaCl, S. capitis strain PY38-B demonstrated the highest value of pigment production. The maximal capacity of pigment-producing S. cohnii subsp. 1 strain PY39-B was observed under addition of NH4Cl, pH 8 and 0% NaCl. Finally, S. xylosus strain PY43-B cultivated with (NH4)2 SO4 addition, pH 8 and 2% NaCl showed the highest ability of pigment production. In addition, 30 'C was the most favorite temperature for pigment synthesis of all pigment-producing bacteria. Inconclusion, all isolated pigment-producing bacteria in this study could be further applied in food industry.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/956
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น