กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/941
ชื่อเรื่อง: การผลิตปริมาณสูงและการตรึงเอนไซม์อะลิฟาติกอะมิเดส สำหรับประยุกต์ใช้ในกระบวนการสลายอะคริลาไมด์และอุตสาหกรรมการผลิตกรดอะคริลิก.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: High-level production and immobilization of an aliphatic amidase for application i acrylamide degradation and industrial production of acrylic acid.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตติมา เจริญพานิช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กรดอะคริลิก
การโคลนยีน
สารอะคริลาไมด์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การใช้สารพิษอะคริไมด์ที่มีแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็งในคนอย่างกว้างขวางส่งผลให้พบการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม แต่ในความเป็นพิษของอะคริลาไมด์ยังมีจุลินทรีย์บางชนิดสามารถใช้พลังงานจากอะคริลาไมด์ในการเจริญได้ โดยเกิดการสลายอะคริลาไมด์เป็นแอมโมเนียและกรดอะคริลิก จากการทำงานของเอนไซม์อะมิเดส (EC 3.5.1.4) ด้วยปฏิกิริยาดีอะมิเนชั่น ในการศึกษาก่อนหน้ามีการใช้เทคนิคพีซีอาร์หาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่กำหนดการสรางเอนไซม์อะมิเดสใน Enterobacter aerogenes ซึ่งเป็นแบคทีเรียสลายอะคริลาไมด์ชนิดใหม่สำหรับในโครงการวิจัยนี้ได้นำเทคนิคพีซีอาร์มาใช้ในการเพิ่มปริมาณชิ้นยีนที่กำหนดการสร้างเอนไซม์อะมิเดสจาก E.aerogenes และโคลนเข้าสู่ดีเอ็นเอพาหะเอื้อการแสดงออก pColdl ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนอะมิเดสที่โคลนได้มีชนาด 726 คู่เบส ที่สามารถคาดเดาเป็นกรดอะมิโนจำนวน 242 ตัว ริคอมบิแนนท์อะมิเดสที่โคลนได้มีการแสดงออกขนาด 28 กิโลดาลตันในเซลล์ให้อาศัย Escherichia coli DH5 แต่มีการแสดงออกที่มากเกินไปจนจับกันเป็นก้อนตกตะกอนภายในเซลล์ในรูปของอินคลูชั่นบอดี้ โดยความเข้มข้นของ IPTG การเติมกลูโคส แลคโตสและกลีเซอรอล และการสแดงออกที่อุณหภูมิต่ำไม่สามารถลดการแสดงออกของริคอมบิแนนท์อะมิเดสในรูปของอินคลูชั่นบอดี้ในเซลล์ได้ทั้งหมด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/941
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น