กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/928
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลกระทบของโลหะหนักและสารอินทรีย์ไฮโดรคาร์บอนต่อสัตว์ทะเลตามแนวชายฝั่งทะเลอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assemssments of heavy metals and organic hydrocarbons exposure in selected marine animals from coastal industrial area at Map Ta Phut, Rayong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาศิริ บาร์เนท
สุวรรณา ภาณุตระกูล
พอจิต นันทนาวัฒน์
นันทพร ภัทรพุทธ
นิภา มหารัชพงศ์
ไพฑูรย์ มกกงไผ่
อาวุธ หมั่นหาผล
นันทิกา คงเจริญพร
Malin Charlotta Celander
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ตัวชี้วัดชีวภาพ
ปลาทะเล
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
สารโพลีไซคลิค
หอยแมลงภู่
อโรมาติก
แคดเมียม
ไฮโดรคาร์บอน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาการปนเปื้อนของแคดเมียมและสารโพลีไซคลิค อโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน Polycyclic aromatic hydrocarbon (PAHs) ซึ่งเป็นสารประกอบในคราบน้ำมัน ได้ถูกตรวจสอบในปลาทะเลธรรมชาติและหอยแมลงภู่เลี้ยงในฟาร์มทะเลจากชายฝั่งทะเลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ระยะทาง 5 กิโลเมตรจากชายฝั่ง รวมทั้งตรวจสอบการตัวชี้วัดชีวภาพ Cytochrome P450 (CYP1A) และ Metallothionein (MT) บ่งชี้ การรับสัมผัสสารต่อสาร PAHs และโลหะหนัก ตามลำดับ ทำการเก็บตัวอย่างเพียงครั้งเดียวปีตลอด 3 ปี (2555 – 2557) รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลและการรับรู้ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารทะเลของประชาชน หญิงตั้งครรภ์และนักเรียน จากการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลในการวิเคราะห์ความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับอันตรายจากการปนเปื้อนสารเคมีจากการบริโภคอาหารทะเล ผลการศึกษาปี พ.ศ. 2557 พบว่าปริมาณแคดเมียมทั้งในตับและกล้ามเนื้อปลาทะเลจากอ่างศิลา ค่าเฉลี่ย 0.2960 ± 0.1793 ug/g wet wt. (n=30) สูงกว่า 6 เท่ากว่าจากตับปลาทะเลจับจากมาบตาพุด ค่าเฉลี่ย 0.1859 ± 0.1329 ug/g wet wt. (n=30) และแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ส่วนในเนื้อปลาทะเล อ่างศิลามีค่าแคดเมียมเฉลี่ย 0.0016 ± 0.0022 ug/g wet wt. (n=30) มาบตาพุด ค่าเฉลี่ย 0.0007±0.0.0008 ug/g wet wt. จากอ่างศิลาที่ค่าปริมาณแคดเมียมในตับข้างสูง (>0.2 ถึง ~ 1.0 ug/g wet wt.) ของปลาทะเล 6 ชนิด (ปลาลิ้นหมา ปลาทู ปลาจวด ปลาสีกุน ปลาใบปอ ปลาไหลทะเล) จากการจับได้ 12 ชนิด ส่วนปลาทะเลจากมาบตาพุดที่ค่าปริมาณแคดเมียมในตับค่อนข้างสูง มีเพียงชนิดเดียวคือ ปลาทู (เฉลี่ย 0.3081±0.0607 ug/g wet wt.) จากการจับได้ทั้งหมด 7 ชนิด ปี พ.ศ. 2557 ปริมาณแคดเมียมในหอยแมลงภู่ บริเวณอ่างศิลาค่าความเข้มข้นของปริมาณแคดเมียมในหอยแมลงภู่ขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ย 0.0644 ± 0.0071 ug/g wet wt. (n=20) ใกล้เคียงกับหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ย 0.0764 ± 0.0064 ug/g wet wt. (n=20) และมีค่าสูงกว่าบริเวณมาบตาพุด อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.01) ทั้งในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่ (เฉลี่ย 0.0103±0.0019 ug/g wet wt.) และหอยแมลงภู่ขนาดเล็ก (เฉลี่ย 0.0123 ± 0.0031 ug/g wet wt.) และหอยแมลงภู่จากชายฝั่งจังหวัดเป็นชุดควบคุม พบความเข้มข้นของ แคดเมียมมีค่าเฉลี่ย 0.1171±0.0098 ug/g wet wt. (n=10) ปี พ.ศ. 2557 ความเข้มข้นของ PAHs รวมในตับปลาจากอ่างศิลา มีค่าเฉลี่ย 0.1041±0.1026 ug/g dry wt. (n=30) สูงกว่า 4 เท่า ในกล้ามเนื้อค่าเฉลี่ย 0.0270±0.0519 ug/g dry wt. (n=30) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ส่วนมาบตาพุด ความเข้มข้นของ PAHs ในตับปลามีค่าเฉลี่ย 0.0546 ±0.0547 ug/g dry wt. (n=30) สูงกว่า 2.7 เท่า ในกล้ามเนื้อเฉลี่ย 0.0201±0.0278 ug/g dry wt. (n=30) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยความเข้มข้นในตับปลาจากอ่างศิลา สูงประมาณ 2 เท่า จาก มาบตาพุดและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนความเข้มข้นในกล้ามเนื้อปลาจากทั้งสองสถานีมีค่าใกล้เคียงกัน ปี พ.ศ. 2557 ความเข้มข้นของ PAHs รวม ของหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่จากอ่างศิลามีค่าเฉลี่ย 0.0500±0.0194 ug/g dry wt. (n=20) สูงกว่า 2 เท่าในหอยขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ย 0.0225±0.0225 ug/g dry wt. (n=30) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ส่วนมาบตาพุด ความเข้มข้นของ PAHs ในหอยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ย 0.1834±0.0567 ug/g dry wt. (n=20) สูงกว่า 13 เท่าในหอยขนาดเล็กค่าเฉลี่ย 0.0142±0.1004 ug/g dry wt. (n=20) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.01) ความเข้มข้นของ PAHs รวมในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่จากมาบตาพุดมีค่าสูง 3.6 เท่ากว่าจากอ่างศิลา และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) และหอยแมลงภู่จากชายฝั่งจังหวัดเป็นชุดควบคุม ไม่พบความเข้มข้นของ PAHs รวม (n=10) ปี พ.ศ. 2557 ชนิดของ PAHs ที่พบในตับปลาทะเลจากอ่างศิลาและมาบตาพุดมี 4 ชนิด คือ Phenanthrene (PHE), Pyrene (PYR), Fluoranthene (FLA), และ Chrysene (CHR) และพบ Benz[a]anthracene (BaA) ในตับปลาทะเลจากอ่างศิลา ในปลาตัวอย่างเดียวกันทั้งหมดนี ไม่พบ Chrysene (CHR) สะสมในกล้ามเนื้อ ส่วนหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่ทั งจากอ่างศิลาและมาบตาพุด จะพบเหมือนกัน 3 ชนิดของ PAHs คือ PHE, FLA และ PYR และมาบตาพุดยังพบเพิ่มอีก 3 ชนิด คือ Acenaphthylene (ACY), Acenaphthene (ACE) และ CHR ส่วนหอยแมลงภู่ขนาดเล็ก จาก อ่างศิลาพบ 2 ชนิด คือ PHE และ FLA ส่วนจากมาบตาพุด พบได้ 3 ชนิด คือ PYR และ CHR ซึ่ง BaA และ CHR จัดเป็นชนิดที่มีความเป็นไปได้ในการก่อมะเร็งในมนุษย์ การแสดงออกของตัวชี้วัดชีวภาพ อ่างศิลาจากปลาทะเล 12 ชนิด มาบตาพุด จากปลาทะเล 12 ชนิด ด้วยเทคนิคแอนติบอดี พบการแสดงออกของ CYP1A (ขนาด 76/54 kDa) ในปลาทะเล จากอ่างศิลาพบมีผลบวกจานวน 60 % จาก 60 ตัวอย่าง ส่วนมาบตาพุด พบมี 100 % จาก 60 ตัวอย่าง การแสดงออกของ MT (ขนาด 10 kDa) จากอ่างศิลาพบ 33.3 % จาก 60 ตัวอย่าง ส่วนมาบตาพุด พบมี 73.3 % จาก 60 ตัวอย่าง โดยประเภทปลาทะเลชนิดการกินอาหาร (กินเนื้อ กินพืช และ กินทั้งพืชและเนื้อ ไม่มีผลนัยยะต่อการแสดงออกของ CYP1A และ MT ปี พ.ศ. 2557 ผลการตรวจการแสดงออกของ CYP1A (56 kDa) ด้วยเทคนิคแอนติบอดี ในหอยแมลงภู่ทั้งอ่างศิลาและมาบตาพุดพบ 100% ทั งสองสถานี แต่ความเข้มของแบนตัวชี้วัดชีวภาพมีการจับด้วยความเข้มต่างกันในตัวอย่าง โดยอ่างศิลาหอยขนาดทั้งใหญ่และขนาดเล็กมีการจับของ 4 แอนติบอดีกับแอนติเจนความเข้มบาง (+) และความเข้มปานกลาง (++) เท่านั น ส่วนมาบตาพุดหอยขนาดทั้งใหญ่มีความเข้มปานกลางและเข้มมาก (+++) เท่านั้น และหอยขนาดเล็กมีความเข้มได้ทั้งสามแบบ ส่วนหอยแมลงภู่จากชายฝั่งจังหวัดตราดสามารถพบ CYP1A ได้ทุกตัวอย่าง (n=10) ปี พ.ศ. 2557 ผลศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลและการรับรู้ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารทะเลของประชาชน สืบเนื่องจากผลการศึกษาวิจัยใน 2 ปีแรก ซึ่งพบว่า หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสียงที่มีการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหารทะเลและการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยในระดับน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเด็กนักเรียน และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในพื้นที่มาบตาพุด ในปี พ.ศ. 2557 เพื่อศึกษาผลของการให้สุขศึกษาในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์ที่อาศัยในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จ.ระยอง จึงการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดซา โดยหญิงตั้งครรภ์จะได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งประยุกต์ขึ้นจากแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender et al, 2011) ประกอบด้วย กิจกรรมใน 2 รูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบหนังสือคู่มือ วิดิทัศน์ และรูปแบบกิจกรรมการกระตุ้นเตือนโดยส่งผ่านข้อความทางโทรศัพท์มือถือ โดยเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในพื้นที่ มาบตาพุด จ.ระยอง ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2557 ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยประมาณ 26 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมต้นและ ประกอบอาชีพรับจ้าง สัตว์ทะเลที่หญิงตั้งครรภ์นิยมบริโภคในระดับบ่อยครั้งถึงเป็นประจำ ได้แก่ ปลาทู หมึก กุ้ง ปู และหอยแมลงภู่ ตามลาดับ เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพต่อการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์ ก่อนและหลังการให้สุขศึกษา พบว่า หลังการทดลองหญิงตั้งครรภ์มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคจากการบริโภคอาหารทะเล และการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารทะเลที่มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p<0.01) ส่วนคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติระหว่างก่อนและหลังการทดลองที่ (P=0.069) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า หญิงตั้งครรภ์ มีผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการบริโภคอาหารทะเลโดยรวมเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการให้โปรแกรมสุขศึกษาที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p<0.01) โดยหลังทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 52.80 และก่อนทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 46.97 The study is focus on Cadmium and total Polycyclinc aromatic hydrocarbons (PAHs) contamination on feral fish and farmed green mussels along the East Of Thailand; Ang Sila coast, Chonburi province and Mapthaputh Industrial Estate, Rayong province in 2012 to 2014. In addition, biomarker (Cytochrome P450, CYP1A) and Metallothionein (MT) assessment proved exposure to above mentioned chemicals based on on one time sampling collected in 2013. Pragnant and student’s behaviour in marine food consumption and their perceived risks related to consuming marine food was studied based on interviews relating to their knowledge and understanding about danger in consuming marine food contaminated with chemicals. In 2014, results showed cadmium in fish liver caught from Ang Sila averaged 0.2960±0.1793 ug/g wet wt. (n=30), which is higher value 6 time than the liver in fish caught from Mapthaputh that averaged 0.1859±0.1329 ug/g wet wt. (n=30). It is statistically significant with ANOVA (p<0.01). As compare to the fish meat, the Cadmium level is in both areas where Ang Sila and Mapthaputh averaged 0.0016±0.0022 ug/g wet wt. (n=30) and 0.0033±0.0024 ug/g wet wt (n=30). Six fish species were caught from Angsila with high Cadmium quantity in the liver (>0.2 ~ 1.0 ug/g wet wt.). As for Mapthaputh, the level of Cadmium quantity in the liver is high only in Mackerel (averaged 0.3081±0.0607 ug/g wet wt.) as for the total of 7 fish species catched. In 2014, the Cadmium quantities in green mussels found is lower than that fish liver. Around Ang Sila, the Cadmium concentration in small green mussels averaged 0.0644±0.0071 ug/g wet wt.(n=20), and large green mussels that averaged 0.0764±0.0064 ug/g wet wt.(n=20). On the contrary, around Mapthaputh area, Cadmium concentration from large (averaged 0.0103±0.0019 ug/g wet wt. (n=20) and small green mussels (averaged 0.0123±0.0031 ug/g wet wt.). And, Cadmium concentration in green mussels of both large and small around Ang Sila is higher than that Mapthaputh with statistical significance (p < 0.01). Farmed-mussel (as control) collected form Trat Province found cadmium concentration (n=10) with average 0.1171±0.0098 ug/g wet wt In 2014, the concentation of PAHs in fish liver from Ang Sila averaged 0.1041±0.1026 ug/g dry wt. (n=30), which is 4 times higher in fish meat that averaged 0.0270±0.0519 ug/g dry wt. (n=30). This is significant statistically with ANOVA (p<0.01). As for Mapthaputh area, the concentration of PAHs in fish liver averaged 0.0546±0.0547 ug/g dry wt. (n=30), which is 2.7 times higher than fish meat that averaged 0.0201±0.0278 ug/g dry wt. (n=30), significant statistically with ANOVA (p<0.01). The concentation of PAHs in fish liver from Ang Sila is 2 times higher than that from Mapthaputh. In 2014, the concentration of total PAHs from large green mussels in Ang Sila averaged 0.0500±0.0194 ug/g dry wt. (n=30), which is 2 times higher than small green mussels that averaged 0.1834±0.0567 ug/g dry wt. (n=30), with statistical significance with ANOVA (p<0.01). As for Mapthaputh, the concentration of PAHs in large green mussels averaged 0.1834±0.0567 ug/g dry wt. (n=30), which is 13 times higher than small green mussels that averaged 0.0142±0.1004 ug/g dry wt. (n=30). It is different with statistical significance (p<0.01). The total concentration of PAHs of large size of green mussles from Ang Sila is 3.6 times higher than that from Mapthaputh with statistical significance (p<0.01). Farmed-mussel (as control) collected form Trat Province found no PAHs concentration (n=10) In 2014, fish (liver and muscle) from both stations and from Ang Sila (small and large size of green musselfound 3 types of low molecular weight PAH namely Phenanthrene (PHE), Pyrene (PYR), Fluoranthene (FLA). For Maptaohut, Chrysene (CHR) found additional type beside 3 types of PAHs in small size of green mussl while large size found additional type of Acenaphthylene (ACY) and Chrysene (CHR). In 2014, fish liver from both stations found 4 types of low molecular weight namely Phenanthrene (PHE), Pyrene (PYR), Fluoranthene (FLA), และ Chrysene (CHR) and 1 more type (Benz[a]anthracene, BaA) found from Angsila. From the same fish sample, fish muscle is no longer CHR accumulated. In other word, large mussel from both stations found the same 3 types namely PHE, FLA and PYR, while 3 more types (Acenaphthylene, ACY; Acenaphthene, ACE and CHR) found from Maptaphut. Results from small mussel, 2 types (PHE and FLA) were found from Angsila, while Maptaphut has detected 3 types (FLA, PYR and CHR. According to the International Agency for Research on Cancer, BaA and CHR are considered classify as possibly carcinogenic to human. In 2014, the expression of CYP1A (molecular mass at 76/54 kDa, Wester Blot detection) in marine fish from Ang Sila using antibody technique shows 60% positive results from 60 samples (12 fish species) as for Mapthaputh area, there are 100% positive results from 60 samples (7 fish species). Metallothionein (MT) expression (size 10 kDa) from Ang Sila was found 33.3% positive results from 60 samples as for Mapthaputh, 73.3 positive results out from 60 samples. Fish species as categorized by its consumption behaviour (carnivore, omnivore and herbivore) has no significance statistically in relation to expression of CYP1A and MT. In 2014, the expression of CYP1A (56 kDa) with antibody technique was found in green mussels for both Ang Sila and Mapthaputh. However, the concentration of the bioindicator band can verify different concentrations of samples. Both small and large green mussels from Ang Sila were verified by antibody and antigen with thin concentration (+) and average concentration (++) only. As for Mapthaputh, small and large green mussels have average (++) and high concentration (+++) only. Farmed-mussel (as control) collected form Trat Province found CYP1A from all samples (n=10) Seafood consumption and knowledge about risks associated with seafood consumption of consumers were investigated. For the first two years of investigation (2012-2013), pregnant women are the most vulnerable group as compared to children and general public living around Maptaphut area because they have the lowest knowledge about chemical contamination in seafood and their seafood consumption behavior is at risk. In 2014, a design was performed to identify the effects of an initiative to promote safe seafood consumption among pregnant women living around Maptaphut area, Rayong Province were investigated. Pregnant women were enrolled in a conducted program that promotes health and well-being, which was adopted from Pender’s principles for health promotion. Two types of activities were conducted in the program: participatory activities involving communication materials (manuals and videos) and active promotion that include sending information through phone SMS. Pregnant women (average age is 26) have education at the junior high school level and currently work as laborers. Most of them frequently prefer to consume seafood such as mackerel, squids, shrimps, crabs, and green mussels respectively. They are patients of a hospital in Mapthaphut, Rayong Province. Based on the consumption behavior before and after women enrolled in health promotion program for safe seafood consumption, it was found that there was an improved knowledge on the risks associated with seafood consumption and the ability for pregnant women to consuming seafood with statistically significant difference at (p<0.01). As for the knowledge about the emotion related to seafood consumption, it was found that there was no significant difference between before and after the experiment at P=0.069. Overall results of 3 years research, it can be concluded that pregnant women consumption behavior had changed in general when compared between before and after their enrollment in the health promotion for safe seafood consumption with statistically significant difference at p <0.01. After the experiment, the average equaled 52.80 and the average before the experiment was 46.97.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/928
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_034.pdf16.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น