กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/919
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุลาดำที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of low temperature preservation technology of black tiger shrimp (Penaeus monodon) spermatophores for aquaculture and conservation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งกุลาดำ
น้ำเชื้อ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำที่อุณหภูมิต่ำเพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์ในปีที่ 1 ของการวิจัยได้ศึกษา การเปลี่ยนแปลงคุณภาพสเปิร์มของพ่อพันธุ์กุ้งกุลาดำและพัฒนาเทคโนโลยีการแช่เย็นถุงสเปิร์มกุ้งกุลาดำ การศึกษาคุณภาพสเปิร์มกุ้ง ทำโดยการสุ่มกุ้งกุลาดำจากบ่อดินที่เลี้ยงขุนทุก ๆเดือน ตั้งแต่กุ้งมีอายุ 7 เดือน ถึง 18 เดือน พบว่า กุ้งมีถุงสเปิร์มสีขาวชัดเจนเมื่อกุ้งมีอายุ 9 เดือนขึ้นไปแม้ว่าเปอร์เซ็นต์กุ้งที่สามารถรีดถุงสเปิร์มออกมาได้ยังมีค่าไม่มาก และกุ้งอายุ 10-17 เดือนมีเปอร์เซ็นต์ที่สามารถรีดถุงสเปิร์มออกมาได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจาก 50% เป็น 95% การแช่เย็นถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำ ทำโดยนำถุงสเปิร์ม หรือถุงน้ำเชื้อ (spermatophore) มาแช่ในสารละลายบัฟเฟอร์ 4 ชนิดได้แก่ mineral oil, ringer solution, phosphate buffer และ 0.85% NaCl ที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียส แล้วทำการประเมินคุณภาพสเปิร์มทุก 7 วัน พบว่า ถุงเสปิร์มที่แช่ในสารละลาย mineral oil นาน 35 วันยังคงมีลักษณะภายนอกของถุงที่คงรูป และมีเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิตสูง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/919
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น