กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/918
ชื่อเรื่อง: โครงการเฝ้าระวังและการวางแนวทางป้องกันการเกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬในบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิชัย สนแจ้ง
แววตา ทองระอา
ฉลวย มุสิกะ
ธิดารัตน์ น้อยรักษา
ขวัญเรือน ศรีนุ้ย
วันชัย วงสุดาวรรณ
สุเมตต์ ปุจฉาการ
อาวุธ หมั่นหาผล
อัจฉรี ฟูปิง
สุพัตรา ตะเหล็บ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ขี้ปลาวาฬ
น้ำทะเลเปลี่ยนสี
มลพิษทางทะเล - - ชลบุรี
แพลงค์ตอนพืช
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การเฝ้าระวังและติดตามการเกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬในบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรีตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง ถึงเกาะสีชัง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีรายงานการเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวบ่อยครั้ง ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและคุณภาพดินตะกอนบางประการ ศึกษาองค์ประกอบชนิด ความชุกชุมและการกระจายของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ เน้นในกลุ่มที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ และความสัมพันธ์กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการ รวมทั้งแนวทางป้องกันการเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว ทำการศึกษาในระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2548 (23 ครั้ง) และเดือนมกราคม-ตุลาคม 2549 (4 ครั้ง) รวมสำรวจทั้งหมด 27 ครั้ง จำนวน 13 สถานี ผลการศึกษา พบว่าคุณภาพน้ำมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำชายฝั่งทะเลของไทย ยกเว้นออกซิเจนละลาย อุณหภูมิ และแอมโมเนียบางสถานีที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ สารอาหารไนเตรต ฟอสเฟต และซิลิเกตในน้ำรวมทั้งสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำ พบสูงในบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง-อ่าวชลบุรี และลดต่ำลงในสถานีไกลจากปากแม่น้ำลงไปจนถึงเกาะสรชัง ส่วนสารอาหารในดินตะกอนนั้นพบสูงในบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเช่นเดียวกัน การสำรวจแพลงก์ตอนพืชนั้น พบว่า กลุ่มไดอะตอมมีการกระจายทุกสถานีและมีความหนาแน่นสูงสุดทุกครั้งที่สำรวจประมาณร้อยละ 90 ของแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด การสำรวจการเกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ พบว่าเกิดบ่อยครั้งในระดับความรุนแรงต่าง ๆ กัน ในปี 2548 เกิดขึ้นเกือบตลอดทั้งปี ทำให้ปลาและสัตว์น้ำตาย 3 ครั้ง และในเดือนสิงหาคม เกิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานตลอดทั้งเดือน ในปี 2549 ส่วนใหญ่เกิดในระดับที่ไม่รุนแรง แต่พบ 1 ครั้งที่ทำให้ปลาและสัตว์น้ำตายจำนวนมาก ปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงต้น ฤดูร้อน ต้นฤดูฝน และฤดูฝน แพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว ได้แก่ แพลงก์กลุ่มพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scinnitllans เป็นส่วนใหญ่ ในบางครั้งพบเป็นสาเหตุเกิดร่วมกับ Ceratium spp. รวมทั้งแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม Skeletonema costatum และ Chaetoceros spp. ปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ อันมีสาเหตุจาก Noctiluca (>100 เซลล์/ลิตร) และ Ceratium (>50,000 เซลล์/ลิตร) พบที่ความเค็มระหว่าง 21-35 และ 25-35 ส่วนในพันส่วน ตามลำดับ โดยเฉพาะที่ Noctiluca หนาแน่นสูงสุดนั้น (19,312 เซลล์/ลิตร) พบที่ความเค็ม 30 ส่วนในพันส่วน สำหรับ Skeletonema และ Chaetoceros (>100,000 เซลล์/ลิตร) พบที่ความเค็มระหว่าง 1-31 และ 10-35 ส่วนในพันส่วน ตามลำดับ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฎการณ์กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมและการเปรียบเทียบสารอาหารในน้ำที่พบในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬร่วมกับระดับความเค็มที่เหมาะสมดังกล่าวข้างต้น โดยแหล่งของฟอสเฟตและสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำ มาจากกิจกรรมต่าง ๆ บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงและสถานีใกล้เคียงที่อยู่ถัดลงมา เนื่องจากพบปริมาณสูงในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งฟอสเฟตบางส่วนอาจมาจากกระบวนการธรรมชาติจากการปลดปล่อยของฟอสเฟตในดินตะกอนที่อยู่ในรูปของสารประกอบของเหล็กและอลูมินัม ซึ่งพบมากในบริเวณปากแม่น้ำบาง ปะกงอีกด้วย นอกจากนี้การศึกษาความสัมพันธ์กับแพลงก์ตอนสัตว์ พบว่า Noctiluca มีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับไข่ปลา และโปรโตซัว Favella spp. แต่ไม่พบความสัมพันธ์ใด ๆ กับลูกปลา และโคพีพอด ปลากฎการณ์ขี้ปลาวาฬเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีความซับซ้อนต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่ายในการจัดการแก้ไข เนื่องจากสารอาหารและของเสียต่าง ๆ ที่ถูกพัดพาจากบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำสายอื่น ๆในบริเวณอ่าวไทยตอนบนมาจากหลายแหล่ง ดังนั้นการจัดการการแก้ไขและป้องกันการเกิด จึงไม่ใช่เป็นปัยหาในระดับท้องถิ่นหรือจังหวัดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาในระดับชาติที่ต้องอาศัยการประสานงานกันขององค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชาวประมงหรือผู้ประกอบการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น มาร่วมมือกันในการจัดการ วางนโยบาย รวมทั้งการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ และที่สำคัญยังต้องมีการติดตามและตรวจเฝ้าระวังการเกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬอยู่เสมอทั้งในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์และในภาวะปกติ ซึ่งการตรวจติดตามดังกล่าว ควรมีการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบชนิด และความหนาแน่นของแพลงก์ตอนแต่ละชนิดโดยเฉพาะกลุ่มที่สามารถสร้างสารชีวพิษ รวมทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในบริเวณที่ทำการศึกษา และกิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบนฝั่งประกอบด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/918
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น