กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/905
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์บริสุทธิ์จากชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทยเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study on the cultures of phytoplankton and zooplankton from the Eastern coast of Thailand for larvae aquaculture
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ขวัญเรือน ปิ่นแก้ว
อมรรัตน์ ชมรุ่ง
ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน
ปิยะวรรณ ศรีวิลาศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: แพลงค์ตอน - - การวิจัย
แพลค์ตอนสัตว์ - - การวิจัย
แพลงค์ตอนพืช - - การวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2540
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: นำตัวอย่างไดอะตอม 3 ชนิด ได้แก่ chaetoceros calcitrans, Tetrasellmis chuii , Isochrysis galbana สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 2 ชนิด ได้แก่ BG1, BG2, และแพลงตอนก์สัตว์ 4 ชนิด ได้แก่ กุังเคย, อาร์ทีเมียตัวเต้มวัยแข่น้ำมันตับปลา, อารืทีเมียอายุ 1 วัน, และ โคพีพอด มาทำการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารในแพลงก์ตอนพืชพบว่า C. calcitrans มีปริมาณโปรตีนสูงสุดรองลงมา ได้แก่ T.chuii และ I. galbana เท่ากับ 25.26ม 24.92 และ 2.53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน BG 1 พบกรดไขมัน 0.99 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเปียกและ BG 2 มีกรดไขมัน 0.77 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเปียก ในแพลงก์ตอนสัตว์พบว่า กุ้งเคย มีปริมาณโปรตีนสูงสุด รองลงมา ได้แก่ อาร์ทีเมียตัวเต็มวัยแช่น้ำมันตับปลา, อารืทีเมียอายุ 1 วัน, และโคพีพอด เท่ากับ 30.87, 29.0, 26.16 และ 5.24 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทำการเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ Perna viridis (L) ในห้องปฏิบัติการระยะเวลา 2 เดือน โดยเลี้ยงด้วยอาหาร Thallassiosira sp.,C. calcitrans และ Lithodesmium sp. พบการเจริญเติบโตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นำสาหร่าย 3 ชนิดไปเลี้ยงอารืทีเมีย พบว่าที่เลี้ยงด้วย T. chuii, C. calcitrans และ BG 1 มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นจากน้ำหนักเริ่มต้นเท่ากับ 48.4+-0.53, 10.1+-0.12 และ 0.4+-0.01 กรัม ตามลำดับ และนำสาหร่าย 4 ชนิดไปเลี้ยงโคพีพอด Apocyclops sp. พบว่า I. galbana, C. calcitrans, Chloreilla sp. และ T. chuii มีความหนาแน่นเท่ากับ 4255, 977, 877 และ 833 ตัว/ลิตรตามลำดับ และเมื่อนำโคพีพอด A.sp ไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 ระดับ พบว่าที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 10 วัน มีอัตราการรอดตายเท่ากับ 83.25 เปอร์เซ็นต์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/905
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_224.pdf4.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น