กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/890
ชื่อเรื่อง: ผลของความเค็มน้ำ ชนิดอาหาร และสิ่งหลบซ่อนต่อการพัฒนาการ การเจริญเติบโตและการรอดตายของการอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus linnaeus)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of salinity, type of feed, and shelter on development, growth and survival rate for larviculture of blue swimming crab (portunus pelagicus)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญรัตน์ ประทุมชาติ
สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ปูม้า - - การเจริญเติบโต
ปูม้า - - วิจัย
ปูม้า - - อาหาร
ปูม้า
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ทำการทดลองอนุบาลปูม้า (Portunus pelagicus) เชิงพาณิชย์ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะซุเอีย (Zoea Stage) ระยะเมกาโลเปา (Magalopa Stage) ระยะตัวปู ( Crab Stage) ด้วยการออกแบบการทดลองแบบเฟลทอเรียล ในบ่อคอนกรีตขนาด 1.3 เมตร x 3.35 เมตร x 0.07เมตร โดยใช้ระดับความหนาแน่น 225 ตัว/ลิตร, 20ตัวตัว/ลิตร, และ2 ตัว /ตารางนิ้ว ตามลำดับ ภายใต้ระดับความเค็มน้ำ 24 , 27 และ 30 ppt โดยมีชนิดของอาหารเป็นปัจจัยร่วมในการอนุบาลลูกปูระยะซูเอีย และการใช้วัสดุหลบซ่อนของการอนุบาลในระยะเมกาโลเปาและระยะตัวปู เพื่อตรวจสอบการรอดตาย การเจริญเติบโต และการพัฒนาการของลูกปูม้า ผลจากการอนุบาลในระยะซูเอีย พบว่า ชนิดอาหารมีผลต่อการรอดตาย กล่าวคือการอนุบาลโดยให้โรติเฟอร์กับอาร์ทีเมียวัยอ่อน มีอัตราการรอดตายสูงสุด (56.1±1.8%) โดยสูงกว่าการอนุบาลด้วยโรติเฟอร์ร่วมกับอาร์ทีเมียเฟลก(42.4±2.1)ขณะที่ไม่แตกต่างไปจากการใช้โรติเฟอร์ร่วมกับไรแดง (P<0.05) ชนิดอาหาร ความเค็มน้ำ และความเค็มน้ำร่วมกับอาหาร มีผลต่อการเจริเติบโต (P<0.05) การอนุบาลความเต็มน้ำ 24 และ27 ppt ลูกปูจะมีความยาวสูงกว่าการอนุบาลในน้ำเค็ม 30 ppt ส่งผลให้ลูกปูระยะซูเอียใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด (8.1±0.4วัน) การใช้โรติเฟอร์ร่วมกับอาร์ทีเมียเฟลก ส่งผลให้ใช้เวลาในการพัฒนาการของลูกปูระยะซูเอียนานที่สุด (P<0.05) ขณะที่ความเค็มน้ำร่วมกับชนิดอาหารไม่มีผลต่อระยะเวลาการพัฒนาการ (P<0.05) ผลการอนุบาลปูม้าระยะเมกาโลปาและตัวปู (C1-C5) พบว่าความเค็มน้ำ และความเค็มน้ำร่วมกับการใช้วัสดุหลบซ่อนไม่มีผลต่ออัตราการรอดตาย การเจริญเติบโต และการพัฒนาการของลูกปูทั้งสองระยะ (P<0.05) การใช้วัสดุหลบซ่อนแขวนแนวดิ่ง ส่งผลให้ลูกปูระยะเมกาโลปามีอัตราการรอดตาย (58.9±1.9%) สูงกว่าการใส่วัสดุกองพื้น และให้ผลในทางกลับกันในระยะตัวปู (P<0.05) ในทางตรงกันข้ามการใส่วัสดุหลบซ่อนแขวนแนวดิ่ง ส่งผลให้ลูกปูระยะเมกาโลปามีการเจริญเติบโตช้ากว่าการใช้วัสดุหลบซ่อนกองที่พื้น และให้ผลในทางกลับกันในระยะตัวปู (P<0.05)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/890
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น