กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/879
ชื่อเรื่อง: ความชุกของกลุ่มอาการอาคารป่วยของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงานภายในมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The prevalence of sick building syndrome of official workers in Burapha University, Bangsean collage
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติ กรุงไกรเพชร
ลักษณาพร กรุงไกรเพชร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: Indoor air quality
Office synfrome
Sick building
โรคอาคารป่วย
โรคจากอาคาร
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจ วัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของกลุ่มอาการอาคารป่วย (Sick Building Syndrome) ในกลุ่มของบุคลากรที่ทำงานประจำในสำนักงาน ภายในมหาวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรที่ทำงานประจำในสำนักงาน ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ปี พ.ศ. 2554 กลุ่มตัวอย่าง ทำการเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sample) และเลือกตัวอย่างจากแต่ละชั้นโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental Sample) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 505 คน ซึ่งจำแนกตามคณะ ศูนย์หรือสถาบัน เป็นเพศชาย 124 คน (ร้อยละ 25) เพศหญิง 381 คน (ร้อยละ 75) โดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบียงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า อายุเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 35.38±0.40 โดยมีอายุตั้งแต่ 20 ถึง 61 ปี อายุงานเฉลี่ยเท่ากับ 7.8 ปี ค่าเฉลี่ยของวันทำงานต่อสัปดาห์เท่ากับ 5.29 วัน ค่าเฉลี่ยของชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันเท่ากับ 6.5 สถานที่ทำงานส่วนใหญ่อยู่รวมกันโดยไม่มีพาทิชั่นกั้น ไม่มีการปูพรม เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ ผนังห้องเป็นแบบทาสีอ่อน บุคลากรอยู่รวมกันในห้องเดียวกันเฉลี่ย 7 คน สุขลักษณะของห้องทำงานมีความสะอาดปานกลาง อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีการสัมผัสหรือใช้งานบ่อย ๆ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด และเครื่องปรับอากาศกึ่งหนึ่งเห็นว่ามีกระแสลมพัดน้อยเกินไปพอ ๆ กับกึ่งหนึ่งเห็นว่าเหมาะสมแล้ว แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้สึกอึดอัดสองในสามบุคลากรมีอาการเจ็บป่วยอยู่ก่อน โดยอาการที่พบมากที่สุดคือ ปวดศรีษะข้างเดียวและการแพ้อากาศ รองลงทาคือ แพ้ฝุ่น/ ละอองเกสรดอกไม้/ขนสัตว์ ผิวหนังอักเสบ ไซนัสอักเสบ และหอบหืดตามลำดับ บุคลากรส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ กลุ่มอาการอาคารป่วยที่พบบ่อยคือ กลุ่มอาการทั่วไปของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ประมาณร้อยละ 50 รองลงมาคือกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจส่วนต้นกลุ่มอาการทางตา กลุ่มอาการทางผิวหนัง กลุ่มอาการทางปอดและกลุ่มอาการติดเชื้อตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามเงื่อนไขที่กำหนดของการวินิจฉัย การมีกลุ่มอาการอาคารป่วยแล้ว พบว่าความชุกเท่ากับร้อยละ 14.5 แต่เมื่อคัดแยกผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยออกไปจะมีเพียงร้อยละ 3.2 เท่านั้น ที่เข้าเกณฑ์กลุ่มอาการอาคารป่วย สรุปผลการวิจัย ความชุกของกลุ่มอาการอาคารป่วยเท่ากับร้อยละ 3.2 จึงอาจกล่าวได้ว่า อาคารสำนักงานในมหาวิทยาลัยบูรพา ไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากกรบริหารจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพของสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 ตามที่หน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยได้รับการรับรอง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/879
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_077.pdf2.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น