กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/863
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุลth
dc.contributor.authorชลี ไพบูลย์กิจกุลth
dc.contributor.authorมลฤดี สนธิth
dc.contributor.authorบัญชา นิลเกิดth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/863
dc.description.abstractการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง การทดลองแรก ผลของการเพิ่มแคลเซียมและฟอสฟอรัสในน้ำต่อการเจริญเติบโตของหอยหวานระยะวัยรุ่น พบว่าการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักของทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ในการเจริญเติบโตด้านความยาวพบว่าหอยหวานที่เลี้ยงด้วยระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด และมีการเติมแคลเซียมให้การเจริญเติบโตด้านความยาวมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองอัตราการรอดของหอยหวานทุกชุดทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) การทดลองที่สองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมในน้ำต่อการเจริญเติบโตของหอยหวานระยะวัยรุ่น (Babylonia areolata Link, 1807) จากการทดลองพบว่าอัตราการดูดซึมแคลเซียมของหอยหวานระยะวัยรุ่นมีค่าเท่ากับ 0.42 mg/Ca/g/day และมีแนวโน้มว่าการเลี้ยงหอยหวานในระบบปิดที่เติมแคลเซียม จะทำให้การเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก ความยาวเปลือก และความกว้างเปลือกรวมถึงดัชนีน้ำหนักเปลือกหอยต่อเนื้อของหอยหวาน การสะสมแคลเซียมในเปลือกและเนื้อของหอยหวาน สูงกว่าการเลี้ยงในระบบปิดที่ไม่เติมแคลเซียม การทดลองที่สามมีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสที่เหมาะสมในการเลี้ยงหอยหวาน (Babylonia areolata) โดยทำอาหารสำเร็จรูปจำนวน 9 สูตร ซึ่งมีระดับโปรตีนคงที่ 30 เปอร์เซ็นต์ และมีระดับของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสแตกต่างกัน ดังนี้ 0:0, 0:1.5, 0:3, 1.5:0, 1.5:1.5, 1.5:3, 3:0, 3:1.5 และ 3:3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยทดลองเลี้ยงในหอยหวานอายุ 4 เดือน ความหนาแน่น 85.71 ตัว/ตารางเมตร ให้อาหารสำเร็จรูป 2 เวลา คือ 09:30 น. และ 15:00 น. ระยะเวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ ในระหว่างการทดลองมีการตรวจวัดอัตราการเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก และความยาวรวมถึงอัตราการรอดทุก 15 วัน ผลการทดลองพบว่าอาหารสำเร็จรูปที่มีระดับแคลเซียม 0, 1.5 และ 3 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้มีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และอัตราการรอดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ส่วนอาหารสำเร็จรูปที่มีระดับฟอสฟอรัส 0, 1.5 และ 3 เปอร์เซ็นต์ พบว่าทั้งอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05)th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2551-2552 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีth_TH
dc.subjectหอยหวานth_TH
dc.subjectหวาน - - การเลี้ยงth_TH
dc.subjectหวาน - - วิจัยth_TH
dc.subjectหอยหวาน - - การเจริญเติบโตth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการศึกษาอัตราการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพื่อเพิ่มผลผลิตในการเพาะเลี้ยงหอยหวานวัยรุ่นในเชิงพาณิชย์ (Babylonia areolata, link 1807)th_TH
dc.title.alternativeStudy of calcium and phosphorus absorption rate for increasing production in juvenile babylon snail (Babylonia areolata, link 1870) commercial cultureen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2553
dc.description.abstractalternativeAbstract The study was divided into 3 experiments. The first experiment, study the effect of calcium and phosphorus supplements in water on growth rate of juvenile spotted bybylon Babylonia areolata link, 1807. The result found that the average shell weight of spotted babylon in all treatments had no significant differences (P > 0.05). The average shell lenght was found in spotted babylon were reared into closed system, Added Ca (412 ppm) (P < 0.05) were significantly higher then other treatments. At the end of the study, survival rate of spotted babylon of all treatment had not significant differences (P > 0.05) The second experiment was to determine of calcium absorption rate in seawater on growth rate of juvenile spotted babylon Babylonia areolata Link, 1807. The result found that the absorption rate of calcium for juvenile babylon in closed system with added calcium could improved weight, shell length, shell width and index of shell weight per body weight. Accumlation of calcium in closed system with added calcium had higher than those cultured in closed system without added calcium. The objective of the last experiment was to examine the suitable of calcium per phosphorus level on the growth rates of spotted babylon (Babylonia areolata Link, 1807). The factorial design had been used in this study. There were fixed protein level in feed to 30 percent protein while the proportions of calcium to phosphorus were 0:0, 0:1.5, 0:3, 1.5:0, 1.5:1.5, 1.5:3, 3:0, 3:1.5 and 3:3 percent. Four-month old spotted babylon were the subjects of the study with stocking density at 85.71 shell/m2. The feeding times were twice per day at 09:30 and 15:00. This experiment was operated 16 weeks. Data on growth rates considered from their weight and length and survival rates had been collected every 15 day. The resulted of calcium in diet show that growth rates had different significance (P < 0.05) while survival rates had no different significance (P > 0.05). According to the results we concluded that the growth rates and survival rates had no different significance (P > 0.05) in case of phosphorus in diet.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น