กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/862
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:47Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:47Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/862
dc.description.abstractการวิจัยสภาวะแวดล้อมทางทะเลในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในระหว่างเดือนตุลาคม 2543 ถึงเดือนกรกฎาคม 2544 ทำการศึกษาติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทั่วไป ปริมาณคลอโรฟิลด์ จุลินทรีย์ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ โคพีพอด และสัตว์หน้าดิน จำนวน 4 ครั้ง ทำการศึกษาปริมาณโลหะหนักในน้ำ และในตะกอนดิน จำนวน 2 ครั้ง (ฤดูแล้งและฤดูฝน) โดยให้ครอบคลุมพื้นที่บริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกทั้ง 5 จังหวัด คือฉะเชิงเทราทั้ง 5 จังหวัด คือฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด พบว่าคุณสมบัติของน้ำทะเลทางด้านกายภาพและทางด้านเคมี โดยรวมทั้งในฤดูแล้งแลสถานีแม่น้ำประแสร์ แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำระยอง และแม่น้ำบางปะกง ตามลำดับ แต่ไม่มีเกณฑ์มาตรฐานะฤดูฝน มีต่าที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ค่าที่ตรวจพบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำชายฝั่งของประเทศไทย ยกเว้นความเค็มบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง ในฤดูฝนมีปริมาณน้ำท่ามากทำให้ค่าของความเค็มเป็นศูนย์พีเอสยู ขณะที่ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มแบคทีเรียในทุกๆสถานีใกล้ฝั่งของบริเวณที่ทำการศึกษามีการปนเปื้อนอยู่สูงในฤดูฝนซึ่งเกินเกณฑ์มาตราฐานคุณภาพน้ำชายฝั่งที่กำหนดไว้ ยกเว้นบริเวณหาดบางแสนมีการปนเปื้อนน้อยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่งสองฤดูกาล แต่ในบริเวณหาดพัทยามีการปนเปื้อนสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานทั้งสองฤดูกาล ส่วนแบคทีเรียในกลุ่มฟิคอลโคลิฟอร์ม ในทุกสถานีพบมีน้อย (<2 ถึง 700 MPN/100ml.) ยกเว้นในฤดูฝนการปนเปื้อนมีสูงในสถานีแม่น้ำประแสร์ แม่น้ำระยอง และแม่น้ำบางปะกง จามลำดับ แต่ไม่มีเกณฑ์มาตรฐานของฟิคอลโคลิฟอร์มกำหนดไว้ การศึกษาในดัชนีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำทางด้านชนิดและปริมาณของคลอโรฟิลลืพบว่าในช่วงฤดูฝนเดือนตุลาคม 2543 เดือนกรกฎาคม 2544 และในฤดูแล้งเดือนมกราคม และเดือนเมษายน 2544 จะมีปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และฟีโอไฟ ติน เอ สูงสุดที่ในบริเวณเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในสถานีท่าเรืออ่างศิลา และพบว่าแพลงก์ตอนพืชที่สำรวจมี 6 ดิวิชัน ได้แก่ ดิวิชัน Bacillariophyta 44 สกุล ดิวิชัน Chlorophyta 6 สกุล ดิวิชัน Chrysophyta 2 สกุล ดิวิชัน Cyanophyta 8 สกุล ดิวิชัน Euglenophyta 2 สกุล และดิวิชัน Pyrrophyta 11 สกุล สำหรับสกุลที่พบมากได้แก่ Chaetoceros Protoperidinium Coscinodiscus Cylindrotheca Odontella Rhizosolenia Nitzschia และ Navicula ตามลำดับ ในรอบปีมีความชุกชุมเฉลี่ยของแพลงก์ตอนพืช 5,719 – 37,341 เซลล์ต่อลิตร ดัชนีความมากชนิด 16.4 – 24.5 ความเท่าเทียมกันของแต่ละชนิด 0.299 – 0.511 และดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ 0.08- 1.58 การศึกษาชนิดและการแพร่กระจายแพลงก์ตอนสัตว์ พบมีความหนาแน่นสูงสุดและต่ำสุด โดยพบ Codonellopsis sp. สูงสุดเท่ากับ 1475.0 ตัวต่อลิตร ในบริเวณไกลฝั่งศรีราชา และพบหอยฝาเดียววันอ่อนต่ำสุดเท่ากับ 0.11 ตัวต่อลิตร บริเวณหาดแม่รำพึง ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2544 การศึกษาชนิดและการแพร่กระจายของโคพีพอด พบโคพีพอด 4 อันดับย่อย ประกอบด้วย 20 สกุล และ 37 ชนิด ในเขตที่พบความชุกชมมากที่สุดคือ เขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และเขตที่พบความชุกชุมน้อยที่สุดคือ ในเขตสงวนรักษาธรรมชาติ ส่วนการศึกษาความหนาแน่น มวลชีวภาพ และดัชนีความหลากหลายของสัตว์ทะเลหน้าดิน พบสัตว์ทะเลหน้าดินทั้งสิ้น 10 ไฟลัม โดยพบไฟลัม Annelida ได้แก่ ไส้เดือนทะแลมีความชุกชุมมากที่สุด รองลงมาคือ ไฟลัม Mollusca (หอยและหมึก) และไฟลัมArthropoda (กุ้ง กั้ง ปู) ตามลำดับ โดยภาพรวมแล้วการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่น มวลชีวภาพและดัชนีความหลากหลายของสัตว์หน้าดินทั้ง 28 สถานี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนเมษายน และลดลงในเดือนตุลาคม สภาพของสัตว์หน้าดินในเขตสงวนรักษาธรรมชาติ เขตนันทนาการเพื่อการว่ายน้ำ เขตเมืองและการใช้ประโยชน์อื่นๆมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง ขณะที่เขตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และเขตอุตสาหกรรมค่อนข้างที่จุดมสมบูรณ์ในระดับคงที่ ขณะเดียวกันการศึกษาสภาวะมลพิษในแหล่งน้ำและตะกอนดินพบว่ามีการปนเปื้อนของโลหะหนักในน้ำในรูปของสารละลายในฤดูแล้งมีความเข้มข้นสูงกว่าในฤดูฝน สถานีใกล้ฝั่งและไกลฝั่งการปนเปื้อนมีค่าใกล้เคียงกัน และไม่พบความแตกต่างของการแพร่กระจายในแนวดิ่งที่ระดับผิวน้ำและใต้น้ำที่ระดับพื้นท้องน้ำปริมาณโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบการมาตรฐานโลหะหนักในน้ำทะเลชายฝั่งของประเทศไทย ขณะที่การปนเปื้อนของโลหะหนักในตะกอนดินบริเวณชายฝั่งบริเวณภาคตะวันออกของอ่าวไทย ในเดือนเมษายน และเดือนกรกฎาคม 2544 พบระดับการปนเปื้อนของแคดเมียม มีความแตกต่างตามฤดูกาล ในขณะที่ ทองแดง เหล็ก ปรอทตะกั่ว และสังกะสี มีความแตกต่างตามฤดูกาลแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานีที่ศึกษาด้วย ส่วนแมงกานีสพบความปนเปื้อนจะแตกต่างตามพื้นที่และสถานีที่ทำการศึกษา แต่ไม่พบความแตกต่างตามฤดูกาล ความเข้มข้นที่พบจากการศึกษายังไม่เกินค่าเกณฑ์มาตรฐานฮ่องกงยกเว้น ปรอท ในบางสถานีth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2544 มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectชายฝั่ง - - ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectนิเวศวิทยาชายฝั่ง - - ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectนิเวศวิทยาทะเลth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleสภาวะแวดล้อมทางทะเลในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeMarine environmental survey along the Eastern coast of Thailanden
dc.typeResearch
dc.year2545
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น