กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/857
ชื่อเรื่อง: ภาวะหนี้สินของบุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2545
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมมาตุ มหารักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: บุคลากรทางการศึกษา - - การเงินส่วนบุคคล
มหาวิทยาลัยบูรพา - - ข้าราชการและพนักงาน
สาขาเศรษฐศาสตร์
หนี้
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาภาวะหนี้สินและปัจจัยที่มีผลต่อภาวระหนี้สินของบุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2545 โดยมุ่งศึกษาการใช้จ่ายในการครองชีพและหนี้สินกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากร ของมหาวิทยาลัยบูรพาที่บางแสนทั้งสาย ก, ข, ค ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 323 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for window ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย (X ̅) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของภาวะหนี้สินของบุคลากรที่มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยใช้การทดสอบค่า t-test ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของภาวะหนี้สินของบุคลากรที่มีกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่ม โดยใช้ One-way ANOVA จากการศึกษาพบว่า ภาวะหนี้สินของบุคคลกรมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ.2545 ร้อยละ 60 เป็นผู้มีหนี้สินเฉลี่ยคนละ 146,312.2 บาท สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดหนี้สินคือการซื้อหรือสร้างบ้านที่อยู่อาศัย รองลงมาคือ การใช้จ่ายเพื่อดำรงชีพประจำวันประเภทบุคลากร อายุ จำนวนผู้อยู่ในอุปการระ และรายได้ ทำให้ภาวะหนี้สินแตกต่างกัน โดยบุคลากรสาย ก มี ภาวะหนี้สินสูงกว่าบุคลากรสายลูกจ้างชั่วคราว บุคลากรสาย ข, ค มีภาวะหนี้สินสูงกว่าสายลูกจ้างประจำและสายลูกจ้างชั่วคราว บุคลากรที่มีอายุ 30-39 ปี และอายุ 40-49 ปี มีภาวะหนี้สินสูงกว่าบุคลากรที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ผู้ที่มีผู้อยู่ในอุปการะ 5 คนขึ้นไป มีภาวะหนี้สินสูงกว่าผู้ที่มีผู้อุปการะ ไม่เกิน 2 คน และผู้ที่มีรายได้ 10,000-20,000 บาท มีภาวะหนี้สินสูงกว่าผู้มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท The purpose of this research is to study the factors affecting debtiness of personnel’s of Burapha University in 2002. This research has concentrated on two aspects, namely, cost of living and debt. Information used I this research was collected from sample groups of personals of Burapha University at Bangsaen with the sample size of three hundred and twenty-three. The data were collected by using questionnaire that posted to the target groups or processed by researcher himself. The data were analyzed based on the descriptive statistical techniques, which are frequency distribution, percentage, mean, standard deviation t-test and One-way ANOVA using a software package called SPPSS for window. Result of this research indicates that 60% of the personels of Burapha University are in debt of 146,312.2 Bath/person on average the causes of this debt were investment for accommodations and/or living expenses. Results of the analysis also show that status of personels, age , number of people under responsibility and level of income are the sigbificant factors at 0.05 level of significance.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/857
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น