กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/849
ชื่อเรื่อง: การวิจัยปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์แบบบูรณาการสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยระดับท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Integgrated strategic plan management action research for improving elderly quality of life at local level
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุหลาบ รัตนสัจธรรม
พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ
วัลลภ ใจดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ
คุณภาพชีวิต
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ และวิธีการจัดการคุณภาพขีวิตผู้สูงวัยในท้องถิ่น วิเคราะห์ทางเลือก สังเคราะห์จัดทำแผนและคู่มือแผนฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงวัย 408 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นายกและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนรวม 40 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแนวคำถาม มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .82-.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ถอถอยเชิงเส้นพหุแบบขั้นตอน วิเคราะห์เนื้อหา และการตรวจสอบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตผู้สูงวัยที่ศึกษา ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ ร้อยละ 42.4 มีพฤติกรรมออกกำลังกายร้อยละ 93.9 รับประทานอาหารเหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 49.8 มีค่าดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 41.2 ยังใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นน้อยกว่า ร้อยละ 40.0 มีสภาพความเสี่ยงทางด้านจิตใจ และเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมน้อยกว่าร้อยละ 50.0 มีคุณภาพชีวิตทางจิตวิญญาณมากกว่าร้อยละ 80.0 ปัจจัยกำหนดคุณภาพชีวิต ที่มีนัยสำคัณทางสถิติ (p<.01) คือ การได้รับการดูแล การออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ และการรับประทานอาหาร การปฏิบัติกิจทางศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่มีโรคประจำตัว และได้รับสวิสดิการจากหน่วยงานสาธารณสุข วิธีการจัดการคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยปัจจุบันคือได้รับบริการ และสวัสดิการจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมากกว่าร้อยละ 20 ในเรื่องการให้ความรู้เรื่องโรค การติดตามดูแลผู้ป่วยโรคเรื้องรัง และจัดแกนนำชมรมส่งเสริมสุขภาพ การร่วมทำประชาคมหมู่บ้าน บริการพ่นหมอกควันป้องกันไข้เลือดออก ออกเยี่ยมบ้าน จัดกองทุน สนับสนุน/สวัสดิการ จัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้ปลอดภัยในส่วนขอองแผนและการจัดการคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยของชุมชนในปัจจุบันและย้อนหลัง 3 ปี ส่วนใหญ่เน้นคุณภาพชีวิตทางกายและคุณภาพชีวิตทางจิตวิญญาณ ส่วนในมิติจิตใจและสังคมยังไม่เน้นมากนัก การสังเคราะห์เพื่อกำหนดทางเลือกและแผนกลยุทธ์แบบบูรณาการจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกด้านโดยเน้น มิติจิตใจและสังคมเพิ่มขึ้น ประกอบด้วยการกำหนดบทบาทและการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรสาธารณสุข ครอบครัว เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ โดยกำหนดให้มีแผนปรับ/ เพิ่มบริการและสวัดิการสุขภาพ เพิ่มทักษะและการรับรู้ของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพและโรคประจำตัว จัดตั้งอาสาสมัครตรวจคัดกรองสุขภาพ จัดเงินทุนส่งเสริมอาชีพผู้สูงวัยและผู้ดูแล จัดประกวดครอบครัวตัวอย่าง สร้างครอบครัวสัมพันธ์ จัดตลาดค้าชุมชนผักปลอดสารพิษ เพิ่มอาสาสมัครผู้สูงอายุ เพิ่มบริการ/กิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่น่าสนใจแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งผลการประเมินความสอดคล้องและการนำไปใช้ของแผลกลยุทธ์ฯ และคู่มือ อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก ดังนั้นแผลกลยุทธ์และคู่มือนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยที่มีประสิทธิภาพ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/849
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น