กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/825
ชื่อเรื่อง: ผลการวางปะการังเทียมชนิดแท่งคอนกรีตต่อทรัพยากรชายฝั่ง และรายได้จากการประมงของชาวบ้านในพื้นที่บ้านเกาะจิก ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และบ้านแหลมศอก ตำบลอ่าว
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี
วิภูษิต มัณฑะจิตร
มารุต ทิพรส
ภานุ แช่มชื่น
สันติ เอี่ยนเหล็ง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ทรัพยากรชายฝั่งทะเล
ปะการังเทียม
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ศึกษาปัจจัยทางกายภาพของปะการังเทียม องค์ประกอบทางนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตบริเวณแหล่งปะการังเทียมบ้านเกาะจิก จังหวัดจันทบุรี ทั้งสิ้น 4 สถานี และบ้านแหลมศอก จังหวัดตราด 5 สถานี ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 หลังจากจัดสร้างปะการังเทียมแบบท่อกลมบริเวณเกาะจิก เป็นเวลา 2 ปี 5 เดือน และแบบแท่งคอนกรีต เป็นเวลา 11 เดือน พบว่าการเข้าครอบครองพื้นที่ของสิ่งมีชีวิตประเภทยึดเกาะหลายชนิด โดยสิ่งมีชีวิตที่พบบนปะการังเทียมแบบท่อกลม ได้แก่ สาหร่ายปะการังอ่อน กัลปังหา ไบรโอโซน ตัวอ่อนปะการัง และเม่นทะเล สำหรับสิ่งมีชีวิตหน้าดินที่พบบนปะการังเทียมแบบแท่งคอนกรีต ได้แก่ ไบรโอโซน ไส้เดือนทะเลแบบสร้างท่อหินปูน ไฮดรอยด์ ฟองน้ำ สาหร่ายขนาดเล็ก เพรียงหิน หอย2ฝา ปะการังอ่อน และตัวอ่อนปะการังแข็ง บริเวณแหลมศอก หลังการจัดสร้างปะการังเทียมเป็นเวลา 8 เดือน พบหอยแมลงภู่เป็นองค์ประกอบหลัก สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่พบได้แก่ เม่นทะเล เพรียงหิน เพรียงหัวหอม และตัวอ่อนปะการังแข็ง ในส่วนขององค์ประกอบสังคมปลาในแหล่งปะการังเทียมเกาะจิก พบปลาจำนวน 26 ชนิด จาก 13 วงศ์ ปลาชนิดที่พบจำนวนมากที่สุดคือ ปลากะพงแถบเหลือง (Lutjanus madras) และปลาสลิดทะเลแถบ (Siganus javus) ในขณะที่แหล่งปะการังเทียมแหลมศอก พบปลาจำนวน 10 ชนิด จาก 10 วงศ์ ชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาบู่ข้างแถบ (Aspidontus dussumieri) ลักษณะการจัดวางปะการังเทียมบริเวณเกาะจิก เป็นรูปแบบการจัดวางเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเล ในขณะที่การจัดวางในพื้นที่แหลมศอกเป็นการจัดวางเพื่อการอนุรักษ์และป้องกันอวนลาก แหล่งปะการังเทียมบริเวณเกาะจิก มีปัจจัยทางกายภาพที่ความเหมาะสมในการสร้างประชาคมของสิ่งมีชีวิต พบสิ่งมีชีวิตหน้าดินและปลามีความหลากหลายมากกว่าบริเวณแหลมศอก เนื่องจากบริเวณแหลมศอกมีข้อจำกัดของปัจจัยทางกายภาพ มีปัญหาเรื่องตะกอน และการไหลเวียนของน้ำทะเลภายในอ่าวกับบริเวณทะเลเปิด ซึ่งเป็นปัจจัยจำกัดต่อสิ่งมีชีวิตที่จะเข้ามาอาศัย ในทัศนคติของชาวบ้านทั้งบ้านเกาะจิกและบ้านแหลมศอก มีความเห็นว่าการมีแหล่งปะการังเทียมช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากมีทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อรายได้ของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ในทั้ง 2 พื้นที่ยังพบปัญหาการลักลอบเข้ามาทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ซึ่งจะต้องมีการจัดการที่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายและลงโทษผู้กระทำผิด เพื่อให้ทรัพยากรชายฝั่งมีการฟื้นตัวและคงอยู่สืบต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/825
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น