กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/817
ชื่อเรื่อง: การศึกษาภาวะเมตาโบลิคซินโดรม (Metabolic Syndrome) ของประชาชนในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of metabolic syndrome of people in Chon Buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาภรณ์ ดีนาน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: Metabolib Syndrome
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
เมตาโบลิคซินโดรม
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาภาวะเมตาโบลิคซินโดรมของประชาชนในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะเมตาโบลิคซินโดรมที่มารับบริการ ณ คลินิคโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมคุณภาพประจำตำบลและหน่วยปฐมภูมิของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดชลบุรี จำนวน 330 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ของ NCEP ATP เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบสอบถามพฤติกรรมพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ สายวัดรอบเอว เครื่องวัดส่วนสูง เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและแนวคำถามสำหรับการอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา Pearson’s correlation, Multiple Regression และ การวิเคราะห์เพื่อจัดหมู่เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 60.19 ปี (M=60.19, SD=10.8) รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (M=4,941.70, SD=9868.10) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีโรค/ รับการรักษาภาวะเรื้อรัง และมีการใช้สมุนไพร/อาหารเสริม 2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การใช้สมุนไพร (r=.159,p<.05) การรับประทานของคบเคี้ยว(SNACK)(r=.136,p<.05) การควบคุมน้ำหนักร่างกาย (r=.132,p<.05) การดูรายการทีวีเพื่อสุขภาพ (r=-.137,p<.05) และการรับรู้ภาวะสุขภาพ (r=-.103,p<.05) 3. ปัจจัยทำนายเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของผู้ที่มีภาวะเมตาโบลิคซินโดรม ได้แก่ การใช้สมุนไพร (Beta=.147,p<.05) การควบคุมน้ำหนักร่างกาย (Beta=.206,p<.05) การรับประทานของขบเคี้ยว (Beta=.195,p<.05) การดูรายการทีวีเพื่อสุขภาพ(Beta=-.137,p<.05) และการรับรู้ภาวะสุขภาพ (Beta=-.123,p<.05) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายได้ร้อยละ 10.9 (p<.05) 4. ผลการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ของการอภิปรายกลุ่ม พบว่ากลุ่มตัวอย่างไม่รู้จักภาวะเมตาโบลิคซินโดรมแต่เคยได้ยินชื่อ “อ้วนลงพุง” รับรู้ว่าภาวะอ้วนลงพุงดังกล่าวเกิดจากการสะสมของไขมัน ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังตามมา สาเหตุของ “อ้วนลงพุง” ได้แก่ 1) มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม 2) ไม่ออกกำลังกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายหรือใช้ชีวิตประจำวันแบบสุขสบาย 3) มีการใช้ยาบางชนิด 4) ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ 5) จากการตั้งครรภ์ 6) มีอาหารในชุมชนอุดมสมบูรณ์และหลากหลาย หาซื้อได้ง่าย 7) ขาดสถานที่และผู้นำออกกำลังกายในชุมชนการป้องกันและลดภาวะเมตาโบลิคซินโดรม ได้แก่ 1) ควรส่งเสริมกิจกรรมระดับบุคคล เช่น ส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวรับประทานเอง ปลูกและใช้สมุนไพรเพื่อลดอาการเมื่อเกิดภาวะเมตาโบลิคซินโดรม ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 2) ควรมีกิจกรรมระดับชุมชน เช่น ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนให้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมเพื่อออกกำลังกายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ควรมีกลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและลดภาวะเมตาโบลิคซินโดรม และกระตุ้นให้มีกิจกรรมของชมรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง 3) ปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุข โดยให้บุคลากรทางด้านสุขภาพให้ความรู้คน ในชุมชนเกี่ยวกับภาวะเมตาโบลิคซินโดรม ผลกระทบต่างๆให้คำแนะนำในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและพร้อมเข้าใจปัญหาและช่วยหาแนวทาง ในการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของผู้รับบริการ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/817
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_199.pdf1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น