กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/815
ชื่อเรื่อง: การสร้างสารรงควัตถุโพรดิจิโอซินของแอคติโนมัยซีทที่แยกจากดินป่าชายเลน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prodigiosin pigment production of actinomycetes isolated from mangrove soils
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิรดี ปิลันธนภาคย์
รัตนาภรณ์ ศรีวิบูลย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ป่าชายเลน
แอคติโนมัยซีท
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการคัดเลือกแอคติโนมัยซีท ที่สามารถสร้างสารรงควัตถุสีแดงจำนวน 7 ไอโซเลต นำมาเลี้ยงด้วยอาหารต่างๆกันคือ อาหาร ISP2 อาหาร Soybean meal อาหาร Oatmeal อาหาร ISP2+น้ำมันงา และ อาหาร ISP2+น้ำมันปลา และตรวจสอบการสร้างสารรงควัตถุและฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ในขณะเดียวกันพบว่าอาหาร ISP2 ที่ไม่เติมอาหารธรรมชาติอื่นๆให้ผลการสร้างสารรงควัตถุและให้ฤทธิ์ยับยั้งที่ดีกว่า และเลือกแอคติโนมัยซีทที่สามารถสร้างสารรงควัตถุที่สร้างรงควัตถุสีแดง หรือแดงคล้ำ มาเลี้ยงในอาหาร ISP2 เพื่อสกัดสารรงควัตถุให้ได้ปริมาณมาก พบว่าแอคติโนมัยซีท 54-4 เมื่อเลี้ยงด้วยอาหาร ISP2 สามารถสร้างสารรงควัตถุสีแดง ได้ปริมาณ 0.15 0 กรัม / อาหาร 1 ลิตร จากการสกัดด้วย Ethyl acetate เมื่อนำสารสกัดหยาบของแอคติโนมัยซีท 54-4 มาทำให้บริสุทธิ์บางส่วน ด้วยคอลัมน์โครมาโทกราฟี พบว่ามีสารสีแดง สีส้ม และสีชมพู จำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด แต่ไม่พบว่าแอคติโนมัยซีท 54-4 สร้างสารโพรดิจิโอซิน แต่อาจสร้างสารที่คล้ายโพรดิจิโอซินหลายชนิด สารสกัดหยาบของ แอคติโนมัยซีท A16-1 ให้สารรงควัตถุสีแดงจำนวนมากเช่นกัน และมี spectrum peak ที่ใกล้เคียงกัน คือ A16-1 ให้ spectrum peak สูงสุด ที่ 480 nm ในขณะที่สารจาก แอคติโนมัยซีท 54-4 ให้ spectrum peak สูงสุดที่ 520 nm และ560 ผลจากการตรวจสอบสารที่ทำให้บริสุทธิ์บางส่วนของแอคติโนมัยซีท 54-4 พบว่าสารใน fraction ที่ 8-15 พบว่ามี peak ที่ชัดเจนอยู่ 2 peak ที่ค่า Rt ที่23 และ Rt ที่ 27 นาที และที่ Rt 23 นาทีจะพบ 2 peaks ระหว่าง 220-270 nm และพบ 3 peaks อยู่ระหว่าง 450-550 nm ซึ่ง peaks เหล่านี้คล้ายคลึงกับ peak ที่พบในสารสกัดหยาบ แอคติโนมัยซีท A1-3 และ A3-3 ให้สารสีแดงม่วงน้ำตาล และสีม่วงน้ำเงิน ตามลำดับ และสารสกัดหยาบของแอคติโนมัยซีท 54-5 ไม่ให้ฤทธิ์ยับยั้งต่อเซลล์มะเร็งช่องปาก (KB) สารสกัดหยาบจากเชื้อทุกตัวให้ฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ แต่เฉพาะแอคติโนมัยซีท 54-4 และ A16-1 ให้ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งด้วย สารจาก Streptomyces 54-4 ยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูก ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 8.50 µg/ ml ขณะที่สารที่ทำให้บริสุทธิ์บางส่วนจาก Streptomyces A16-1 fraction ที่ 5,6,7-9 และ fraction ที่ 10-12 ให้ค่า IC50 ที่ 1.72, 1.56, 3.10 และ 2.61 µg/ ml ซึ่งเป๋นค่าที่น้อยกว่ายา Doxorubicine (8.66 µg/ ml) และ Tamoxifen (8.33 µg/ ml) จากการหาลำดับเบสของ 16s rDNA ยีน พบว่าแอคติโนมัยซีททั้ง 2 ชนิด เป็นแอคติโนมัยซีทในจีนัส Streptomyces ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นสปีชีส์ใหม่
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/815
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น