กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/776
ชื่อเรื่อง: การประเมินศักยภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการป่าชายเลนสนามไชย จังหวัดจันทบุรี ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of community participation in management of Sanamchai mangrove at Chanthaburi Province follow the sufficiency economy and the assessment of biodiversity for sustainable development
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชลี ไพบูลย์กิจกุล
เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ป่าชายเลน
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน การศึกษาส่วนที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนบริเวณป่าชายเลนสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนธันวาคม-มีนาคม 2554 จำนวน 203 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ทัศนคติเกี่ยวกับป่ายเลนของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าป่าชายเลนมีความสำคัญต่อชีวิต เพราะเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งอาหาร เป็นแหล่งรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง ผู้ตอบแบบสอบถามได้รับข่าวสารในการอนุรักษ์ป่าชายเลน จากกลุ่มเพื่อน ผู้ตอบแบบสอบถามต่อสภาพชายเลนสนามไชยพบว่าป่าชายเลนมีพื้นที่ลดลง แต่ยังคงความอุดมสมบูณ์ ควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชายเลน ควรส่งเสริมการนำปรัชญาการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนสนามไชย การศึกษาส่วนที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาชนิด ปริมาณและการกระจายของสัตว์หน้าดิน บริเวณป่าชายเลนสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ได้ดำเนินการศึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2553 ในป่าชายเลน 3 ปรเภท คือ ป่าชายเลนปลูก 13 ปี ป่าชายเลนธรรมชาติ และป่าชายเลนเสื่อมโทรม โดยทำการเก็บตัวอย่าง 3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง พบสัตว์หน้าดินทั้งหมด 3 ไฟลัม ได้แก่ ไฟลัม Annelida จำนวน 3 วงศ์ คือ Capitellidae, Nereidae, Eunicidae,ไฟลัม Mollusca จำนวน 5 วงศ์ คือ Assimineidae, Potamididae, Ellobiidae, Onchiisae, Pharidae, และไฟลัม Arthpopda จำนวน 6 วงศ์ คือ Tanaidae, Varunidae, Sesarmidae, Aoridae, Tabanidae, Melitidae และ 1 ชนิดไม่สามารถจำแนกได้ ซึ่งพื้นที่บริเวณป่าชายเลนปลูก 13 ปี พบสัตว์หน้าดินในไฟลัม Annelida เป็นชนิดเด่น ในขณะที่พื้นที่บริเวณป่าชายเลนธรรมชาติและป่าชายเลนเสื่อมโทรมพบสัตว์หน้าดินไฟลัม Mollusca เป็นชนิดเด่น บริเวณที่มีมวลชีวภาพเฉลี่ยของสัตว์หน้าดินสูงสุด คือ ป่าชายเลนธรรมชาติ สำหรับจำนวนชนิดที่พบรวม ดัชนีความหลากหลายและดัชนีความสม่ำเสมอมีค่าสูงสุดบริเวณป่าชายเลนปลูก 13 ปี
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/776
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น