กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/758
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์th
dc.contributor.authorตติรัตน์ สุวรรณสุจริตth
dc.contributor.authorสรัลพร ศรีวัฒน์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:07Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:07Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/758
dc.description.abstractการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 16 ราย เลือกแบบเจาะจงตมคุณสมบัติที่กำหนด และมารับบริการที่หอผู้ป่วยหลังคลอดจากโรงพยาบาล 4 แห่งในภาคตะวันออก ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2546 ถึงเดือน มกราคม 2548 คณะผู้วิจัยได้เริ่มให้บริการที่หอผู้ป่วยหลังคลอด ร่วมกับการเยี่ยมบ้าน 6 สัปดาห์หลังคลอดโดยให้บริการ 6-8 ครั้ง ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ กระบวนการวิจัยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างคณะผู้วิจัยกับมารดาหลังคลอด และครอบครัว ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การค้นหาปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี กาค้นหาวิธีและลงมือกระทำเพื่อจัดการกับปัญหา โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ สรุปประเด็น และ สร้างรูปแบบการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีของมาดรหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีประกอบด้วน 1) กระบวนการปรับเปลี่ยนการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี 2) การส่งเสริมการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี 3) ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี 4) ความสามารถของครอบครัวในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี และ 5) ผลลัพธ์ของการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี กระบวนการปรับเปลี่ยนการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี มี 4 ระยะ คือ 1) จาก “สามี/ครอบครัวยอมรับหรือกลัวสามี/ครอบครัวรังเกียจ” สู่ “ได้รับกำลังใจและการสนับสนุนจากสามี/ครอบครัว” 2) จาก “กลัวสังคมรังเกียจ” สู่ “ปิดบังสังคม” 3) จาก “กลัวลูกติดเชื้อ/คาดหวังว่าลูกจะไม่ติดเชื้อ” สู่ “มีความหวังและกำลังใจมีชีวิตอยู่เพื่อเลี้ยงดูลูก” และ 4) จาก “พึ่งตนเองได้ เหมือนมีเพื่อนคอยคิด มิตรคอยเตือน” สู่ “ภูมิใจที่ได้ปฏิบัติบทบาทมารดารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า” การส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี ประกอบด้วย การให้การปรึกษาโดยให้ข้อมูลการติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีโดยแนะนำการจัดการกับผ้าอนามัยที่เปื้อนเลือด และการมาตรวจหลังคลอดตามนัด แนะนำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพัฒนาให้จิตได้เกิดปัญญา และ กระตุ้นและสนับสนุนให้เปิดเผยการติดเชื้อเอชไอวีกับสามี/ครอบครัว และ การพูดคุยกับสามีเกี่ยวกับการป้องกันเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย สอน/แนะนำเทคนิคการจัดการกับปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก สนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์ประเมินร่วมกันเป็นระยะ และปรึกษาทีมสุขภาพ กลยุทธ์การส่งเสริมการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี ประกอบด้วย การสร้างความไว้วางใจและเชื่อถือ สะท้อนคิดพิจารณา ปกปิดความลับการติดเชื้อเอชไอวี ประกอบด้วยการสร้างความไว้วางใจและเชื่อถือ สะท้อนคิดพิจารณา ปกปิดความลับการติดเชื้อเอชไอวี แนะนำการเลี้ยงดูลูกด้วยนมผสมและสนับสนุนให้ลูกได้กินยาต้านไวรัสเอดส์ ฝึกการแสวงหาและรู้จักเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารและสร้างสิ่งหล่อเลี้ยงทางใจ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระยะเวลาที่ติดเชื้อ ทักษะในการตัดสินใจ ความเชื่อในเรื่องการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ความหวัง การมองโลกในแง่ดี ภาวะเศรษฐกิจ สติปัญญา และกระบวนการคิดเชิงเหตุ-ผล รวมทั้งการมีลักษณะของความเข้ขมแข็ง ความสามารถของครอบครัวในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีโดย ครอบครัวเข้าใจและยอมรับการติดเชื้อเอชไอวีของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี มีความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ถูกต้อง ให้การช่วยเหลือมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สามารถจัดการกับความเครียดและปรับตัวได้ สนับสนุนการป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เช้าใจจิตใจและอารมณ์ของมราดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี ช่วยวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาต่างๆของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีได้ดี รวมทั้งปรับวิถีชีวิตใหม่ในการส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีและลูกมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีจึงเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะผลลัพธ์ของการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี มีดังนี้ คือ มาดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการสนับสนุนจากสามี/ครอบครัวด้านอารมณ์ เป็นกำลังใจ ความผูกพันความรู้สึกเชื่อถือไว้วางใจต่อครอบครัว ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกได้รับความรักและการดูแลเอาใจใส่สามารถพูดคุยปัญหาต่างๆได้อย่างอย่างเปิดเผย ได้รับคำแนะนำที่มีผลดีต่อสุขภาพ และได้รับความช่วยเหลือในการเลี้ยงดูลูกและการทำงานบ้านต่างๆ ทำให้มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีเกิดความภูมิใจในการปฏิบัติบทบาทการเป็นมารดาและความรู้สึกถึงความมีคุณค่าในตนเอง เกิดแรงจูงใจในการมีพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีอย่างถูกต้องเหมาะสม การวิจัยครั้งนี้แสดงความชัดเจนของบทบาทพยาบาลในการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี จากการที่มารดาหลังคลอดติดเชื้อเอชไอวี มีความรู้สึกว่าตนเองด้อยค่าเพราะติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเป็นสาเหตุของโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และสามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ทำให้สังคมรังเกียจ รวมทั้งเชื้อเอชไอวีมีโอกาสถ่ายทอดสู่ลูก เมื่อเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ บทบาทของพยาบาลในการใช้กระบวนการดูแลที่มีความเมตตา เอื้ออาทร และหวังดีอย่างจรงใจจากคณะผู้วิจัยและครอบครัวเหมือนมีเพื่อนคอยคิด มิตรคอยเตือน รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถพึ่งตนเองได้ภูมิใจที่ได้ปฏิบัติบทบาทมารดาที่ดี มรการดูแลตนเองและพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีที่ถูกต้องเหมาะสมth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินแผ่นดินปี 2547 มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการติดเชื้อเอชไอวีth_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - วิจัยth_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - การติดเชื้อth_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - การป้องกันth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีth_TH
dc.title.alternativeFamily participation on development of self-esteem and promotion of HIV protection behavior in HIV infected postpartum womenen
dc.typeResearch
dc.year2548
dc.description.abstractalternativeThis action research was aimed to develop a family participation model for self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior among HIV infected postpartum women. Sixteen HIV inflected postpartum women who were admitted at Postpartum ward of four hospitals in eastern Thailand from November, 2003 to January, 2005 were purposively recruited to the research project. The researchers set in motion to give them consecutive postpartum ward services and home visits of 6-8 times regularly for 6 weeks. The research process got through mutual collaboration among the researchers, the HIV infected postpartum women, and the family to exchange information, assess the self-esteem, define problems and factors affecting self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior, find out and bring about modes of problem solving. Data collected by in-depth interviews, participant observations, and field notes were analyzed by applying content analysis method to generate themes for construction of family participation model of self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior among HIV infected postpartum women. The results revealed that the model consisted of 1) transitional process of self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior, 2) promotion of self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior, 3) factors affecting self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior, 4) family competencies in self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior, and 5) self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior outcomes. There are four steps in the transitional process of self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior 1) from “husband/family accept or fear of being prejudiced against from their husband/family”, 2) from “fear of being prejudiced against from social” to “concealing”, 3) from “fear of spreading HIV to baby/hoping that baby will be from HIV” to “hopeful and gaining of willpower for taking care of their baby”, and 4) from “self-reliance / transpersonal caring” to “high self-esteem form maternal role attainment ”. Promotion of self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior included counseling by providing information on HIV transmission prevention, for example, inform them to manage on blood stained sanitary napkin disposal, and to attend postpartum follow-up, presenting of mindfulness practice in order to improve spirituality, motivating and encouraging of HIV infection revelation to the husband/family and taking with their husbands about safe sex, teaching and counseling of psycho-emotional management, health personnel team consulting, and evaluating. Strategies for promotion of self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior consisted of trusting-relationship initiation, self-reflection, participation, concealing of HIV infected, suggestion of bringing up by powdered milk and support of giving their babies anti-HIV medication, information searches and their utilization, and efforts to uplift oneself spiritually. Factors affecting self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior included time of HIV infection, decision-making skills, belief concerning HIV infection, hope, optimism, economic status, wisdom, logical thinking process, and as well, physically powerful personality, family competencies in self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior. The family recognizes and agrees to their HIV infection, acquires information about HIV infection, provides them physical and psychological support, can cope with stress and adapts itself, promotes prevention of mother to child HIV transmission, realizes their spirit and emotion, facilitates problem analyzing and solving, and also regulates a new way of life in order to encourage them and their babies a good quality life style. Therefore, family participation in self- esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior of HIV infected postpartum women is actually sustainable development, since the outcomes of self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior of HIV infected postpartum women consist of acquiring emotional support from their husband/family that generate willpower, attachment, fell of trust to the family, eventually, leading to gratitude of being loved and cared, open mind participation concerning problems, acquisition of suggestions for being healthy and contribution hare of baby caring and house keeping. Then the HIV infected women are proud of their maternal role attainment, fulfill of self-esteem and motivation of their proper HIV transmission prevention behavior. The research revealed relevant outstanding role of nurse in family participation on promotion of self-esteem development and promotion of HIV transmission prevention behavior among HIV infected postpartum women. They felt low self-esteem due to HIV infection, the cause of incurable disease that can be transmitted to other people and being prejudiced against from social, in addition, the pathogen probably be transmitted to their babies. Through collaborating with this project, nursing role in application of caring process brought about postpartum women, nurses and the family met transpersonal caring and made together decision for good and proper approach. The HIV infected postpartum women realized caring process of mercy and goodwill sincerely provided by the researchers and the family, as thought, their confidants were keeping their consciousness, fulfill of self-esteem, capability of self-reliance, felt proud of being a nice mother with good self-care and appropriate behavior of HIV transmission prevention.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_094.pdf15.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น